รายงานสภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบต่อภาคธุรกิจ
โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
25 กุมภาพันธ์ 2552
เป็นที่ทราบถึงผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุด IMF ได้ปรับตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจของโลก ในปี 2009 ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 (-0.5) จากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ซึ่งนับว่าต่ำสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก IMF คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาไปจนถึงปลายปีนี้ โดยการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับมาตรการของประเทศคู่ค้าของไทยว่าจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วหรือช้าเพียงใด โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา , สหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น เศรษฐกิจมีการถดถอยไปที่ร้อยละ -2.3, -2.5 , -3.0 ตามลำดับ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 35.6 นอกจากนี้ ประเทศคู่ค้าของไทย เช่น จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศเศรษฐกิจใหม่ ล้วนเศรษฐกิจก็อยู่ในสภาวะชะลอตัวทั้งสิ้น
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
ประเทศ |
Q1-Q2 2009 (%) |
สัดส่วน Export /Q1/2009 (%) | |
สหรัฐอเมริกา |
-2.3 |
35.6% | |
ยูโร |
-2.5 |
12.4 | |
ญี่ปุ่น |
-3.0 |
11.9 | |
อังกฤษ |
-3.2 |
| |
จีน |
6.7 |
7.9 | |
มาเลเซีย |
1.4 |
| |
สิงคโปร์ |
-3.8 |
| |
ฟิลิปปินส์ |
2.4 |
21.2 | |
เวียดนาม |
5.1 |
| |
อินโดนีเซีย |
4.0 |
| |
ไทย |
1.1 |
| |
เกาหลีใต้ |
-3.5 |
| |
ไต้หวัน |
-3.0 |
2.0 | |
ฮ่องกง |
-3.8 |
5.8 | |
อินเดีย |
5.6% |
1.6 | |
ตลาดใหม่ |
|
16.3 |
สัญญาณครึ่งปีแรกของปี 2552 เศรษฐกิจของไทยจะเข้าสู่ยุคชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยเห็นได้จากตัวเลขการส่งออกเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ปีที่แล้ว การส่งออกติดลบถึงเฉลี่ยร้อยละ -16.35 และการส่งออกในเดือนมกราคม 2552 ติดลบมากกว่าร้อยละ -26.5 การที่ตัวเลขภาคการส่งออกมีการถดถอยรุนแรง ส่งผลต่อภาคการนำเข้าและภาคการผลิตในประเทศ โดยในเดือนธันวาคม พบว่าคำสั่งซื้อลดลงเหลือเพียงร้อยละ 50 และอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเกือบทุกสาขา โดยดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต หรือ MPI เดือนธันวาคม เหลือเพียงร้อยละ 53.02 ทำให้อัตราการขยายตัวเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนติดลบ -19.63 นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CPI) มีการหดตัว -0.4 ถือว่าต่ำสุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นสัญญาณความเสี่ยงที่ไม่ดี ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ เมื่อบวกกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งคาดว่าจะติดลบ หากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ผลเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะโตได้เพียงร้อยละ 0.5 ถึง -0.5% จากที่เคยเติบโตในปี 2551 ที่อัตราร้อยละ 2.6 โดยการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวติดลบที่ -13.1 มูลค่า 152.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เคยขยายตัวในปี 2551 ที่ร้อยละ 16.8 มูลค่า 175.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ (ที่มา : สศช. วันที่ 25 กพ.2552) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่ลดลง 1% มีผลต่อจำนวนคนว่างงานประมาณ 1.12 แสนคน ดังนั้น อัตราว่างงานของปี 2552 อาจอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.5 3.0 จากอัตราต้นปี 2551 ที่ร้อยละ 1.2 โดยปริมาณจำนวนคนว่างงานอาจทะลุเกินหลัก 1 ล้านคน นอกจากนี้ สัญญาณเงินตึงตัวทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น เห็นได้จากการขาดดุลงบประมาณปี 2552 อาจสูงถึง 350,000 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการเก็บภาษีไม่เข้าเป้ากว่าร้อยละ 10 ทำให้รัฐบาลต้องมีการกู้ยืมเงินจาก ADB และ World Bank 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะต้องออกพันธบัตรอีกกว่า 200,000 ล้านบาท เป็นการแยกสภาพคล่องในตลาดการเงินของภาคเอกชน ซึ่งมีปัญหาที่ภาคธนาคารเพิ่มมาตรการระมัดระวังและเลือกลูกค้าในการปล่อยสินเชื่อ อีกทั้ง แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจอาจไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในง่อย เนื่องจากรัฐบาลขาดสภาพคล่องและมีเม็ดเงินไม่เพียงพอที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงานสภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบต่อภาคธุรกิจ Shareรายงานสภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบต่อภาคธุรกิจ โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 25 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นที่ทราบถึงผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุด IMF ได้ปรับตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจของโลก ในปี 2009 ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 (-0.5) จากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ซึ่งนับว่าต่ำสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก IMF คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาไปจนถึงปลายปีนี้ โดยการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับมาตรการของประเทศคู่ค้าของไทยว่าจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วหรือช้าเพียงใด โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา , สหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น เศรษฐกิจมีการถดถอยไปที่ร้อยละ -2.3, -2.5 , -3.0 ตามลำดับ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 35.6 นอกจากนี้ ประเทศคู่ค้าของไทย เช่น จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศเศรษฐกิจใหม่ ล้วนเศรษฐกิจก็อยู่ในสภาวะชะลอตัวทั้งสิ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
สัญญาณครึ่งปีแรกของปี 2552 เศรษฐกิจของไทยจะเข้าสู่ยุคชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยเห็นได้จากตัวเลขการส่งออกเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ปีที่แล้ว การส่งออกติดลบถึงเฉลี่ยร้อยละ -16.35 และการส่งออกในเดือนมกราคม 2552 ติดลบมากกว่าร้อยละ -26.5 การที่ตัวเลขภาคการส่งออกมีการถดถอยรุนแรง ส่งผลต่อภาคการนำเข้าและภาคการผลิตในประเทศ โดยในเดือนธันวาคม พบว่าคำสั่งซื้อลดลงเหลือเพียงร้อยละ 50 และอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเกือบทุกสาขา โดยดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต หรือ MPI เดือนธันวาคม เหลือเพียงร้อยละ 53.02 ทำให้อัตราการขยายตัวเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนติดลบ -19.63 นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CPI) มีการหดตัว -0.4 ถือว่าต่ำสุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นสัญญาณความเสี่ยงที่ไม่ดี ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ เมื่อบวกกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งคาดว่าจะติดลบ หากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ผลเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะโตได้เพียงร้อยละ 0.5 ถึง -0.5% จากที่เคยเติบโตในปี 2551 ที่อัตราร้อยละ 2.6 โดยการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวติดลบที่ -13.1 มูลค่า 152.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เคยขยายตัวในปี 2551 ที่ร้อยละ 16.8 มูลค่า 175.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ (ที่มา : สศช. วันที่ 25 กพ.2552) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่ลดลง 1% มีผลต่อจำนวนคนว่างงานประมาณ 1.12 แสนคน ดังนั้น อัตราว่างงานของปี 2552 อาจอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.5 3.0 จากอัตราต้นปี 2551 ที่ร้อยละ 1.2 โดยปริมาณจำนวนคนว่างงานอาจทะลุเกินหลัก 1 ล้านคน นอกจากนี้ สัญญาณเงินตึงตัวทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น เห็นได้จากการขาดดุลงบประมาณปี 2552 อาจสูงถึง 350,000 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการเก็บภาษีไม่เข้าเป้ากว่าร้อยละ 10 ทำให้รัฐบาลต้องมีการกู้ยืมเงินจาก ADB และ World Bank 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะต้องออกพันธบัตรอีกกว่า 200,000 ล้านบาท เป็นการแยกสภาพคล่องในตลาดการเงินของภาคเอกชน ซึ่งมีปัญหาที่ภาคธนาคารเพิ่มมาตรการระมัดระวังและเลือกลูกค้าในการปล่อยสินเชื่อ อีกทั้ง แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจอาจไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในง่อย เนื่องจากรัฐบาลขาดสภาพคล่องและมีเม็ดเงินไม่เพียงพอที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ไฟล์ประกอบ : 012-2009.pdf อ่าน : 2149 ครั้ง วันที่ : 18/02/2009 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|