โดยธนิต โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP
การศึกษาเส้นทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงประเทศไทย , สปป.ลาว และกัมพูชา โดยใช้ถนนนานาชาติ International Road สายใหม่ของ Asian ที่รู้จักในชื่อเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ East West Economic Corridor เป็นการร่วมมือของประเทศต่างๆซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ของอนุทวีปหรือคาบสมุทรอาเซียน (Asian Main Land) ประกอบด้วย ประเทศไทย , เมียนม่า , ลาว , กัมพูชา , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศนอก Asian คือ ประเทศจีนตอนใต้ (สำหรับฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย และบรูไน พื้นที่เป็นเกาะ) โดยโครงการจะเป็นเส้นทางคมนาคมทางถนนในการเชื่อมโยงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ถนนหมายเลข 9 เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนามกับเชื่อมโยงท่าเรือเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ของเมียนม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน ทั้งนี้ โดยชายฝั่งทะเลของเวียดนามยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือไฮฟอง (Hai Phrong Port) , ท่าเรือวิน (Vinh Port) , ท่าเรือดานัง (Danang Port) , ท่าเรือไซ่ง่อน (Saigon Port) ฯลฯ โดยเส้นทางจะผ่านเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน (Asian Mainland) เริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนามผ่านเมืองเว้ และเมืองลาวบาวอันเป็นเมืองชายแดน (Lao Bao) อยู่ในจังหวัดกวางจิ (Quangtri) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม ติดกับชายแดน สปป.ลาว ระยะทางในประเทศเวียดนามประมาณ 83 กิโลเมตร
จากนั้นเส้นทางถนนหมายเลข 9 จะผ่านเข้าไปในประเทศ สปป.ลาว เป็นระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร โดยได้รับการพัฒนาการก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น โดย JICA หรือสำนักงานเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณก่อสร้าง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเส้นทางคอนกรีตมาตรฐานรถสวนสองเลน สร้างเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2547 ซึ่งเส้นทางนี้จะผ่านแขวงสะหวันนะเขตและมาข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขง (ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะเป็น Land Bridge Gate Way ของไทย โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่เหลี่ยมอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศเมียนม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลองซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ
เนื่องจากยานยนต์ของไทยจะเป็นรถพวงมาลัยขวา ขณะที่ลาวและเวียดนามจะพวงมาลัยซ้าย ซึ่งเป็นปัญหามากในทาง Logistics โดยเฉพาะกับเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งมีเพียงสองเลน ซึ่งเมื่อเข้าไปในเขตประเทศเวียดนาม ทางจะยิ่งแคบกว่าในลาว และการจราจรจะหนาแน่นกว่า เป็นปัญหาที่รถบรรทุกจะไม่สามารถใช้เส้นทางได้ตลอด East-West เพราะฉะนั้นการขนส่งทางบกระหว่างประเทศ โดยใช้เส้นทางนี้ ภาครัฐจะต้องเร่งทำความตกลงในเรื่องการเอารถจากไทยผ่านลาวเข้าเวียดนาม คงจะต้องมีการเจรจาต่อรองกับทางเวียดนามด้วย ขณะนี้เวียดนามไม่ให้รถของไทยเข้าประเทศ โดยอ้างว่า สภาพถนนของเวียดนามยังไม่มีความปลอดภัยเพราะรถไทยใช้พวงมาลัยขวา เหตุผลสำคัญเวียดนามนั้นต้องการเข้ามาครอบครองเส้นทางหมายเลข 9 จนถึงลาว โดยใช้ปัญหาเกี่ยวกับพวงมาลัยขวาของรถไทยมาเป็นข้ออ้างทางภาครัฐจะต้องเร่งเจรจาโดยเร็ว มิฉะนั้นจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญของเส้นทางหมายเลข 9 โดยเฉพาะ สปป.ลาว ซึ่งก็ใช้รถพวงมาลัยซ้ายเหมือนเวียดนาม
การใช้เส้นทางหมายเลข 9 จะต้องผ่านประเทศลาว ซึ่งเป็น Land Lock จึงต้องเร่งทำความตกลงเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในปฏิณญาพุกาม ที่จะดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันนี้ทาง ครม. ได้มีการเห็นชอบในวงเงิน (แปด)แสนล้านบาทในการที่จะให้มีการศึกษาร่วมกันในการที่จะจัดทำรายละเอียดของโครงการและลำดับความสำคัญของโครงการภายใต้กรอบในปฏิณญาพุกาม โดยจะต้องเร่งการหารือที่จะจัดทำแผนร่วมกันเกี่ยวกับโครงการ หลักๆ 4 โครงการ ก็คือ
ทั้งหมดคือโครงการที่ได้มีการตกลงร่วมไทย-ลาว แต่ว่าระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ มีการล่าช้า เกี่ยวกับเรื่องขนส่งข้ามแดนไทย-ลาว (Cross Border Transport) ยังมีปัญหาที่ต้องเจรจากันอีกมาก รวมทั้ง Infrastructure และ Facilities ในการรองรับการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งหากพัฒนาไปได้ก็จะทำให้โครงการทั้งหมดพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะนี้ไทยกับ สปป.ลาวก็ได้ดำเนินการในระหว่างที่รถของไทยสามารถวิ่งเข้าไปในลาวได้ แต่ว่าในเวียดนามก็ยังไม่ได้หารือกันในระหว่างรัฐบาล ซึ่งหากสามารถตกลงกันได้จะสามารถทำให้การค้าการลงทุนระหว่างกันก็จะเกิดขึ้น เรื่องของการท่องเที่ยว ทางลาวเองเห็นว่ามีศักยภาพมากหากมีการพัฒนาสนามบินสะหวันนะเขตแห่งนี้ ให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ก็จะสามารถรองรับการท่องเที่ยว และการลงทุนได้มาก สปป.ลาวได้เห็นชอบในเรื่องของเขตอุตสาหกรรม เน้นในเรื่องอุตสาหกรรมยาสูบ อุตสาหกรรมสิ่งทอโดยเฉพาะผ้าฝ้าย ในเรื่องการค้าการลงทุนโดยเฉพาะการเกษตร เนื่องจากว่าทางไทยได้มีการลดภาษีนำเข้าสำหรับวัตถุดิบ เพราะฉะนั้นโอกาสการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพืชเป้าหมาย ซึ่งรัฐบาลได้มีการหารือกัน จะเป็นโอกาสที่จะเปิดการลงทุนได้มากขึ้น ส่วนเรื่องสุดท้ายที่น่าเป็นห่วง เรื่องปัญหาการค้าไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรือเรื่องโรคติดต่อ จะต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแล เพราะว่าเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค..
|
||||
|
||||
ทำความรู้จักกับเส้นทางเศรษฐกิจมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดานัง หรือทางหลวงเอเชียหมายเลข 9 Shareโดยธนิต โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP การศึกษาเส้นทางเศรษฐกิจในการเชื่อมโยงประเทศไทย , สปป.ลาว และกัมพูชา โดยใช้ถนนนานาชาติ International Road สายใหม่ของ Asian ที่รู้จักในชื่อเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ East West Economic Corridor เป็นการร่วมมือของประเทศต่างๆซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ของอนุทวีปหรือคาบสมุทรอาเซียน (Asian Main Land) ประกอบด้วย ประเทศไทย , เมียนม่า , ลาว , กัมพูชา , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศนอก Asian คือ ประเทศจีนตอนใต้ (สำหรับฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย และบรูไน พื้นที่เป็นเกาะ) โดยโครงการจะเป็นเส้นทางคมนาคมทางถนนในการเชื่อมโยงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้ถนนหมายเลข 9 เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนามกับเชื่อมโยงท่าเรือเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ของเมียนม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามเป็น Land Bridge เข้าสู่แผ่นดิน ทั้งนี้ โดยชายฝั่งทะเลของเวียดนามยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือไฮฟอง (Hai Phrong Port) , ท่าเรือวิน (Vinh Port) , ท่าเรือดานัง (Danang Port) , ท่าเรือไซ่ง่อน (Saigon Port) ฯลฯ โดยเส้นทางจะผ่านเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ของอาเซียน (Asian Mainland) เริ่มจากเมืองท่าดานังของเวียดนามผ่านเมืองเว้ และเมืองลาวบาวอันเป็นเมืองชายแดน (Lao Bao) อยู่ในจังหวัดกวางจิ (Quangtri) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม ติดกับชายแดน สปป.ลาว ระยะทางในประเทศเวียดนามประมาณ 83 กิโลเมตร จากนั้นเส้นทางถนนหมายเลข 9 จะผ่านเข้าไปในประเทศ สปป.ลาว เป็นระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร โดยได้รับการพัฒนาการก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น โดย JICA หรือสำนักงานเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้งบประมาณก่อสร้าง 105 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเส้นทางคอนกรีตมาตรฐานรถสวนสองเลน สร้างเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2547 ซึ่งเส้นทางนี้จะผ่านแขวงสะหวันนะเขตและมาข้ามสะพานข้ามแม่น้ำโขง (ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะเป็น Land Bridge Gate Way ของไทย โดยเส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่เหลี่ยมอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศเมียนม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลองซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ
ทั้งหมดคือโครงการที่ได้มีการตกลงร่วมไทย-ลาว แต่ว่าระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ มีการล่าช้า เกี่ยวกับเรื่องขนส่งข้ามแดนไทย-ลาว (Cross Border Transport) ยังมีปัญหาที่ต้องเจรจากันอีกมาก รวมทั้ง Infrastructure และ Facilities ในการรองรับการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งหากพัฒนาไปได้ก็จะทำให้โครงการทั้งหมดพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะนี้ไทยกับ สปป.ลาวก็ได้ดำเนินการในระหว่างที่รถของไทยสามารถวิ่งเข้าไปในลาวได้ แต่ว่าในเวียดนามก็ยังไม่ได้หารือกันในระหว่างรัฐบาล ซึ่งหากสามารถตกลงกันได้จะสามารถทำให้การค้าการลงทุนระหว่างกันก็จะเกิดขึ้น เรื่องของการท่องเที่ยว ทางลาวเองเห็นว่ามีศักยภาพมากหากมีการพัฒนาสนามบินสะหวันนะเขตแห่งนี้ ให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ก็จะสามารถรองรับการท่องเที่ยว และการลงทุนได้มาก สปป.ลาวได้เห็นชอบในเรื่องของเขตอุตสาหกรรม เน้นในเรื่องอุตสาหกรรมยาสูบ อุตสาหกรรมสิ่งทอโดยเฉพาะผ้าฝ้าย ในเรื่องการค้าการลงทุนโดยเฉพาะการเกษตร เนื่องจากว่าทางไทยได้มีการลดภาษีนำเข้าสำหรับวัตถุดิบ เพราะฉะนั้นโอกาสการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพืชเป้าหมาย ซึ่งรัฐบาลได้มีการหารือกัน จะเป็นโอกาสที่จะเปิดการลงทุนได้มากขึ้น ส่วนเรื่องสุดท้ายที่น่าเป็นห่วง เรื่องปัญหาการค้าไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรือเรื่องโรคติดต่อ จะต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแล เพราะว่าเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค.. ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์ อ่าน : 2976 ครั้ง วันที่ : 27/04/2007 |
||||
|