โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
15 ตุลาคม 2551
วิกฤติการเงินของสหรัฐฯ ได้แพร่ระบาดกลายเป็นวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจของโลกที่เรียกว่า Global Credit Crunch ทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งในยุโรป อังกฤษ และญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ เช่น การที่ธนาคาร Halifax Bank of Scotland : SBOS ต้องควบรวมกับธนาคารของอังกฤษ และในประเทศเยอรมันต้องอัดฉีดสภาพคล่องกว่า 50,000 ล้านยูโร ให้กับธนาคาร ไฮโป เรียลเอสเตท และรัฐบาลของเยอรมันต้องออกมาประกันเงินฝากทั้งระบบกว่า 6.93 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับผู้ฝากธนาคารเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ได้อัดฉีดเข้าสู่ระบบสภาพคล่องกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประเมินกันว่าเฉพาะในยุโรปอาจต้องมีการอัดฉีดกว่า 350,000 ล้านยูโร ในช่วงต้นเดือนตุลาคม ได้มีการประชุมประเทศในกลุ่ม G7 เพื่อวางมาตรการการรับมือกับวิกฤติทางการเงินที่ลุกลามเข้าไปในตลาดหุ้น ที่เรียกว่า Black Friday (วันที่ 10 ตุลาคม) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงกว่า 30-40% ผลของข้อตกลง G7 ซึ่งประกอบด้วย ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อิตาลี , เยอรมัน , ฝรั่งเศส , อังกฤษ รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินที่มีปัญหา โดยการค้ำประกันเงินฝากและปล่อยเงินกู้ให้กับสถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่อง ผลของข้อตกลงทำให้หลายประเทศต่างออกมาตรการในการรับมือไม่ให้วิกฤติการเงินไม่ให้แพร่กระจายไปมากกว่านี้ อาทิเช่น รัฐบาลอังกฤษอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องและประกันเงินฝากด้วยเงิน 691,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ , รัฐบาลเยอรมันใช้เงิน 400,000 ล้านยูโร ส่วนประเทศญี่ปุ่นใช้เงินอัดฉีดสภาพคล่องประมาณ 29.5 ล้านล้านเยน รวมทั้ง ประเทศไทยก็มีการออก 6 มาตรการวงเงิน 1.22 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ประเทศเกาหลี ซึ่งได้รับผลกระทบ มีการตั้งกองทุนเอเชีย 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ข้อตกลงของประเทศ G7เป็นการนำทุนสำรองของแต่ละประเทศมาอัดฉีดสภาพคล่องสถาบันการเงินเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืน
ในกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาได้มีการออกกฎหมาย เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินที่มีปัญหา ที่เรียกว่า Emergency Economic Stabilization หรือ กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจฉุกเฉินด้านการเงิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาถึง 2 รอบ จึงสามารถผ่านสภาคองเกรส สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ จะเป็นการอัดฉีดเงิน 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซื้อหุ้นของสถาบันการเงินที่มีปัญหา ด้วยวิธี Asset Financing โดยให้กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) สามารถนำเงินเข้าไปอัดฉีดสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในการเข้าไปซื้อหุ้นหรือเข้าไปอัดฉีดในสถาบันการเงินที่มีปัญหา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ถือหุ้นและจะได้บุริมสิทธิ์ในฐานะเงินปันผล และในกรณีการขาดทุนจะได้รับการขาดทุนเป็นรายหลังสุด โดยรัฐสภาจะเป็นผู้กำกับดูแลโครงการ โดยจะมีส่วนแบ่งกำไรในกรณีที่สถาบันการเงืนฟื้นตัวให้กับผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐฯ ทั้งนี้ กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า Rescue Law ได้รับการวิพากษ์ว่าใช้เม็ดเงินเข้าไปซื้อหุ้นในสถาบันการเงิน ที่มีปัญหา อาจไม่เพียงพอ เพราะคาดว่าผลกระทบของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ อาจจะใช้เงินมากกว่า 1.8 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากยังมีสถาบันการเงินอีกนับเป็นร้อยแห่งของสหรัฐฯ ที่มีสินทรัพย์ที่เสื่อมราคา (Asset Price Inflation) แต่ไม่ได้อยู่ในแผนฟื้นฟู ซึ่งโดยส่วนใหญ่เน้นไปให้ในตลาดทุนในตลาดนิวยอร์ก แต่ผลกระทบได้ลามไปถึงหลายรัฐทั่วประเทศ
ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูได้รับการวิพากษ์ว่าแนวทางแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะเน้นเข้าไปซื้อหนี้และเข้าไปถือหุ้นในบางบริษัท คือเป็น Asset Financing แต่ไม่ได้เข้าไปผ่าตัดทั้งระบบ รวมถึงการลดทุน เหมือนกับที่ IMF ได้เคยทำกับประเทศไทย และมองว่าเข้าไปช่วยเหลือเฉพาะในสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับผู้นำของรัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนของสหรัฐฯไม่ค่อยพอใจกับแผนฟื้นฟูครั้งนี้มากนัก นอกจากนี้ ประเทศ G7 ต้องออกมาตรการด้วยการพร้อมใจกันอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างขนาดใหญ่จนทำให้สถานการณ์ ช่วงวันที่ 13 ตุลาคม ตลาดหุ้นจึงเริ่มกลับมาแนวบวก อย่างไรก็ดี แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ G7 ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับตลาดหุ้นได้มากนัก โดยในช่วง 2-3 วันแรกราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างแรงก่อนที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ก็เป็นระยะที่สั้นเกินไปที่จะบอกว่าการอัดฉีดเงินของสหรัฐฯและประเทศ G7 จะเป็นผลให้วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินของโลกยุติลง ได้ผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดแล้วหรือยัง
************
|
||||
|
||||
วิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา..จะทำให้เศรษฐกิจโลกสู่ยุคถดถอยหรือไม่ Shareวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา..จะทำให้เศรษฐกิจโลกสู่ยุคถดถอยหรือไม่ โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15 ตุลาคม 2551 วิกฤติการเงินของสหรัฐฯ ได้แพร่ระบาดกลายเป็นวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจของโลกที่เรียกว่า Global Credit Crunch ทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งในยุโรป อังกฤษ และญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ เช่น การที่ธนาคาร Halifax Bank of Scotland : SBOS ต้องควบรวมกับธนาคารของอังกฤษ และในประเทศเยอรมันต้องอัดฉีดสภาพคล่องกว่า 50,000 ล้านยูโร ให้กับธนาคาร ไฮโป เรียลเอสเตท และรัฐบาลของเยอรมันต้องออกมาประกันเงินฝากทั้งระบบกว่า 6.93 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับผู้ฝากธนาคารเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ได้อัดฉีดเข้าสู่ระบบสภาพคล่องกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประเมินกันว่าเฉพาะในยุโรปอาจต้องมีการอัดฉีดกว่า 350,000 ล้านยูโร ในช่วงต้นเดือนตุลาคม ได้มีการประชุมประเทศในกลุ่ม G7 เพื่อวางมาตรการการรับมือกับวิกฤติทางการเงินที่ลุกลามเข้าไปในตลาดหุ้น ที่เรียกว่า Black Friday (วันที่ 10 ตุลาคม) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงกว่า 30-40% ผลของข้อตกลง G7 ซึ่งประกอบด้วย ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อิตาลี , เยอรมัน , ฝรั่งเศส , อังกฤษ รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินที่มีปัญหา โดยการค้ำประกันเงินฝากและปล่อยเงินกู้ให้กับสถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่อง ผลของข้อตกลงทำให้หลายประเทศต่างออกมาตรการในการรับมือไม่ให้วิกฤติการเงินไม่ให้แพร่กระจายไปมากกว่านี้ อาทิเช่น รัฐบาลอังกฤษอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องและประกันเงินฝากด้วยเงิน 691,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ , รัฐบาลเยอรมันใช้เงิน 400,000 ล้านยูโร ส่วนประเทศญี่ปุ่นใช้เงินอัดฉีดสภาพคล่องประมาณ 29.5 ล้านล้านเยน รวมทั้ง ประเทศไทยก็มีการออก 6 มาตรการวงเงิน 1.22 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ประเทศเกาหลี ซึ่งได้รับผลกระทบ มีการตั้งกองทุนเอเชีย 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ข้อตกลงของประเทศ G7เป็นการนำทุนสำรองของแต่ละประเทศมาอัดฉีดสภาพคล่องสถาบันการเงินเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืน ในกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาได้มีการออกกฎหมาย เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินที่มีปัญหา ที่เรียกว่า Emergency Economic Stabilization หรือ กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจฉุกเฉินด้านการเงิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาถึง 2 รอบ จึงสามารถผ่านสภาคองเกรส สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ จะเป็นการอัดฉีดเงิน 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซื้อหุ้นของสถาบันการเงินที่มีปัญหา ด้วยวิธี Asset Financing โดยให้กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) สามารถนำเงินเข้าไปอัดฉีดสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในการเข้าไปซื้อหุ้นหรือเข้าไปอัดฉีดในสถาบันการเงินที่มีปัญหา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ถือหุ้นและจะได้บุริมสิทธิ์ในฐานะเงินปันผล และในกรณีการขาดทุนจะได้รับการขาดทุนเป็นรายหลังสุด โดยรัฐสภาจะเป็นผู้กำกับดูแลโครงการ โดยจะมีส่วนแบ่งกำไรในกรณีที่สถาบันการเงืนฟื้นตัวให้กับผู้เสียภาษีของประเทศสหรัฐฯ ทั้งนี้ กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า Rescue Law ได้รับการวิพากษ์ว่าใช้เม็ดเงินเข้าไปซื้อหุ้นในสถาบันการเงิน ที่มีปัญหา อาจไม่เพียงพอ เพราะคาดว่าผลกระทบของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ อาจจะใช้เงินมากกว่า 1.8 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากยังมีสถาบันการเงินอีกนับเป็นร้อยแห่งของสหรัฐฯ ที่มีสินทรัพย์ที่เสื่อมราคา (Asset Price Inflation) แต่ไม่ได้อยู่ในแผนฟื้นฟู ซึ่งโดยส่วนใหญ่เน้นไปให้ในตลาดทุนในตลาดนิวยอร์ก แต่ผลกระทบได้ลามไปถึงหลายรัฐทั่วประเทศ ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูได้รับการวิพากษ์ว่าแนวทางแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะเน้นเข้าไปซื้อหนี้และเข้าไปถือหุ้นในบางบริษัท คือเป็น Asset Financing แต่ไม่ได้เข้าไปผ่าตัดทั้งระบบ รวมถึงการลดทุน เหมือนกับที่ IMF ได้เคยทำกับประเทศไทย และมองว่าเข้าไปช่วยเหลือเฉพาะในสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับผู้นำของรัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนของสหรัฐฯไม่ค่อยพอใจกับแผนฟื้นฟูครั้งนี้มากนัก นอกจากนี้ ประเทศ G7 ต้องออกมาตรการด้วยการพร้อมใจกันอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างขนาดใหญ่จนทำให้สถานการณ์ ช่วงวันที่ 13 ตุลาคม ตลาดหุ้นจึงเริ่มกลับมาแนวบวก อย่างไรก็ดี แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ G7 ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับตลาดหุ้นได้มากนัก โดยในช่วง 2-3 วันแรกราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างแรงก่อนที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ก็เป็นระยะที่สั้นเกินไปที่จะบอกว่าการอัดฉีดเงินของสหรัฐฯและประเทศ G7 จะเป็นผลให้วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินของโลกยุติลง ได้ผ่านจุดที่เลวร้ายที่สุดแล้วหรือยัง ************ ไฟล์ประกอบ : 184-วิกฤติการเงินสหรัฐอเมริกา.pdf อ่าน : 2965 ครั้ง วันที่ : 21/10/2008 |
||||
|