โครงการสำรวจพื้นที่การก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งและ Southern Seaboard
โดย ธนิต โสรัตน์
รองประธาน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
26 มิถุนายน 2551
ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นว่าในอนาคตพื้นที่อุตสาหกรรม Eastern Seaboard จะไม่สามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า พื้นที่ Eastern Seaboard จะไม่สามารถขยายตัวในแนวตั้งได้อีก นอกจากนี้ ท่าเรือแหลมฉบังซึ่งเป็นท่าเรือหลักของประเทศไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะขยายเต็มพิกัดที่ประมาณ 10.5 11.0 ล้าน TEU ทางสภาอุตสาหกรรมฯ โดยคณะกรรมการพัฒนาการนำเข้า ส่งออก และการค้าประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมกับ คณะอนุกรรมการโลจิสติกส์ ได้มองเห็นปัญหาในระยะยาว จำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมองหาแนวพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรมในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมองเห็นศักยภาพของภาคใต้ในหลายพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพที่จำเป็น Southern Seaboard อีกทั้ง ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือชายฝั่งทางตะวันออกทำให้ประเทศไทยขาดศักยภาพการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันตก การขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนของการขนส่งกว่าร้อยละ 95 ส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์ที่ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ การส่งออกทางทะเลของไทยเพื่อไปซีกโลกตะวันตกจะต้องพึ่งพิงประเทศเพื่อนบ้านทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ จำเป็นที่ประเทศไทย หากมีความประสงค์ที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ พร้อมเพิ่มศักยภาพการแข่งขันบนความมั่นคงของการเมืองระหว่างประเทศ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของการก่อสร้างที่เรือฝั่งตะวันตก เพื่อการรองรับการเติบโตของประเทศในปี 2560 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า
|
||||
|
||||
รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นโครงการสำรวจพื้นที่การก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งและ Southern Seaboard Shareรายงานผลการศึกษาเบื้องต้น โครงการสำรวจพื้นที่การก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งและ Southern Seaboard โดย ธนิต โสรัตน์ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 26 มิถุนายน 2551 ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นว่าในอนาคตพื้นที่อุตสาหกรรม Eastern Seaboard จะไม่สามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า พื้นที่ Eastern Seaboard จะไม่สามารถขยายตัวในแนวตั้งได้อีก นอกจากนี้ ท่าเรือแหลมฉบังซึ่งเป็นท่าเรือหลักของประเทศไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะขยายเต็มพิกัดที่ประมาณ 10.5 11.0 ล้าน TEU ทางสภาอุตสาหกรรมฯ โดยคณะกรรมการพัฒนาการนำเข้า ส่งออก และการค้าประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมกับ คณะอนุกรรมการโลจิสติกส์ ได้มองเห็นปัญหาในระยะยาว จำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมองหาแนวพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรมในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมองเห็นศักยภาพของภาคใต้ในหลายพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพที่จำเป็น Southern Seaboard อีกทั้ง ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือชายฝั่งทางตะวันออกทำให้ประเทศไทยขาดศักยภาพการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลฝั่งตะวันตก การขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนของการขนส่งกว่าร้อยละ 95 ส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์ที่ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ การส่งออกทางทะเลของไทยเพื่อไปซีกโลกตะวันตกจะต้องพึ่งพิงประเทศเพื่อนบ้านทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ จำเป็นที่ประเทศไทย หากมีความประสงค์ที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ พร้อมเพิ่มศักยภาพการแข่งขันบนความมั่นคงของการเมืองระหว่างประเทศ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของการก่อสร้างที่เรือฝั่งตะวันตก เพื่อการรองรับการเติบโตของประเทศในปี 2560 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า ไฟล์ประกอบ : 010-2009.pdf อ่าน : 2893 ครั้ง วันที่ : 18/02/2009 |
||||
|