นำเสนอประทรวงคมนาคม
โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP
7 มกราคม 2552
การศึกษายุทธศาสตร์ด้านการตลาดของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ จะต้องเข้าใจในฐานะเป็นเส้นทางเลือกของการขนส่งทางแม่น้ำโขง โดยมีท่าเรือเชียงแสนเป็น Gateway สำหรับศูนย์กระจายสินค้าเชียงของจะเป็น Gateway ของการขนส่งทางบกในการเชื่อมโยงกับประเทศจีนทางถนน ดังนั้น จะต้องทำความเข้าใจสถานะของเส้นทาง R3E ว่าไม่ใช่เป็นเพียงถนนที่เชื่อมโยงกับประเทศจีน แต่จะต้องเข้าใจถึงสถานะที่เป็นเส้นทางการค้าในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง ลักษณะการปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างไทย กับประเทศจีน เนื่องจากเส้นทาง R3E ไม่ใช่มีปลายทางอยู่ที่ชายแดนของ สปป.ลาว แต่เป็นเส้นทางที่มีจุดหมายปลายทางสู่จีน ความสัมฤทธิ์ผลของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของจึงไม่ควรให้ความสำคัญเพียงโครงสร้างพื้นฐาน แต่จะต้องให้ความสำคัญของเครือข่ายที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางขนส่งสินค้าไทยกับจีนตอนใต้ ภายใต้เส้นทางระเบียงเหนือ-ใต้ R3E จึงต้องมีความชัดเจนของแผน เป้าหมาย ผลลัพธ์ และมียุทธศาสตร์ ในฐานะ เป็นเส้นทางที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor Link) กับประเทศจีน ซึ่งมีนครคุนหมิงเป็นศูนย์กลางของจีนภาคใต้ กับภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้ ศูนย์กระจายสินค้าเชียงของจะรองรับสินค้าภายใต้เป็นเส้นทาง New Trade Lane คือเป็นเส้นทางการค้าใหม่ทางถนนของประเทศจีน เพราะจะเป็นเส้นทางหลักของไทยที่สั้นที่สุดที่จะเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนไปประเทศจีนตอนใต้ ด้วยระยะทาง
ระยะทางของเส้นทาง R3E จากกรุงเทพ คุนหมิง (ที่มา : จากเอกสารการประชุม GMS)
ความสัมฤทธิ์ผลเชิงพาณิชของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ
การวางยุทธศาสตร์ด้านการตลาดของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ จะเกี่ยวข้องกับการเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายพาหนะขนส่งของรถบรรทุกระหว่างไทยกับรถบรรทุกของประเทศจีน ในลักษณะที่เป็น ICD และเป็น CY Yard คือเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายพาหนะขนส่งจากไทยไปจีนและจากจีนมาไทย โดยเป็นการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมแบบ Co-Production และเขตอุตสาหกรรมชายแดน จำเป็นจะต้องมีสถานที่รองรับสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์และสินค้าประเภท Bulk Cargoes มีการจัดพื้นที่เขตปลอดภาษี (Free Zone) รองรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนที่เป็น Transshipment ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ Hard Ware และ Infrastructure โดยกรมขนส่งทางบกน่าจะเข้ามาเป็นเจ้าภาพบริหารจัดการ โดยอาจใช้ต้นแบบ ICD ลาดกระบัง อย่างไรก็ดี การวางยุทธศาสตร์ศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ ในฐานะเป็นเส้นทางขนส่งและกระจายสินค้าของภูมิภาค จะต้องกำหนดแผนงานด้านการตลาดร่วมกับแผนงานด้านโลจิสติกส์และการบูรณาการ โครงสร้างพื้นที่คมนาคมขนส่งทุกโหมด เพื่อให้เกิดการ Shift Mode ทั้งที่มีอยู่แล้วและโครงการในอนาคต โดยการเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังและสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งระบบการขนส่งทางราง เพื่อให้สามารถต่อยอดเชื่อมโยงกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ซึ่งจะสร้างเสร็จในปี 2554 ทั้งนี้ จะต้องนำเส้นทาง East-West Economic Corridor ทั้งด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตากและสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด โดยให้เชื่อมโยงกับแผนย่อยดังนี้
1) New Trade Lane เส้นทางการกระจายสินค้าส่งออกของไทยไปสู่ตลาดจีน ประเด็นสำคัญคือ สินค้าของไทยรายการใดบ้าง ซึ่งมีศักยภาพในด้านต้นทุนและรูปแบบในการเข้าสู่ตลาดจีน
2) Area Base มีการศึกษาถึงกฎเกณฑ์และข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคของจุดหมายปลายทาง (Destination Focus) โดยศึกษาทั้งในระดับแขวงของ สปป. ลาว และในการเข้าถึงแต่ละมณฑลของประเทศจีน เพราะประเทศจีนมีพื้นที่กว้างขวางและประชาชนมีจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
3) Commodities Base จะต้องมีการศึกษาถึงสินค้าทั้งด้านเกษตร , เกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม ว่าประเภทใดมีศักยภาพที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดของประเทศจีน และสินค้าประเภทใดที่ไทยอาจสูญเสียตลาด ทั้งในประเทศและชายแดน ซึ่งประเด็นนี้จะทำเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกและเชิงรับ และควรมีการจัดทำวิจัยเชิงลึก ออกมาเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการของไทยได้ทราบ
4) Distribution Model ต้องมีการศึกษาแนววิธีในการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดจีน ซึ่งไม่ใช่หมายถึง เพียงแต่การขนส่ง แต่หมายถึงระบบการจัดส่งและส่งมอบแบบ Door to Door ซึ่งประเทศจีนมีระบบศุลกากร และการคำนวณภาษี ซึ่งยังไม่เป็นสากล รวมทั้ง ยังมีระบบ NTB ทั้งที่เป็นรูปแบบและไม่เป็นรูปแบบ ซึ่งการเข้าถึงตลาดจีนเป็นสิ่งที่ยากที่สุด
ความสำเร็จของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ จะต้องเชื่อมโยงให้เกิดเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมชายแดน รวมทั้ง เขตปลอดภาษีและคนงานต่างด้าว (นอกโควต้า) ให้สามารถเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมชายแดนแบบเช้าไป-เย็นกลับ โดยประเด็นของการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างเสรี ภายใต้ข้อจำกัดของระเบียบด้านความมั่นคง จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเข้ามาในบริเวณอำเภอเชียงของ เนื่องจากยังมีอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งยังไม่พร้อมจะไปลงทุนเต็มรูปแบบในประเทศเพื่อนบ้าน แต่จะเป็นการใช้ศักยภาพเช่นด้านแรงงาน โดยนำวัตถุดิบไปประกอบ บรรจุ เช่น สิ่งทอ เพื่อผลิตเป็น Semi-Finished Goods แล้วนำกลับมาในประเทศไทย เพื่อมาผลิตในขั้นสุดท้าย
|
||||
|
||||
แผนการตลาดศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ Shareแผนการตลาดศูนย์กระจายสินค้าเชียงของนำเสนอประทรวงคมนาคม โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP 7 มกราคม 2552 การศึกษายุทธศาสตร์ด้านการตลาดของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ จะต้องเข้าใจในฐานะเป็นเส้นทางเลือกของการขนส่งทางแม่น้ำโขง โดยมีท่าเรือเชียงแสนเป็น Gateway สำหรับศูนย์กระจายสินค้าเชียงของจะเป็น Gateway ของการขนส่งทางบกในการเชื่อมโยงกับประเทศจีนทางถนน ดังนั้น จะต้องทำความเข้าใจสถานะของเส้นทาง R3E ว่าไม่ใช่เป็นเพียงถนนที่เชื่อมโยงกับประเทศจีน แต่จะต้องเข้าใจถึงสถานะที่เป็นเส้นทางการค้าในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง ลักษณะการปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างไทย กับประเทศจีน เนื่องจากเส้นทาง R3E ไม่ใช่มีปลายทางอยู่ที่ชายแดนของ สปป.ลาว แต่เป็นเส้นทางที่มีจุดหมายปลายทางสู่จีน ความสัมฤทธิ์ผลของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของจึงไม่ควรให้ความสำคัญเพียงโครงสร้างพื้นฐาน แต่จะต้องให้ความสำคัญของเครือข่ายที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางขนส่งสินค้าไทยกับจีนตอนใต้ ภายใต้เส้นทางระเบียงเหนือ-ใต้ R3E จึงต้องมีความชัดเจนของแผน เป้าหมาย ผลลัพธ์ และมียุทธศาสตร์ ในฐานะ เป็นเส้นทางที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor Link) กับประเทศจีน ซึ่งมีนครคุนหมิงเป็นศูนย์กลางของจีนภาคใต้ กับภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้ ศูนย์กระจายสินค้าเชียงของจะรองรับสินค้าภายใต้เป็นเส้นทาง New Trade Lane คือเป็นเส้นทางการค้าใหม่ทางถนนของประเทศจีน เพราะจะเป็นเส้นทางหลักของไทยที่สั้นที่สุดที่จะเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนไปประเทศจีนตอนใต้ ด้วยระยะทาง ระยะทางของเส้นทาง R3E จากกรุงเทพ คุนหมิง (ที่มา : จากเอกสารการประชุม GMS) ความสัมฤทธิ์ผลเชิงพาณิชของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ การวางยุทธศาสตร์ด้านการตลาดของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ จะเกี่ยวข้องกับการเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายพาหนะขนส่งของรถบรรทุกระหว่างไทยกับรถบรรทุกของประเทศจีน ในลักษณะที่เป็น ICD และเป็น CY Yard คือเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายพาหนะขนส่งจากไทยไปจีนและจากจีนมาไทย โดยเป็นการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมแบบ Co-Production และเขตอุตสาหกรรมชายแดน จำเป็นจะต้องมีสถานที่รองรับสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์และสินค้าประเภท Bulk Cargoes มีการจัดพื้นที่เขตปลอดภาษี (Free Zone) รองรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนที่เป็น Transshipment ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ Hard Ware และ Infrastructure โดยกรมขนส่งทางบกน่าจะเข้ามาเป็นเจ้าภาพบริหารจัดการ โดยอาจใช้ต้นแบบ ICD ลาดกระบัง อย่างไรก็ดี การวางยุทธศาสตร์ศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ ในฐานะเป็นเส้นทางขนส่งและกระจายสินค้าของภูมิภาค จะต้องกำหนดแผนงานด้านการตลาดร่วมกับแผนงานด้านโลจิสติกส์และการบูรณาการ โครงสร้างพื้นที่คมนาคมขนส่งทุกโหมด เพื่อให้เกิดการ Shift Mode ทั้งที่มีอยู่แล้วและโครงการในอนาคต โดยการเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังและสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งระบบการขนส่งทางราง เพื่อให้สามารถต่อยอดเชื่อมโยงกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ซึ่งจะสร้างเสร็จในปี 2554 ทั้งนี้ จะต้องนำเส้นทาง East-West Economic Corridor ทั้งด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตากและสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด โดยให้เชื่อมโยงกับแผนย่อยดังนี้ 1) New Trade Lane เส้นทางการกระจายสินค้าส่งออกของไทยไปสู่ตลาดจีน ประเด็นสำคัญคือ สินค้าของไทยรายการใดบ้าง ซึ่งมีศักยภาพในด้านต้นทุนและรูปแบบในการเข้าสู่ตลาดจีน 2) Area Base มีการศึกษาถึงกฎเกณฑ์และข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคของจุดหมายปลายทาง (Destination Focus) โดยศึกษาทั้งในระดับแขวงของ สปป. ลาว และในการเข้าถึงแต่ละมณฑลของประเทศจีน เพราะประเทศจีนมีพื้นที่กว้างขวางและประชาชนมีจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง 3) Commodities Base จะต้องมีการศึกษาถึงสินค้าทั้งด้านเกษตร , เกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม ว่าประเภทใดมีศักยภาพที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดของประเทศจีน และสินค้าประเภทใดที่ไทยอาจสูญเสียตลาด ทั้งในประเทศและชายแดน ซึ่งประเด็นนี้จะทำเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกและเชิงรับ และควรมีการจัดทำวิจัยเชิงลึก ออกมาเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการของไทยได้ทราบ 4) Distribution Model ต้องมีการศึกษาแนววิธีในการกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดจีน ซึ่งไม่ใช่หมายถึง เพียงแต่การขนส่ง แต่หมายถึงระบบการจัดส่งและส่งมอบแบบ Door to Door ซึ่งประเทศจีนมีระบบศุลกากร และการคำนวณภาษี ซึ่งยังไม่เป็นสากล รวมทั้ง ยังมีระบบ NTB ทั้งที่เป็นรูปแบบและไม่เป็นรูปแบบ ซึ่งการเข้าถึงตลาดจีนเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ความสำเร็จของศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ จะต้องเชื่อมโยงให้เกิดเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมชายแดน รวมทั้ง เขตปลอดภาษีและคนงานต่างด้าว (นอกโควต้า) ให้สามารถเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมชายแดนแบบเช้าไป-เย็นกลับ โดยประเด็นของการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างเสรี ภายใต้ข้อจำกัดของระเบียบด้านความมั่นคง จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเข้ามาในบริเวณอำเภอเชียงของ เนื่องจากยังมีอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งยังไม่พร้อมจะไปลงทุนเต็มรูปแบบในประเทศเพื่อนบ้าน แต่จะเป็นการใช้ศักยภาพเช่นด้านแรงงาน โดยนำวัตถุดิบไปประกอบ บรรจุ เช่น สิ่งทอ เพื่อผลิตเป็น Semi-Finished Goods แล้วนำกลับมาในประเทศไทย เพื่อมาผลิตในขั้นสุดท้าย ไฟล์ประกอบ : 001-2009.pdf อ่าน : 4230 ครั้ง วันที่ : 13/01/2009 |
||||
|