โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
15 ตุลาคม 2551
ในช่วงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 ครม.ได้อนุมัติมาตรการในการเสริมสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ มีมูลค่ากว่า 1.22 ล้านบาท เป็นมาตรการแบบเบ็ดเสร็จในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกแผ่ขยาย ส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงและพึ่งพิงกับเศรษฐกิจและการเงินของโลก ซึ่งมาตรการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะมีความกังขา ว่าจะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจของไทยได้หรือไม่ แต่ก็ถือว่าเป็นมารตรการที่ดี ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากการผลักดันของสภาอุตสาหกรรมฯ ถึงแม้จะมีการวิจารณ์ว่ามาตรการดังกล่าวให้น้ำหนักไปทางตลาดหุ้นมากกว่าที่จะเข้าไปช่วยเหลือภาคการผลิต ซึ่งเป็น Real Sector อย่างไรก็ตาม มาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลก็ยังมีส่วนดีอยู่มาก และออกมาในจังหวะซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศ ซึ่งได้ออกมาตรการในการหยุดยั้งไม่ให้วิกฤติครั้งนี้ลุกลามขยายวงนำไปสู่การถดถอยของเศรษฐกิจโลก
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบด้วย (1) มาตรการอัดฉีดตลาดทุน 142,000 ล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนเพื่อเข้าซื้อหุ้นที่มีปัญหา รวมถึงการทำ Matching Finance และการขยายเงินลงทุนในกองทุนเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาว (LTF) เป็นมาตรการที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเข้าไปอุ้มเสริมสภาพคล่องของตลาดหุ้น หุ้นจะขึ้นหรือลงจึงขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาของสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ G7 มาตรการนี้จึงเป็นเพียงแง่เชิงจิตวิทยา (2) สำหรับมาตรการทางด้านสินเชื่อและเสริมสภาพคล่อง 400,000 ล้านบาท เป็นการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ขยายวงเงินสินเชื่อ 5% เป็นมาตรการที่จะเสริมสภาพคล่องในระบบของสถาบันการเงิน แต่ประเด็นก็คือ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งของโลกและของประเทศไทย คงจะรอเวลาไปถึงต้นปีหน้า ขณะที่สถาบันการเงินก็จะมีความเข้มงวดและมีกฎเกณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าปกติ ดังนั้น เม็ดเงินที่จะเข้าสู่ภาคการผลิตที่แท้จริงคงไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนี้ (3) มาตรการเร่งรัดการส่งออกงบประมาณ 300,000 ล้านบาทและส่งเสริมการท่องเที่ยวงบประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งในด้านท่องเที่ยวหากจะใช้งบประมาณนี้คงจะต้องเน้นการสร้างภาพลักษณ์ และกิจกรรมในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งหากภาพลักษณ์ของไทยในปัจจุบันติดอยู่กับปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ในช่วง 2-3 เดือนนี้ คงไม่ได้จังหวะที่เหมาะสมจนกว่าภาคการเมืองจะมีความชัดเจน ไม่เช่นนั้นงบประมาณที่ใช้ก็จะเสียเปล่า ทั้งนี้ การอัดฉีดสินเชื่อเพื่อการส่งออกในการขยายตลาดส่งออกใหม่ เช่น รัสเซีย , ออฟริกา , ละติน ถึงแม้เปอร์เซ็นต์ขยายตัวจะสูง แต่สัดส่วนในเชิงปริมาณก็ยังไม่มากพอที่จะรักษาการเติบโตของภาคการส่งออกไทยให้เหมือนในปี 2551 ซึ่งเห็นได้จากกระทรวงพาณิชย์ได้มีการลดเป้าการส่งออกในปี 2552 ซึ่งเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 โดยปรับเป้าใหม่เหลือเพียงร้อยละ 10
สำหรับ (4) มาตรการกระตุ้นการบริโภค ด้วยมาตรการเร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 180,000 ล้านบาท ผ่านช่องทางกองทุนหมู่บ้าน SML และ OTOP เป็นลักษณะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านลงไปในภาคประชาชนในชนบทโดยตรง แต่ภายใต้ความระมัดระวังของข้าราชการประจำซึ่งมองว่าเสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง การใช้จ่ายเงินคงไม่สามารถทำได้เร็วนัก (5) สำหรับมาตรการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เป็นเมกะโปรเจกต์เป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว โดยให้มีงบลงทุนเพิ่มอีก 100,000 ล้านบาท โดยเป็นโครงการขนส่งมวลชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งรัฐจะเร่งรัดให้มีการเปิดประมูล แต่ภายใต้ความไม่มั่นคงของรัฐบาล อาจทำให้หลายโครงการต้องชะลอตัวไปจนถึงรัฐบาลหน้า ซึ่งมองไกลไปถึงการเลือกตั้งในช่วง 2-3 เดือนเป็นอย่างช้า ฉะนั้น มาตรการนี้คงไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคให้ฟื้นตัวได้ในทันที มาตรการสุดท้าย ซึ่งไม่ค่อยเป็นรูปธรรม คือ (6) การเข้าร่วมโครงการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาสภาพคล่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศต่างๆในภูมิภาค ซึ่งมาตรการนี้เป็นแนวคิดของฟิลิปปินส์ คงจะต้องมีการตกลงและมีรายละเอียดที่มากกว่านี้จึงจะสามารถเป็นรูปธรรม
จากมาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลที่ออกมา ซึ่งหลายฝ่ายยังกังขาว่าเป็นการช่วยเหลือตลาดหุ้น ซึ่งไม่ใช่ Real Sector สำหรับมาตรการสภาพคล่อง ซึ่งให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อ หากเป็นลูกค้าชั้นดีทางธนาคารก็แข่งกันปล่อยอยู่แล้ว ประเด็นจึงอยู่ที่ธุรกิจ และ SMEs (บางกลุ่ม) ซึ่งไม่อยู่ในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับด้านหลักประกัน การอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องก็อาจไม่ขับเคลื่อนตามทิศทางที่รัฐบาลอยากจะให้เป็น อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจของไทยมากที่สุดในขณะนี้ จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศมากกว่าปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกและหรือปัญหาความตึงเครียดทางชายแดนไทย-กัมพูชา วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นลักษณะวิกฤติซ้อนวิกฤติ ซึ่งวิกฤติทางการเมืองก็ยิ่งทำให้ขาดความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและนักลงทุน รวมถึงผู้บริโภคในการชะลอการใช้จ่ายเงิน
**********
|
||||
|
||||
วิพากษ์ 6 มาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย Shareวิพากษ์ 6 มาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15 ตุลาคม 2551 ในช่วงวันที่ 14 ตุลาคม 2551 ครม.ได้อนุมัติมาตรการในการเสริมสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ มีมูลค่ากว่า 1.22 ล้านบาท เป็นมาตรการแบบเบ็ดเสร็จในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกแผ่ขยาย ส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงและพึ่งพิงกับเศรษฐกิจและการเงินของโลก ซึ่งมาตรการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะมีความกังขา ว่าจะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจของไทยได้หรือไม่ แต่ก็ถือว่าเป็นมารตรการที่ดี ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากการผลักดันของสภาอุตสาหกรรมฯ ถึงแม้จะมีการวิจารณ์ว่ามาตรการดังกล่าวให้น้ำหนักไปทางตลาดหุ้นมากกว่าที่จะเข้าไปช่วยเหลือภาคการผลิต ซึ่งเป็น Real Sector อย่างไรก็ตาม มาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลก็ยังมีส่วนดีอยู่มาก และออกมาในจังหวะซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศ ซึ่งได้ออกมาตรการในการหยุดยั้งไม่ให้วิกฤติครั้งนี้ลุกลามขยายวงนำไปสู่การถดถอยของเศรษฐกิจโลก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบด้วย (1) มาตรการอัดฉีดตลาดทุน 142,000 ล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนเพื่อเข้าซื้อหุ้นที่มีปัญหา รวมถึงการทำ Matching Finance และการขยายเงินลงทุนในกองทุนเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการลงทุนระยะยาว (LTF) เป็นมาตรการที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเข้าไปอุ้มเสริมสภาพคล่องของตลาดหุ้น หุ้นจะขึ้นหรือลงจึงขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาของสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ G7 มาตรการนี้จึงเป็นเพียงแง่เชิงจิตวิทยา (2) สำหรับมาตรการทางด้านสินเชื่อและเสริมสภาพคล่อง 400,000 ล้านบาท เป็นการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ขยายวงเงินสินเชื่อ 5% เป็นมาตรการที่จะเสริมสภาพคล่องในระบบของสถาบันการเงิน แต่ประเด็นก็คือ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งของโลกและของประเทศไทย คงจะรอเวลาไปถึงต้นปีหน้า ขณะที่สถาบันการเงินก็จะมีความเข้มงวดและมีกฎเกณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าปกติ ดังนั้น เม็ดเงินที่จะเข้าสู่ภาคการผลิตที่แท้จริงคงไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากนี้ (3) มาตรการเร่งรัดการส่งออกงบประมาณ 300,000 ล้านบาทและส่งเสริมการท่องเที่ยวงบประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งในด้านท่องเที่ยวหากจะใช้งบประมาณนี้คงจะต้องเน้นการสร้างภาพลักษณ์ และกิจกรรมในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งหากภาพลักษณ์ของไทยในปัจจุบันติดอยู่กับปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ในช่วง 2-3 เดือนนี้ คงไม่ได้จังหวะที่เหมาะสมจนกว่าภาคการเมืองจะมีความชัดเจน ไม่เช่นนั้นงบประมาณที่ใช้ก็จะเสียเปล่า ทั้งนี้ การอัดฉีดสินเชื่อเพื่อการส่งออกในการขยายตลาดส่งออกใหม่ เช่น รัสเซีย , ออฟริกา , ละติน ถึงแม้เปอร์เซ็นต์ขยายตัวจะสูง แต่สัดส่วนในเชิงปริมาณก็ยังไม่มากพอที่จะรักษาการเติบโตของภาคการส่งออกไทยให้เหมือนในปี 2551 ซึ่งเห็นได้จากกระทรวงพาณิชย์ได้มีการลดเป้าการส่งออกในปี 2552 ซึ่งเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 โดยปรับเป้าใหม่เหลือเพียงร้อยละ 10 สำหรับ (4) มาตรการกระตุ้นการบริโภค ด้วยมาตรการเร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 180,000 ล้านบาท ผ่านช่องทางกองทุนหมู่บ้าน SML และ OTOP เป็นลักษณะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านลงไปในภาคประชาชนในชนบทโดยตรง แต่ภายใต้ความระมัดระวังของข้าราชการประจำซึ่งมองว่าเสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง การใช้จ่ายเงินคงไม่สามารถทำได้เร็วนัก (5) สำหรับมาตรการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เป็นเมกะโปรเจกต์เป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว โดยให้มีงบลงทุนเพิ่มอีก 100,000 ล้านบาท โดยเป็นโครงการขนส่งมวลชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งรัฐจะเร่งรัดให้มีการเปิดประมูล แต่ภายใต้ความไม่มั่นคงของรัฐบาล อาจทำให้หลายโครงการต้องชะลอตัวไปจนถึงรัฐบาลหน้า ซึ่งมองไกลไปถึงการเลือกตั้งในช่วง 2-3 เดือนเป็นอย่างช้า ฉะนั้น มาตรการนี้คงไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคให้ฟื้นตัวได้ในทันที มาตรการสุดท้าย ซึ่งไม่ค่อยเป็นรูปธรรม คือ (6) การเข้าร่วมโครงการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาสภาพคล่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศต่างๆในภูมิภาค ซึ่งมาตรการนี้เป็นแนวคิดของฟิลิปปินส์ คงจะต้องมีการตกลงและมีรายละเอียดที่มากกว่านี้จึงจะสามารถเป็นรูปธรรม จากมาตรการทั้ง 6 ของรัฐบาลที่ออกมา ซึ่งหลายฝ่ายยังกังขาว่าเป็นการช่วยเหลือตลาดหุ้น ซึ่งไม่ใช่ Real Sector สำหรับมาตรการสภาพคล่อง ซึ่งให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อ หากเป็นลูกค้าชั้นดีทางธนาคารก็แข่งกันปล่อยอยู่แล้ว ประเด็นจึงอยู่ที่ธุรกิจ และ SMEs (บางกลุ่ม) ซึ่งไม่อยู่ในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับด้านหลักประกัน การอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องก็อาจไม่ขับเคลื่อนตามทิศทางที่รัฐบาลอยากจะให้เป็น อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจของไทยมากที่สุดในขณะนี้ จะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศมากกว่าปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกและหรือปัญหาความตึงเครียดทางชายแดนไทย-กัมพูชา วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นลักษณะวิกฤติซ้อนวิกฤติ ซึ่งวิกฤติทางการเมืองก็ยิ่งทำให้ขาดความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและนักลงทุน รวมถึงผู้บริโภคในการชะลอการใช้จ่ายเงิน ********** ไฟล์ประกอบ : 183_วิพากษ์ 6 มาตรการ.pdf อ่าน : 3809 ครั้ง วันที่ : 21/10/2008 |
||||
|