มาตรการรัฐบาลในการแก้ปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจกับการว่างงานของไทย

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

17 กุมภาพันธ์ 2552

ปัญหาการเผชิญหน้าซึ่งท้าทายความอยู่รอดของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็คือปัญหาการว่างงานที่จะสูงขึ้น อันเป็นผลจากการหดตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยในปี 2552 ซึ่งคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะโตได้อย่างเก่งก็ประมาณ 1.0-1.5% ซึ่งตัวเลขนี้เป็นการคาดคะเนในทางบวก โอกาสที่เศรษฐกิจของไทยอาจถดถอยเฉียด 0.5 หรือติดลบ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง โดยเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา , ประเทศในกลุ่มประชากรยุโรป และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเฉพาะ 3 ประเทศนี้ เป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 34.7 ซึ่งทราบดีว่าประเทศเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบเศรษฐกิจติดลบที่เฉลี่ยร้อยละ 1.6-2.8 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมหลักของไทย ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ , อิเล็กทรอนิกส์ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , เฟอร์นิเจอร์ , อัญมณี , อุปกรณ์ก่อสร้าง ฯลฯ ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเหล่านี้ติดลบเฉลี่ยที่ร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมอัตราการใช้กำลังการผลิต ของเดือนธันวาคม 2551 ลดลงเกือบทุกสาขาอุตสาหกรรม โดยเฉลี่ยดัชนีการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ MPI อยู่ที่ร้อยละ 53-55 ติดลบไปแล้วถึงร้อยละ 19.63

อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้แรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อัตราว่างงานของไทยที่เคยเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 1.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.4 โดยหลายหน่วยงานของรัฐได้คาดการณ์ว่าในปี 2552 การว่างงานอาจไปถึงร้อยละ 2.5   เมื่อเทียบกับวิกฤติปี 2540 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดจากสภาพคล่องในประเทศ และการลดค่าเงินบาท อัตราการว่างงานร้อยละ 4.4 มีคนตกงานประมาณ 1.1 ล้านคน แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น เพราะภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวมีการเติบโตสูง และมาช่วยค้ำยันเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม วิกฤติที่เกิดในปี 2009 จะเป็นวิกฤติด้านตลาดหดตัว ส่งผลต่อสภาพคล่องและการผลิตที่ชะงักงัน  และภาคการส่งออกรวมถึงภาคการท่องเที่ยว และภาคการลงทุนมีการขยายตัวอาจถึงขั้นติดลบ เศรษฐกิจของไทยจึงจะซบเซาแบบลากยาว โดยตัวเลขการว่างงานจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจรายไตรมาส ดังนี้

ไตรมาสที่ 4 ปี 2008        GDP 1%           การว่างงาน        1.4%     จำนวน  525,000 คน

ไตรมาสที่ 1 ปี 2009        GDP 0.5-1.0%   การว่างงาน        1.8%     จำนวน  630,000 คน

ไตรมาสที่ 2 ปี 2009        GDP 0%           การว่างงาน        2.5%     จำนวน  900,000 คน

จากสภาวะปัจจัยเสี่ยงของสถานการณ์การเลิกจ้างของภาคแรงงาน จากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจจะเริ่มมีความรุนแรงโดยจะเห็นได้จากในช่วงปี 2551 จากตัวเลขของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีการเลิกจ้างอย่างเป็นทางการไปแล้ว 60,105 คน และคาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2552 ลูกจ้างในสถานประกอบการมีแนวโน้มอาจถูกเลิกจ้างถึง 69,031 คน และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทั้งจากการลดค่าจ้างและล่วงเวลาอีกประมาณ 227,067 คน แบ่งเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 142,500 คน , เฟอร์นิเจอร์ 12,600 คน , กลุ่มสิ่งทอ – เครื่องแต่งกาย-รองเท้า ประมาณ 13.200 คน , กลุ่มโลหะการ 24,800 คน , กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของไทย ซึ่งคาดว่า กำลังการผลิตในไตรมาสแรกจะลดลงถึง 40% กระทบลูกจ้างที่มีโอกาสถูกเลิกจ้างถึงประมาณ 40,000 คน โดยพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลิกจ้าง 5 จังหวัดแรก ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 19,462 คน , จังหวัดนครราชสีมา 10,804 คน , จังหวัดปราจีนบุรี 9,612 คน , จังหวัดสมุทรปราการ 9,329 คน และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5,647 คน" />
       
 

มาตรการรัฐบาลในการแก้ปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจกับการว่างงานของไทย Share


มาตรการรัฐบาลในการแก้ปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจกับการว่างงานของไทย

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

17 กุมภาพันธ์ 2552

ปัญหาการเผชิญหน้าซึ่งท้าทายความอยู่รอดของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็คือปัญหาการว่างงานที่จะสูงขึ้น อันเป็นผลจากการหดตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยในปี 2552 ซึ่งคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะโตได้อย่างเก่งก็ประมาณ 1.0-1.5% ซึ่งตัวเลขนี้เป็นการคาดคะเนในทางบวก โอกาสที่เศรษฐกิจของไทยอาจถดถอยเฉียด 0.5 หรือติดลบ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง โดยเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา , ประเทศในกลุ่มประชากรยุโรป และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเฉพาะ 3 ประเทศนี้ เป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 34.7 ซึ่งทราบดีว่าประเทศเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบเศรษฐกิจติดลบที่เฉลี่ยร้อยละ 1.6-2.8 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมหลักของไทย ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ , อิเล็กทรอนิกส์ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , เฟอร์นิเจอร์ , อัญมณี , อุปกรณ์ก่อสร้าง ฯลฯ ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเหล่านี้ติดลบเฉลี่ยที่ร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมอัตราการใช้กำลังการผลิต ของเดือนธันวาคม 2551 ลดลงเกือบทุกสาขาอุตสาหกรรม โดยเฉลี่ยดัชนีการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ MPI อยู่ที่ร้อยละ 53-55 ติดลบไปแล้วถึงร้อยละ 19.63

อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้แรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อัตราว่างงานของไทยที่เคยเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 1.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.4 โดยหลายหน่วยงานของรัฐได้คาดการณ์ว่าในปี 2552 การว่างงานอาจไปถึงร้อยละ 2.5   เมื่อเทียบกับวิกฤติปี 2540 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดจากสภาพคล่องในประเทศ และการลดค่าเงินบาท อัตราการว่างงานร้อยละ 4.4 มีคนตกงานประมาณ 1.1 ล้านคน แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น เพราะภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวมีการเติบโตสูง และมาช่วยค้ำยันเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม วิกฤติที่เกิดในปี 2009 จะเป็นวิกฤติด้านตลาดหดตัว ส่งผลต่อสภาพคล่องและการผลิตที่ชะงักงัน  และภาคการส่งออกรวมถึงภาคการท่องเที่ยว และภาคการลงทุนมีการขยายตัวอาจถึงขั้นติดลบ เศรษฐกิจของไทยจึงจะซบเซาแบบลากยาว โดยตัวเลขการว่างงานจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจรายไตรมาส ดังนี้

ไตรมาสที่ 4 ปี 2008        GDP 1%           การว่างงาน        1.4%     จำนวน  525,000 คน

ไตรมาสที่ 1 ปี 2009        GDP 0.5-1.0%   การว่างงาน        1.8%     จำนวน  630,000 คน

ไตรมาสที่ 2 ปี 2009        GDP 0%           การว่างงาน        2.5%     จำนวน  900,000 คน

จากสภาวะปัจจัยเสี่ยงของสถานการณ์การเลิกจ้างของภาคแรงงาน จากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจจะเริ่มมีความรุนแรงโดยจะเห็นได้จากในช่วงปี 2551 จากตัวเลขของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีการเลิกจ้างอย่างเป็นทางการไปแล้ว 60,105 คน และคาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2552 ลูกจ้างในสถานประกอบการมีแนวโน้มอาจถูกเลิกจ้างถึง 69,031 คน และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทั้งจากการลดค่าจ้างและล่วงเวลาอีกประมาณ 227,067 คน แบ่งเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 142,500 คน , เฟอร์นิเจอร์ 12,600 คน , กลุ่มสิ่งทอ – เครื่องแต่งกาย-รองเท้า ประมาณ 13.200 คน , กลุ่มโลหะการ 24,800 คน , กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของไทย ซึ่งคาดว่า กำลังการผลิตในไตรมาสแรกจะลดลงถึง 40% กระทบลูกจ้างที่มีโอกาสถูกเลิกจ้างถึงประมาณ 40,000 คน โดยพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลิกจ้าง 5 จังหวัดแรก ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 19,462 คน , จังหวัดนครราชสีมา 10,804 คน , จังหวัดปราจีนบุรี 9,612 คน , จังหวัดสมุทรปราการ 9,329 คน และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 5,647 คน

ไฟล์ประกอบ : 012-2009-1.pdf
อ่าน : 5282 ครั้ง
วันที่ : 23/02/2009

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com