โดยธนิต โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP
Logistics และ Supply Chain ต่างดำเนินกิจกรรมอยู่ในอาณาบริเวณของตลาด ซึ่งก็คือลูกค้า แต่โดยข้อเท็จจริงในอาณาบริเวณของตลาดใช่จะมีแต่เฉพาะลูกค้า แต่ก็ยังเป็นอาณาบริเวณเดียวกันกับคู่แข่งและอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (THREAT) ทั้งที่อาจมาจากคู่แข่ง , จากกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างจากภาครัฐที่เรียกว่า โครงสร้างส่วนบนของวิถีการผลิตที่เรียกว่า Super structure ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสังคมที่มีต่อสินค้าของเรา ดังนั้นการที่จะ แยกส่วนกระบวนการ Logistics และ Supply Chain ในลักษณะแยกส่วน อาจทำให้ลดศักยภาพในการแข่งขัน จึงต้องมีการจัดการแบบบูรณาการ (Integration) เป็นการจัดการแบบองค์รวม คือมีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่จะเข้มขนาดไหนจะให้น้ำหนักของ Logistics น้อยกว่าหรือมากกว่า Supply Chain ย่อมขึ้นกับสถานะภาพและความรุนแรงของการแข่งขันในตลาด หรือลักษณะความพร้อมของแต่ละธุรกิจและความสอดคล้องของการนำ Supply Chain Management (SCM) มาประยุกต์ใช้ในองค์กร จะเห็นถึงความคล้ายและความแตกต่างของลอจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งต่างก็มีกระบวนการซึ่งมีกิจกรรมสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยยากที่จะแยกออกจากกัน
ลอจิสติกส์และซัพพลายเชนต่างมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริง (Real Purpose) ดังนี้
1. เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า (Core Competitiveness)
2. เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถทำกำไรได้ดีกว่า (Core Compentency in Profit)
3. เพื่อทำให้องค์กร มีความยั่งยืนและมั่นคง (Sustainable Organization)
Supply Chain Management : SCM ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการต่างๆ ซึ่งขับเคลื่อน โดยต่างมีภาระกิจ (Mission) ที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดก็จะสนับสนุนเป้าหมาย (Objective) ไปในทิศทางเดียวกัน ในอันที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ทั้ง 3 ข้อข้างต้น การที่จะกำหนดว่าหน่วยงานใดหรือกระบวนการใดจะเป็น Logistics หรือ Supply Chain จึงไม่อาจกำหนดเป็นวิธีการตายตัวได้ เช่น หน่วยงานจัดซื้อและจัดหา บางองค์กรก็เอาไปรวมไว้กับแผนกลอจิสติกส์แต่บางองค์กรก็เรียกหน่วยงานจัดซื้อ Supply Chain ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของธุรกิจ โดยจากตาราง ความเป็นบูรณาการของ SCM พอจะแยกแยะภาระกิจ (Mission) ของกระบวนการต่างๆใน Supply Chain ออกได้เป็น ดังต่อไปนี้
|
||||
|
||||
ความสำคัญของลอจิสติกส์และซัพพลายเชน Shareโดยธนิต โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP Logistics และ Supply Chain ต่างดำเนินกิจกรรมอยู่ในอาณาบริเวณของตลาด ซึ่งก็คือลูกค้า แต่โดยข้อเท็จจริงในอาณาบริเวณของตลาดใช่จะมีแต่เฉพาะลูกค้า แต่ก็ยังเป็นอาณาบริเวณเดียวกันกับคู่แข่งและอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (THREAT) ทั้งที่อาจมาจากคู่แข่ง , จากกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างจากภาครัฐที่เรียกว่า โครงสร้างส่วนบนของวิถีการผลิตที่เรียกว่า Super structure ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสังคมที่มีต่อสินค้าของเรา ดังนั้นการที่จะ แยกส่วนกระบวนการ Logistics และ Supply Chain ในลักษณะแยกส่วน อาจทำให้ลดศักยภาพในการแข่งขัน จึงต้องมีการจัดการแบบบูรณาการ (Integration) เป็นการจัดการแบบองค์รวม คือมีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่จะเข้มขนาดไหนจะให้น้ำหนักของ Logistics น้อยกว่าหรือมากกว่า Supply Chain ย่อมขึ้นกับสถานะภาพและความรุนแรงของการแข่งขันในตลาด หรือลักษณะความพร้อมของแต่ละธุรกิจและความสอดคล้องของการนำ Supply Chain Management (SCM) มาประยุกต์ใช้ในองค์กร จะเห็นถึงความคล้ายและความแตกต่างของลอจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งต่างก็มีกระบวนการซึ่งมีกิจกรรมสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยยากที่จะแยกออกจากกัน ลอจิสติกส์และซัพพลายเชนต่างมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริง (Real Purpose) ดังนี้ Supply Chain Management : SCM ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการต่างๆ ซึ่งขับเคลื่อน โดยต่างมีภาระกิจ (Mission) ที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดก็จะสนับสนุนเป้าหมาย (Objective) ไปในทิศทางเดียวกัน ในอันที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ทั้ง 3 ข้อข้างต้น การที่จะกำหนดว่าหน่วยงานใดหรือกระบวนการใดจะเป็น Logistics หรือ Supply Chain จึงไม่อาจกำหนดเป็นวิธีการตายตัวได้ เช่น หน่วยงานจัดซื้อและจัดหา บางองค์กรก็เอาไปรวมไว้กับแผนกลอจิสติกส์แต่บางองค์กรก็เรียกหน่วยงานจัดซื้อ Supply Chain ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของธุรกิจ โดยจากตาราง ความเป็นบูรณาการของ SCM พอจะแยกแยะภาระกิจ (Mission) ของกระบวนการต่างๆใน Supply Chain ออกได้เป็น ดังต่อไปนี้
ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์ อ่าน : 16448 ครั้ง วันที่ : 27/04/2007 |
||||
|