โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP และ
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
19 มกราคม 2551
สถานภาพเศรษฐกิจประเทศไทย
บริบทของประเทศไทยพึ่งพิงกับเศรษฐกิจโลกถึงร้อยละ 125 ของ GDP โดยเฉพาะภาคส่งออกปี 2008 มูลค่าประมาณ 181.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 68.89 ของ GDP ดังนั้น เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกถดถอย โดยเฉพาะประเทศเป้าหมายการส่งออก ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม G3 (สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น) เศรษฐกิจถดถอยเฉลี่ยติดลบร้อยละ 0.42 และการเติบโต GDP ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเฉลี่ยเหลือเพียงร้อยละ 3.46 ,ตลาดใหม่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตที่ลดลงของประเทศเหล่านี้ส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2009 ลดลงจากอัตราร้อยละ 16.5-17.0 (ปี 2008) เหลือเพียงอัตรา 0-3.0% ในด้านทิศทางการลงทุนของภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจของไทย ให้มีการซับซ้อนมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยการลงทุนของภาคเอกชนในปี 2009 อาจหดตัวลงจากร้อยละ 4.3 ในปี 2008 เหลือเพียงร้อยละ 2.2 ในส่วนของการลงทุนปี 2008 ของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) การลงทุนติดลบiร้อยละ 29.1% เหลือเพียง 450,000 ล้านบาท และในปีหน้าการลงทุนจะติดลบอีกร้อยละ 11.10 นอกจากนี้ ผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของประเทศไทยได้ลดลงมาเป็นลำดับ โดยการท่องเที่ยวจะเป็นปีแรกที่หดตัวถึงร้อยละ 15-20 หากรัฐบาลยังไม่สามารถดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ คาดว่า นักท่องเที่ยวจะลดลงจาก 14-15 ล้านคน เหลือประมาณ 10.5 ล้านคน
ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2009
1. เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาใน Q2 อาจยังไม่ถึงจุดต่ำสุด อาจลากยาวไปถึงกลางไตรมาส 3 หรือไปจนถึงปี 2010 ซึ่งยังไม่สามารถคาดเดาได้เป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจโลกให้มีการชะลอตัวออกไปอีก โดย GDP ไทย อาจโตได้เพียง 1-2%
2. กำลังซื้อภายนอกและภายใน จะยังคงชะลอตัว โดยภาคส่งออกอาจโต 0- 3.0% การบริโภคภายในอาจโต 1.6% หรืออย่างเก่งอาจขยายได้ 2.5% (ตามงบอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ)
3. การแข่งขันด้านราคาจะรุนแรง เครดิตการค้าจะยาวและหนี้เสียในภาคธุรกิจและสถาบันการเงินจะสูงขึ้น
4. สภาวะการเงินจะตึงตัว จะเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ธนาคารลดเป้าปล่อยสินเชื่อจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5
5. งบประมาณที่จำกัด และเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้ 18 โครงการ งบประมาณ 1.15 หมื่นล้าน อาจไม่เพียงพอที่จะฟื้นเศรษฐกิจให้โตเกิน 2 ถึง 2.5% และรัฐบาลจะเผชิญกับการเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า ทำให้งบประมาณติดลบและหนี้สาธารณะจะสูง
6. รัฐบาลจะเผชิญกับปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ , การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นเอกภาพ , การประท้วงจากปัญหาแรงงาน , ปัญหาราคาเกษตร และความวุ่นวายจากการแบ่งฝ่าย จะยังคงมี
7. วิกฤติความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล โดยเฉพาะความวุ่นวายทางการเมือง รวมถึงปัญหาความมั่นคงชายแดน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นเดือนธันวาคม 2008 เหลือ 38.3 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ความเชื่อมั่นของไทยได้ส่งผลต่อบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของโลก เช่น S&Ps , Moodys ปรับลดแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทย เป็นการส่งสัญญาณความเชื่อมั่นที่ต่างชาติมีต่อประเทศไทย
ตารางเปรียบเทียบสภาวะเศรษฐกิจไทย
|
ปี 2550 (%) |
ปี 2551 (%) |
ปี 2552 (%) |
GDP |
4.5 |
3.9 |
0.5-1.5 |
GDP อุตสาหกรรม |
6.2 |
6.6 |
2-3.0 |
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม |
8.1 |
6.7 |
1-2.0 |
อัตราการใช้กำลังการผลิต |
66.12 |
64.27 |
60.1 |
ส่งออกขยายตัว |
17.3 |
16.5 |
0-0.5 |
การนำเข้าขยายตัว |
28.6 |
-2.8 |
1.2-2.0 |
เงินเฟ้อ |
2.2 |
5.5 |
0-1.2 |
การขอรับการส่งเสริม BOI |
N/A |
-29.1 |
-11.10 |
ว่างงาน |
1.38 |
1.43 |
2.5 |
การท่องเที่ยว |
- |
- |
-12-15 |
การบริโภคภาคเอกชน |
- |
1.9 |
1.6-2.6 |
ปี 2009 จะเผชิญกับปัญหาการว่างงาน
ปัญหาการเผชิญหน้าของรัฐบาลและสังคมไทยก็คือตัวเลขการว่างงานที่จะสูงขึ้น อันเป็นผลจากการหดตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2009 จะหดตัวจากร้อยละ 3.9-4.0 ในปี 2008 เหลือร้อยละ 1.5-2.5 เป็นการคาดคะเนในทางบวกแต่โอกาสที่เศรษฐกิจอาจถึงขั้นติดลบก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งการหดตัวของประเทศไทยก็เป็นไปตามการหดตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปี 2009 เศรษฐกิจโลกจะเติบโตติดลบร้อยละ -0.42 หรือต่ำกว่านี้ โดยการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของไทย ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า , สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก อยู่ใน Top 10 ของประเทศไทย มีการหดตัวร้อยละ 0 จนไปถึงติดลบ อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้แรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อัตราว่างงานของไทยที่เคยเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 1.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.6 โดยหลายหน่วยงานของรัฐได้คาดการณ์ว่าในปี 2552 หากเศรษฐกิจเติบโตได้ร้อยละ 1 การว่างงานก็อาจสูงถึงร้อยละ 2.5 ทำให้มีคนว่างงาน (ไม่รวมราคาเกษตร) ประมาณ 960,000 คน เมื่อเทียบกับวิกฤติปี 2540 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดจากสภาพคล่องในประเทศ และการลดค่าเงินบาท อัตราการว่างงานร้อยละ 4.4 มีคนตกงานประมาณ 1.1 ล้านคน แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น เพราะภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวมีการเติบโตสูง และมาช่วยค้ำยันเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม วิกฤติที่เกิดในปี 2009 จะเป็นวิกฤติด้านตลาดหดตัว ส่งผลต่อสภาพคล่องและการผลิตที่ชงักงัน และภาคการส่งออกรวมถึงภาคการท่องเที่ยว และภาคการลงทุนมีการขยายตัวอาจถึงขั้นติดลบ เศรษฐกิจของไทยจึงจะซบเซาแบบลากยาว โดยตัวเลขการว่างงานจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนี้
GDP 2.0% การว่างงาน 2.2% จำนวน 848,000 คน
GDP 1.0% การว่างงาน 2.5% จำนวน 960,000 คน
GDP 0% การว่างงาน 2.8% จำนวน1,072,000 คน
(ที่มา : ธปท. 19 มค 52)
ตัวเลขการว่างงานข้างต้นยังไม่รวมแรงงานภาคเกษตรและยังไม่รวมนักศึกษาและนักเรียนที่ทยอยจบใหม่ โดยมีแนวโน้มเห็นชัดเจนขึ้น จากการเลิกจ้างของสถานประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ โดยจากการสุ่มตัวอย่างของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 96.4 ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่หดตัว แบ่งออกเป็นผลกระทบรุนแรง ร้อยละ 2.7 , ผลกระทบปานกลางร้อยละ 53.3 และผลกระทบน้อยร้อยละ 4.4 โดยแนวโน้มการลดจำนวนคนงานและเลิกจ้างร้อยละ 12.4 ยังไม่แน่ใจร้อยละ 31.60 และไม่มีนโยบายเลิกจ้างร้อยละ 56.0 ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเลิกจ้างจะมีสูง ถึงแม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะเป็นเพียงประมาณการ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงการที่ภาครัฐจะต้องเตรียมการรองรับคนงานจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคมที่จะมีนักศึกษาจบใหม่ประมาณ 525,940 คน และเด็กมัธยมออกจากระบบการศึกษามาหางานประมาณ 126,084 คน ที่จะกลายเป็นปัญหาความวุ่นวายของสังคมและเป็นปัจจัยเสี่ยงของรัฐบาล ดังนั้น รัฐบาลจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อลดการว่างงาน (ตัวเลขว่างงานกับตกงาน ความหมายต่างกัน) ซึ่งภาคส่งออกและการลงทุนไม่อาจขับเคลื่อนเศรษฐกิจจริงในปี 2552 ทำให้ภาคการผลิตชะลอตัวส่งผลต่อการว่างงานในต้นไตรมาส 3 ทั้งการว่างงานสุทธิหลังหักการว่างงานตามธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.0% ประมาณ 370,000-400,000 คน โดยการเพิ่มของการว่างงานสุทธิจะทำให้เกิดช่องว่างของรายได้ผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงลดลง ทั้งนี้ การว่างงานสูงขึ้นจะยิ่งทำให้ การบริโภคจะลดลงส่งผลเป็นตัวทวีคูณ (Multiplier Effect) ทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตหรือเลิกผลิต ส่งผลทำให้เป็นปัจจัยไปสู่สภาวะเงินฝืด อีกทั้ง งบประมาณจะติดลบประมาณ 150,000 ล้าน จะทำให้รัฐบาลจะขาดรายได้ไปใช้จ่าย และไปทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น ส่งผลต่อการหดตัวลงทางเศรษฐกิจ
ความเสี่ยงและความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2009 ประกอบด้วย
1. การเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP อาจขยายเพียงร้อยละ 0.5-1.5 (หากมองในทางบวกอาจขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2.5) ซึ่งเกิดจากเศรษฐกิจโลกหดตัวมากที่สุดในรอบ 20 ปี จากอัตราปี 2007 ร้อยละ 3.9 , ปี 2008 ร้อยละ 2.5 และปี 2009 คาดว่าจะหดเหลือเพียง -0.45% ซึ่งเกิดจากเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐฯ -6.3% , อียู -3.5% , ญี่ปุ่น +0.6% และตลาดใหม่ +5.7%
2. หุ้นยังมีแนวโน้มร่วง ซึ่งหุ้นไทยอิงกับหุ้นในตลาดหลักของโลก ซึ่งดัชนีร่วง 50-54% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี
3. ภาคการท่องเที่ยวอาจมีการหดตัว 10-15% อันเป็นผลจากการขาดความเชื่อมั่นรัฐบาลควรมีการ Road Shown และออก Package การท่องเที่ยวเพื่อจูงใจให้มีการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ
4. ส่งออกขยายตัวลดลงประมาณร้อยละ 0-3.0 มูลค่า 189,000 ล้าน USD โดยปี 2008 ส่งออกขยายถึง 17-18% โดยส่งออกอยู่ใน GDP ร้อยละ 68.69 เป็นรายได้หลักของประเทศ ซึ่งกำลังซื้อประเทศเป้าหมายหดตัวย่อมส่งผลต่อการถดถอยของภาคการผลิต
5. ราคาสินค้าเกษตรตกประมาณ 21% ไปจนถึง Q1 / 2009 ซึ่งเกิดจากราคาสินค้าเกษตรปรับลดตัวลงตามราคาน้ำมันและการชะลอตัวของการเก็งกำไรในโภคภัณฑ์ล่วงหน้าส่งผลต่อรายได้เกษตรและปัญหาราคาพืชตกต่ำ
6. การบริโภคขยายตัวเล็กน้อย จากปี 2008 ที่ร้อยละ 1.9 เป็นร้อยละ 1.6 การแข่งขันตลาดภายในจะรุนแรง ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่การชะลอตัว ปี 2009 ขยายได้ประมาณ 0.5-1.5% งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 115,000 ล้านบาท ไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจโตเกิน 2.0-2.5% โดยรัฐบาลจะต้องอัดฉีดเงินและเร่งใช้จ่ายเงินอย่างน้อย 5-6 แสนล้านบาท จึงจะพอกับการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระดับรากหญ้าและ SME / SML
7. สภาพคล่องที่ลดลงและเงินตึง โดยสภาพคล่องของสถาบันการเงินลดลงเหลือ 4-5 แสนล้านบาท จากที่ควรจะเป็นที่ 5-6 แสนล้านบาท การปล่อยสินเชื่อจะลดเหลือร้อยละ 5.0 จากปี 2008 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 10.0 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยชี้นำ ธปท. ลดลง 2.0% แต่ช่องว่าง Spread Gap ของธนาคารพาณิชยังห่าง 4.0-4.5% แต่ธนาคารพาณิชย์อาจปรับดอกเบี้ยไม่มาก และ SME การเข้าถึงแหล่งเงินจะยากขึ้นเห็นได้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้ทยอยลดเป้าปล่อยสินเชื่อ
8. เงินเฟ้อจะลดลงตามทิศทาง ของราคาน้ำมันขาลง ไปจนถึงปลายไตรมาสที่ 1 ของปี 2009 โดยเงินเฟ้อ 2009 ลดลงจากอัตราร้อยละ 5.5 (ปี 2008) เหลือเพียงร้อยละ 0-1.2 แสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นเหลือเพียงระดับ 47.6 แสดงถึงโอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาพถดถอยก็อาจมีความเป็นไปได้
9. เสถียรภาพของรัฐบาล จะไม่มั่นคง ซึ่งเกิดจากปัญหาแรงงานและปัญหาการเรียกร้องจากภาคเกษตรและปัญหาสังคมแตกแยกจะยังคงมี โดยรัฐบาลจะมีปัญหาจากการขาดดุลงบประมาณสูงกว่า 350,000 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากเก็บรายได้ไม่เข้า 10% หรือประมาณ 1.583 แสนล้านบาท ทำให้รัฐบาลต้องหันมากู้เงินจากนอกประเทศ อาจเป็น World Bank ประมาณ 71,000 ล้านบาท ซึ่งข้อจำกัดด้านงบประมาณที่จะติดลบได้ไม่เกิน 20% ของงบประมาณ 1.835 ล้านล้านบาท หรือไม่เกิน 2.5% ของ GDP (ประมาณ 9.373 ล้านล้านบาท) และระยะเวลาที่ล่าช้าในการใช้ อาจทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ทันต่อเหตุการณ์
10. อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวน ไปตามสกุลเงินหลักเงินบาทไทยอิงกับค่าเงินสหรัฐฯจะแข็งค่าในระยะสั้นๆ จากเงินที่ Inflow หลังจากนั้นทั้ง USD / Baht จะอ่อนค่าไปตามสภาวะเศรษฐกิจจริง ประมาณ 35.5 -36.0
11. การว่างงานจะเป็นปัญหาทางสังคมของประเทศ ปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจทำให้การว่างงานจะขยายจากอัตราร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 2.5 จำนวนคนว่างงานประมาณ 0.9-1.0 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่จะหางานยาก การประท้วงด้านแรงงานจะมีความถี่มากขึ้น
12. การลงทุนภาคเอกชนจะลดลง จากร้อยละ 4.3 เหลือ 2.2% โดยภาครัฐจะต้องเพิ่มการใช้จ่ายด้วยการติดลบงบประมาณร้อยละ 2.5 เป็นเงิน 250,000 ล้านบาท และงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงเร่งโครงการ Mega Project มูลค่ากว่า 325,000 ล้านบาท
ปัจจัยเชิงบวกของเศรษฐกิจไทย
1. ประเทศไทยไม่มีปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงิน-ธนาคาร ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-Prime ที่เกิดในประเทศ G3
2. เงินสำรองของไทยมีมากกว่า 110,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ไม่มีปัญหาด้านอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากนัก
3. ไทยไม่มีปัญหาสภาพคล่องและในระบบธนาคารไม่พบปัญหา NPL มากนัก และระบบเงินสำรองในสถาบันการเงิน รวมกันมีมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท (ปัจจุบันคงเหลือประมาณ 4-5 แสนล้านบาท)
4. เศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำมันที่ลดลงกว่า 57% ส่งผลต่อเงินเฟ้อที่อาจลดจากร้อยละ 5.0 เหลือเพียงร้อยละ 0-1.2 หรือต่ำกว่า ทำให้การบริโภคในปี 2009 จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าปี 2008 และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง จะช่วยกระตุ้นการบริโภค
5. เศรษฐกิจไทยในเชิงบวกอาจไม่เลวร้ายกว่าที่คิด และอาจไม่ถึงขั้นติดลบ และอาจโตได้ถึง 2.0 ถึง 2.5% เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมไทย ยังมีพื้นฐานแข็งแรง โดยอุตสาหกรรมบางกลุ่ม เช่น เครื่องนุ่งห่ม , อาหาร , รองเท้า แจ้งว่ายังต้องการแรงงานเพิ่มอีกมาก ทำให้ปัญหาการว่างงานอาจไม่รุนแรงมากอย่างที่ประมาณการไว้อย่างมากอาจไม่เกิน 6-7 แสนคน (ในเชิงบวก)
6. รัฐบาลปัจจุบันเข้าใจปัญหาและมีงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงประชานิยม ทั้งด้านแรงงาน , การบริโภค , SME/SML และด้านเกษตร
7. รัฐสภาสหรัฐฯมีการใช้งบประมาณละลอกใหม่อีก 825,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากงบของรัฐบาลที่อนุมัติไปก่อนหน้า 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อาจทำให้เห็นการพื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและอียูในช่วงกลางไตรมาส 3
8. เริ่มมีสัญญาณที่ดีจากการเมืองภายในประเทศ ที่อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คาด และมีสัญญาณที่ดีด้านความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เริ่มเข้ามาเที่ยวในประเทศ รวมทั้งการบริโภคภายในเกิดจากแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐบาลในเชิงบวก
**********************
รายละเอียดในเอกสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับสถาบัน การนำไปใช้แล้วแต่ดุลยพินิจ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ www.tanitsorat.com
" />
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทความพิเศษ วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ต้องเผชิญในปี 2009 Shareวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ต้องเผชิญในปี 2009 โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP และ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 19 มกราคม 2551 สถานภาพเศรษฐกิจประเทศไทย บริบทของประเทศไทยพึ่งพิงกับเศรษฐกิจโลกถึงร้อยละ 125 ของ GDP โดยเฉพาะภาคส่งออกปี 2008 มูลค่าประมาณ 181.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 68.89 ของ GDP ดังนั้น เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกถดถอย โดยเฉพาะประเทศเป้าหมายการส่งออก ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม G3 (สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น) เศรษฐกิจถดถอยเฉลี่ยติดลบร้อยละ 0.42 และการเติบโต GDP ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเฉลี่ยเหลือเพียงร้อยละ 3.46 ,ตลาดใหม่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตที่ลดลงของประเทศเหล่านี้ส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2009 ลดลงจากอัตราร้อยละ 16.5-17.0 (ปี 2008) เหลือเพียงอัตรา 0-3.0% ในด้านทิศทางการลงทุนของภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจของไทย ให้มีการซับซ้อนมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยการลงทุนของภาคเอกชนในปี 2009 อาจหดตัวลงจากร้อยละ 4.3 ในปี 2008 เหลือเพียงร้อยละ 2.2 ในส่วนของการลงทุนปี 2008 ของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) การลงทุนติดลบiร้อยละ 29.1% เหลือเพียง 450,000 ล้านบาท และในปีหน้าการลงทุนจะติดลบอีกร้อยละ 11.10 นอกจากนี้ ผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของประเทศไทยได้ลดลงมาเป็นลำดับ โดยการท่องเที่ยวจะเป็นปีแรกที่หดตัวถึงร้อยละ 15-20 หากรัฐบาลยังไม่สามารถดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ คาดว่า นักท่องเที่ยวจะลดลงจาก 14-15 ล้านคน เหลือประมาณ 10.5 ล้านคน ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2009 1. เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาใน Q2 อาจยังไม่ถึงจุดต่ำสุด อาจลากยาวไปถึงกลางไตรมาส 3 หรือไปจนถึงปี 2010 ซึ่งยังไม่สามารถคาดเดาได้เป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจโลกให้มีการชะลอตัวออกไปอีก โดย GDP ไทย อาจโตได้เพียง 1-2% 2. กำลังซื้อภายนอกและภายใน จะยังคงชะลอตัว โดยภาคส่งออกอาจโต 0- 3.0% การบริโภคภายในอาจโต 1.6% หรืออย่างเก่งอาจขยายได้ 2.5% (ตามงบอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ) 3. การแข่งขันด้านราคาจะรุนแรง เครดิตการค้าจะยาวและหนี้เสียในภาคธุรกิจและสถาบันการเงินจะสูงขึ้น 4. สภาวะการเงินจะตึงตัว จะเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ธนาคารลดเป้าปล่อยสินเชื่อจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 5. งบประมาณที่จำกัด และเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้ 18 โครงการ งบประมาณ 1.15 หมื่นล้าน อาจไม่เพียงพอที่จะฟื้นเศรษฐกิจให้โตเกิน 2 ถึง 2.5% และรัฐบาลจะเผชิญกับการเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า ทำให้งบประมาณติดลบและหนี้สาธารณะจะสูง 6. รัฐบาลจะเผชิญกับปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ , การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่เป็นเอกภาพ , การประท้วงจากปัญหาแรงงาน , ปัญหาราคาเกษตร และความวุ่นวายจากการแบ่งฝ่าย จะยังคงมี 7. วิกฤติความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล โดยเฉพาะความวุ่นวายทางการเมือง รวมถึงปัญหาความมั่นคงชายแดน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นเดือนธันวาคม 2008 เหลือ 38.3 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ความเชื่อมั่นของไทยได้ส่งผลต่อบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของโลก เช่น S&Ps , Moodys ปรับลดแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทย เป็นการส่งสัญญาณความเชื่อมั่นที่ต่างชาติมีต่อประเทศไทย ตารางเปรียบเทียบสภาวะเศรษฐกิจไทย
ปี 2009 จะเผชิญกับปัญหาการว่างงาน ปัญหาการเผชิญหน้าของรัฐบาลและสังคมไทยก็คือตัวเลขการว่างงานที่จะสูงขึ้น อันเป็นผลจากการหดตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2009 จะหดตัวจากร้อยละ 3.9-4.0 ในปี 2008 เหลือร้อยละ 1.5-2.5 เป็นการคาดคะเนในทางบวกแต่โอกาสที่เศรษฐกิจอาจถึงขั้นติดลบก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งการหดตัวของประเทศไทยก็เป็นไปตามการหดตัวของเศรษฐกิจโลก โดยปี 2009 เศรษฐกิจโลกจะเติบโตติดลบร้อยละ -0.42 หรือต่ำกว่านี้ โดยการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของไทย ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า , สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก อยู่ใน Top 10 ของประเทศไทย มีการหดตัวร้อยละ 0 จนไปถึงติดลบ อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้แรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อัตราว่างงานของไทยที่เคยเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 1.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.6 โดยหลายหน่วยงานของรัฐได้คาดการณ์ว่าในปี 2552 หากเศรษฐกิจเติบโตได้ร้อยละ 1 การว่างงานก็อาจสูงถึงร้อยละ 2.5 ทำให้มีคนว่างงาน (ไม่รวมราคาเกษตร) ประมาณ 960,000 คน เมื่อเทียบกับวิกฤติปี 2540 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดจากสภาพคล่องในประเทศ และการลดค่าเงินบาท อัตราการว่างงานร้อยละ 4.4 มีคนตกงานประมาณ 1.1 ล้านคน แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้น เพราะภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวมีการเติบโตสูง และมาช่วยค้ำยันเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม วิกฤติที่เกิดในปี 2009 จะเป็นวิกฤติด้านตลาดหดตัว ส่งผลต่อสภาพคล่องและการผลิตที่ชงักงัน และภาคการส่งออกรวมถึงภาคการท่องเที่ยว และภาคการลงทุนมีการขยายตัวอาจถึงขั้นติดลบ เศรษฐกิจของไทยจึงจะซบเซาแบบลากยาว โดยตัวเลขการว่างงานจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนี้ GDP 2.0% การว่างงาน 2.2% จำนวน 848,000 คน GDP 1.0% การว่างงาน 2.5% จำนวน 960,000 คน GDP 0% การว่างงาน 2.8% จำนวน1,072,000 คน (ที่มา : ธปท. 19 มค 52) ตัวเลขการว่างงานข้างต้นยังไม่รวมแรงงานภาคเกษตรและยังไม่รวมนักศึกษาและนักเรียนที่ทยอยจบใหม่ โดยมีแนวโน้มเห็นชัดเจนขึ้น จากการเลิกจ้างของสถานประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ โดยจากการสุ่มตัวอย่างของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าผู้ประกอบการร้อยละ 96.4 ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่หดตัว แบ่งออกเป็นผลกระทบรุนแรง ร้อยละ 2.7 , ผลกระทบปานกลางร้อยละ 53.3 และผลกระทบน้อยร้อยละ 4.4 โดยแนวโน้มการลดจำนวนคนงานและเลิกจ้างร้อยละ 12.4 ยังไม่แน่ใจร้อยละ 31.60 และไม่มีนโยบายเลิกจ้างร้อยละ 56.0 ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเลิกจ้างจะมีสูง ถึงแม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะเป็นเพียงประมาณการ จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงการที่ภาครัฐจะต้องเตรียมการรองรับคนงานจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคมที่จะมีนักศึกษาจบใหม่ประมาณ 525,940 คน และเด็กมัธยมออกจากระบบการศึกษามาหางานประมาณ 126,084 คน ที่จะกลายเป็นปัญหาความวุ่นวายของสังคมและเป็นปัจจัยเสี่ยงของรัฐบาล ดังนั้น รัฐบาลจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อลดการว่างงาน (ตัวเลขว่างงานกับตกงาน ความหมายต่างกัน) ซึ่งภาคส่งออกและการลงทุนไม่อาจขับเคลื่อนเศรษฐกิจจริงในปี 2552 ทำให้ภาคการผลิตชะลอตัวส่งผลต่อการว่างงานในต้นไตรมาส 3 ทั้งการว่างงานสุทธิหลังหักการว่างงานตามธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.0% ประมาณ 370,000-400,000 คน โดยการเพิ่มของการว่างงานสุทธิจะทำให้เกิดช่องว่างของรายได้ผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงลดลง ทั้งนี้ การว่างงานสูงขึ้นจะยิ่งทำให้ การบริโภคจะลดลงส่งผลเป็นตัวทวีคูณ (Multiplier Effect) ทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตหรือเลิกผลิต ส่งผลทำให้เป็นปัจจัยไปสู่สภาวะเงินฝืด อีกทั้ง งบประมาณจะติดลบประมาณ 150,000 ล้าน จะทำให้รัฐบาลจะขาดรายได้ไปใช้จ่าย และไปทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น ส่งผลต่อการหดตัวลงทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงและความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2009 ประกอบด้วย 1. การเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP อาจขยายเพียงร้อยละ 0.5-1.5 (หากมองในทางบวกอาจขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2.5) ซึ่งเกิดจากเศรษฐกิจโลกหดตัวมากที่สุดในรอบ 20 ปี จากอัตราปี 2007 ร้อยละ 3.9 , ปี 2008 ร้อยละ 2.5 และปี 2009 คาดว่าจะหดเหลือเพียง -0.45% ซึ่งเกิดจากเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐฯ -6.3% , อียู -3.5% , ญี่ปุ่น +0.6% และตลาดใหม่ +5.7% 2. หุ้นยังมีแนวโน้มร่วง ซึ่งหุ้นไทยอิงกับหุ้นในตลาดหลักของโลก ซึ่งดัชนีร่วง 50-54% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 3. ภาคการท่องเที่ยวอาจมีการหดตัว 10-15% อันเป็นผลจากการขาดความเชื่อมั่นรัฐบาลควรมีการ Road Shown และออก Package การท่องเที่ยวเพื่อจูงใจให้มีการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ 4. ส่งออกขยายตัวลดลงประมาณร้อยละ 0-3.0 มูลค่า 189,000 ล้าน USD โดยปี 2008 ส่งออกขยายถึง 17-18% โดยส่งออกอยู่ใน GDP ร้อยละ 68.69 เป็นรายได้หลักของประเทศ ซึ่งกำลังซื้อประเทศเป้าหมายหดตัวย่อมส่งผลต่อการถดถอยของภาคการผลิต 5. ราคาสินค้าเกษตรตกประมาณ 21% ไปจนถึง Q1 / 2009 ซึ่งเกิดจากราคาสินค้าเกษตรปรับลดตัวลงตามราคาน้ำมันและการชะลอตัวของการเก็งกำไรในโภคภัณฑ์ล่วงหน้าส่งผลต่อรายได้เกษตรและปัญหาราคาพืชตกต่ำ 6. การบริโภคขยายตัวเล็กน้อย จากปี 2008 ที่ร้อยละ 1.9 เป็นร้อยละ 1.6 การแข่งขันตลาดภายในจะรุนแรง ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่การชะลอตัว ปี 2009 ขยายได้ประมาณ 0.5-1.5% งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 115,000 ล้านบาท ไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจโตเกิน 2.0-2.5% โดยรัฐบาลจะต้องอัดฉีดเงินและเร่งใช้จ่ายเงินอย่างน้อย 5-6 แสนล้านบาท จึงจะพอกับการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระดับรากหญ้าและ SME / SML 7. สภาพคล่องที่ลดลงและเงินตึง โดยสภาพคล่องของสถาบันการเงินลดลงเหลือ 4-5 แสนล้านบาท จากที่ควรจะเป็นที่ 5-6 แสนล้านบาท การปล่อยสินเชื่อจะลดเหลือร้อยละ 5.0 จากปี 2008 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 10.0 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยชี้นำ ธปท. ลดลง 2.0% แต่ช่องว่าง Spread Gap ของธนาคารพาณิชยังห่าง 4.0-4.5% แต่ธนาคารพาณิชย์อาจปรับดอกเบี้ยไม่มาก และ SME การเข้าถึงแหล่งเงินจะยากขึ้นเห็นได้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้ทยอยลดเป้าปล่อยสินเชื่อ 8. เงินเฟ้อจะลดลงตามทิศทาง ของราคาน้ำมันขาลง ไปจนถึงปลายไตรมาสที่ 1 ของปี 2009 โดยเงินเฟ้อ 2009 ลดลงจากอัตราร้อยละ 5.5 (ปี 2008) เหลือเพียงร้อยละ 0-1.2 แสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นเหลือเพียงระดับ 47.6 แสดงถึงโอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาพถดถอยก็อาจมีความเป็นไปได้ 9. เสถียรภาพของรัฐบาล จะไม่มั่นคง ซึ่งเกิดจากปัญหาแรงงานและปัญหาการเรียกร้องจากภาคเกษตรและปัญหาสังคมแตกแยกจะยังคงมี โดยรัฐบาลจะมีปัญหาจากการขาดดุลงบประมาณสูงกว่า 350,000 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากเก็บรายได้ไม่เข้า 10% หรือประมาณ 1.583 แสนล้านบาท ทำให้รัฐบาลต้องหันมากู้เงินจากนอกประเทศ อาจเป็น World Bank ประมาณ 71,000 ล้านบาท ซึ่งข้อจำกัดด้านงบประมาณที่จะติดลบได้ไม่เกิน 20% ของงบประมาณ 1.835 ล้านล้านบาท หรือไม่เกิน 2.5% ของ GDP (ประมาณ 9.373 ล้านล้านบาท) และระยะเวลาที่ล่าช้าในการใช้ อาจทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ทันต่อเหตุการณ์ 10. อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวน ไปตามสกุลเงินหลักเงินบาทไทยอิงกับค่าเงินสหรัฐฯจะแข็งค่าในระยะสั้นๆ จากเงินที่ Inflow หลังจากนั้นทั้ง USD / Baht จะอ่อนค่าไปตามสภาวะเศรษฐกิจจริง ประมาณ 35.5 -36.0 11. การว่างงานจะเป็นปัญหาทางสังคมของประเทศ ปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจทำให้การว่างงานจะขยายจากอัตราร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 2.5 จำนวนคนว่างงานประมาณ 0.9-1.0 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่จะหางานยาก การประท้วงด้านแรงงานจะมีความถี่มากขึ้น 12. การลงทุนภาคเอกชนจะลดลง จากร้อยละ 4.3 เหลือ 2.2% โดยภาครัฐจะต้องเพิ่มการใช้จ่ายด้วยการติดลบงบประมาณร้อยละ 2.5 เป็นเงิน 250,000 ล้านบาท และงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงเร่งโครงการ Mega Project มูลค่ากว่า 325,000 ล้านบาท ปัจจัยเชิงบวกของเศรษฐกิจไทย 1. ประเทศไทยไม่มีปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงิน-ธนาคาร ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-Prime ที่เกิดในประเทศ G3 2. เงินสำรองของไทยมีมากกว่า 110,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ไม่มีปัญหาด้านอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากนัก 3. ไทยไม่มีปัญหาสภาพคล่องและในระบบธนาคารไม่พบปัญหา NPL มากนัก และระบบเงินสำรองในสถาบันการเงิน รวมกันมีมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท (ปัจจุบันคงเหลือประมาณ 4-5 แสนล้านบาท) 4. เศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำมันที่ลดลงกว่า 57% ส่งผลต่อเงินเฟ้อที่อาจลดจากร้อยละ 5.0 เหลือเพียงร้อยละ 0-1.2 หรือต่ำกว่า ทำให้การบริโภคในปี 2009 จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าปี 2008 และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง จะช่วยกระตุ้นการบริโภค 5. เศรษฐกิจไทยในเชิงบวกอาจไม่เลวร้ายกว่าที่คิด และอาจไม่ถึงขั้นติดลบ และอาจโตได้ถึง 2.0 ถึง 2.5% เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมไทย ยังมีพื้นฐานแข็งแรง โดยอุตสาหกรรมบางกลุ่ม เช่น เครื่องนุ่งห่ม , อาหาร , รองเท้า แจ้งว่ายังต้องการแรงงานเพิ่มอีกมาก ทำให้ปัญหาการว่างงานอาจไม่รุนแรงมากอย่างที่ประมาณการไว้อย่างมากอาจไม่เกิน 6-7 แสนคน (ในเชิงบวก) 6. รัฐบาลปัจจุบันเข้าใจปัญหาและมีงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงประชานิยม ทั้งด้านแรงงาน , การบริโภค , SME/SML และด้านเกษตร 7. รัฐสภาสหรัฐฯมีการใช้งบประมาณละลอกใหม่อีก 825,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากงบของรัฐบาลที่อนุมัติไปก่อนหน้า 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อาจทำให้เห็นการพื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและอียูในช่วงกลางไตรมาส 3 8. เริ่มมีสัญญาณที่ดีจากการเมืองภายในประเทศ ที่อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คาด และมีสัญญาณที่ดีด้านความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เริ่มเข้ามาเที่ยวในประเทศ รวมทั้งการบริโภคภายในเกิดจากแรงกระตุ้นจากมาตรการของรัฐบาลในเชิงบวก ********************** รายละเอียดในเอกสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับสถาบัน การนำไปใช้แล้วแต่ดุลยพินิจ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ www.tanitsorat.com
ไฟล์ประกอบ : 004-2009.pdf อ่าน : 7069 ครั้ง วันที่ : 13/01/2009 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|