ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันลดลง อาจเกิดจากปัจจัยดังนี้
1. ความต้องการน้ำมันของโลกมีการชะลอตัวอันเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาลงและประเทศผู้ใช้น้ำมันมีมาตรการประหยัดพลังงานและหันไปใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น
2. กองทุน Hedge Fund อยู่ระหว่างการไถ่ถอนเงินและการปรับฐานการลงทุน
3. ปริมาณการใช้ลดจากปัญหาซัพไพร์มในสหรัฐฯ (รอบ 2) กลายเป็นปัญหา NPL ในระบบกว่า 4 แสนล้านดอลล่าร์ (13.2 ล้านล้านบาท) ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูอย่างน้อย 18 เดือน ทำให้มีความต้องการน้ำมันลดลงทั้งในสหรัฐฯและยุโรป
4. ความต้องการใช้ดีเซลในตลาดจีน , อินเดีย และเวียดนามลดลง โดยเฉพาะประเทศจีนหันไปถ่านหินมากขึ้น โดยการใช้พลังงานจากถ่านหินของจีนและอินเดีย รวมกันคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของโลก
5. นักเก็งกำไรวิตกกังวล มาตรการ Paper Trade ของพรรคเดโมแครต ที่จะออกมา (หากชนะเลือกตั้ง) เพื่อสกัดการเก็งกำไรของตราสารน้ำมัน
6. ราคาน้ำมัน (ดีเซล) ขายปลีกของไทยที่ลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิต ลิตรละ 2.30 และเงินสมทบกองทุนน้ำมัน
7. กลุ่มโอเปคยังคงไม่มีการลดกำลังการผลิตจนกว่าราคาน้ำมันดิบ ไปอยู่ที่ระดับราคา 80 USD/บาเรล
8. ภายใต้การคงอัตราดอกเบี้ย FED ไว้ที่ระดับ 2% ทำให้ทิศทางเงินดอลล่าร์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
ทิศทางของราคาน้ำมันตลาดโลกขาลง (5 ส.ค. 51)
ตลาด |
ก.ค.51 |
ส.ค. 51 |
ราคาลดลง USD/Barrel |
เปอร์เซ็นต์ % |
WTI |
140.97 |
119.17 |
21.8 |
15.46 |
เบรนท์ |
141.06 |
117.70 |
23.36 |
16.56 |
ดูไบ |
136.33 |
117.35 |
18.98 |
13.92 |
โอมาน |
136.95 |
117.69 |
19.26 |
14.06 |
ทาปิส |
148.46 |
128.55 |
19.91 |
13.41 |
ดีเซล |
171.38 |
139.36 |
32.02 |
18.69 |
|
|
|
|
|
ราคาน้ำมันที่มีการปรับลดลงในช่วงนี้ คงจะเป็นการเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่าวิกฤติราคาน้ำมันโลกได้ยุติแล้ว เพราะราคาน้ำมันโลกเพิ่งปรับลดลงในช่วงปลายเดือน กรกฎาคม ซึ่งเวลาเพียง 2 สัปดาห์ คงยากที่จะคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะกลับมาดีดตัวสูงขึ้นอีกหรือไม่ ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยเชิงลบดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เศรษฐกิจไทยจะยังคงมีความเสี่ยง จากราคาน้ำมันที่จะปรับสูงอีกหรือไม่จะต้องเข้าใจ ราคาน้ำมันที่ผ่านมาหนึ่งในสามเกิดจากการเก็งกำไรของกองทุน Hedge Fund ซึ่งจะมีการซื้อ-ขายน้ำมันในตลาด Spot Market โดยเฉพาะตลาด NYEX ซึ่งเป็นการซื้อ-ขายตราสารล่วงหน้าน้ำมัน ซึ่งจะต้องส่งมอบ 1 เดือน ซึ่งในช่วงนี้อยู่ในช่วงปรับพอร์ตการลงทุนและไถ่ถอนเงิน ซึ่งเกิดจากการแปรปรวนในตลาดอสังหาริมทรัพย์และ NPL ในภาคธนาคารของประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้ ปริมาณความต้องการน้ำมันจากประเทศจีน , อินเดีย , เกาหลี ยังคงมีอยู่ อีกทั้ง ต้นทุนในการขุดเจาะน้ำมันในปัจจุบันก็มีการปรับสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 60-80 USD/บาเรล ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังมีความอ่อนไหวไปตามเหตุการณ์ของโลก ทั้งในด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ , การนัดหยุดงานของโรงกลั่นน้ำมัน , ปัญหาด้านการเมืองของภูมิภาค โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง รวมถึง การอ่อนค่าของเงินสกุลสหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากความอ่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากปัญหา ซัพไพร์ม
ปัจจัยดังกล่าวล้วนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อวิกฤติราคาน้ำมันที่อาจจะยังกลับมา แต่หลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันโลกคงไม่กลับไปสูงเหมือนที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันจะไม่ทะลุเลยแนวรับที่ 100-105 เหรียญสหรัฐฯ หรืออาจไปอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล เนื่องจากเป็นความพยายามของประเทศซาอุดิอาระเบียที่ไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันโลกสูงเกินความพอดี ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลในระยะสั้นๆคงอยู่ที่ราคา 30-33 บาทต่อลิตร (ราคารวมภาษีสรรพสามิตและเงินสมทบกองทุน) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็คงต้องอยู่ภายใต้สภาวะความเสี่ยงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ชะลอตัวในอัตราที่สูงกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิกฤติราคาน้ำมันจบแล้วหรือยัง Shareดังที่ทราบว่าประเทศไทยเข้าสู่ยุค ข้าวยากหมากแพง โดยต้นเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันที่มีการปรับสูงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว จนโลกได้เข้าสู่ยุค Oil Crisis วิกฤติพลังงานของประเทศไทยรุนแรงขนาดไหนจะต้องเปรียบเทียบจากราคาน้ำมันในปี 2550 ซึ่งในปีที่แล้วราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 55-60 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล โดยในช่วงมกราคม 2550 ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งถือเป็นน้ำมันเศรษฐกิจอยู่ที่ลิตรละ 22.94 บาท โดยช่วงปลายปีราคาน้ำมันไปสู่ที่ 28.90 ต่อลิตร ปรับขึ้นทั้งปี 6 บาท คิดเป็นร้อยละ 26.15 ผลกระทบด้านเงินเฟ้อในปีที่แล้วยังไม่ค่อยชัดเจน โดยเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.9 2.2 สำหรับในปี 2551 ราคาน้ำมันดิบในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันดูไบอยู่ที่ร้อยละ 139 เรียญต่อบาเรล และน้ำมันทาปิสอยู่ที่ 152 เหรียญต่อบาเรล โดยในช่วงเพียง 6 เดือนเศษ ราคาน้ำมันปรับไปถึง 30 ครั้งเป็นเงินถึง 15.34 บาทต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 53.07 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงต้นเดือนสิงหาคม (5 ส.ค. 51) มีการปรับตัวลงไปอย่างมาก โดยราคาน้ำมัน WTI ปรับลดลงจากเดือนกรกฎาคม ที่ราคา 140.97 USD เหลือ 119.17 USD/บาเรล และน้ำมันตลาดดูไบปรับลดเหลือ 117.35 USD/บาเรล ซึ่งทั้ง 2 ตลาดในช่วงสองสัปดาห์เท่านั้นราคาน้ำมันลดลงเฉลี่ย 20.39 USD/บาเรล หรือคิดเป็นร้อยละ 14.69 สำหรับน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นต้นทุนของภาคขนส่งราคาน้ำมันได้ปรับราคาลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 ที่ 171.38 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล โดยในเดือนสิงหาคม ราคาน้ำมันดีเซลได้ลดเหลือ 139.36 เหรียญสหรัฐฯ (5 ส.ค. 51) ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลที่ลดลง 1 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล จะมีผลต่อราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกประมาณลิตรละ 0.21 สตางต์ (1 Barrel = 158.98 liter) ทั้งนี้ ทิศทางราคาน้ำมันจากนี้คงไปในขาลง แต่จะเห็นราคาน้ำมันต่ำกว่า 100 USD/บาเรล คงจะเป็นเรื่องยาก เพราะความต้องการน้ำมันของประเทศจีน , เกาหลี , อินเดีย ยังมีกำลังซื้อ และโดยภาพรวมอุปทานน้ำมันของโลกในปี 2010 ยังติดลบอยู่ที่ร้อยละ 2.83 อีกทั้ง ราคาน้ำมันยังมีความอ่อนไหวจากวิกฤติทางการเมืองของภูมิภาคและจากการเก็งกำไร ซึ่งคงจะกลับมาทำกำไรหลังจากการปรับฐานด้านการเงิน ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันลดลง อาจเกิดจากปัจจัยดังนี้ 1. ความต้องการน้ำมันของโลกมีการชะลอตัวอันเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาลงและประเทศผู้ใช้น้ำมันมีมาตรการประหยัดพลังงานและหันไปใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น 2. กองทุน Hedge Fund อยู่ระหว่างการไถ่ถอนเงินและการปรับฐานการลงทุน 3. ปริมาณการใช้ลดจากปัญหาซัพไพร์มในสหรัฐฯ (รอบ 2) กลายเป็นปัญหา NPL ในระบบกว่า 4 แสนล้านดอลล่าร์ (13.2 ล้านล้านบาท) ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูอย่างน้อย 18 เดือน ทำให้มีความต้องการน้ำมันลดลงทั้งในสหรัฐฯและยุโรป 4. ความต้องการใช้ดีเซลในตลาดจีน , อินเดีย และเวียดนามลดลง โดยเฉพาะประเทศจีนหันไปถ่านหินมากขึ้น โดยการใช้พลังงานจากถ่านหินของจีนและอินเดีย รวมกันคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของโลก 5. นักเก็งกำไรวิตกกังวล มาตรการ Paper Trade ของพรรคเดโมแครต ที่จะออกมา (หากชนะเลือกตั้ง) เพื่อสกัดการเก็งกำไรของตราสารน้ำมัน 6. ราคาน้ำมัน (ดีเซล) ขายปลีกของไทยที่ลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิต ลิตรละ 2.30 และเงินสมทบกองทุนน้ำมัน 7. กลุ่มโอเปคยังคงไม่มีการลดกำลังการผลิตจนกว่าราคาน้ำมันดิบ ไปอยู่ที่ระดับราคา 80 USD/บาเรล 8. ภายใต้การคงอัตราดอกเบี้ย FED ไว้ที่ระดับ 2% ทำให้ทิศทางเงินดอลล่าร์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทิศทางของราคาน้ำมันตลาดโลกขาลง (5 ส.ค. 51)
ราคาน้ำมันที่มีการปรับลดลงในช่วงนี้ คงจะเป็นการเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่าวิกฤติราคาน้ำมันโลกได้ยุติแล้ว เพราะราคาน้ำมันโลกเพิ่งปรับลดลงในช่วงปลายเดือน กรกฎาคม ซึ่งเวลาเพียง 2 สัปดาห์ คงยากที่จะคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะกลับมาดีดตัวสูงขึ้นอีกหรือไม่ ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยเชิงลบดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เศรษฐกิจไทยจะยังคงมีความเสี่ยง จากราคาน้ำมันที่จะปรับสูงอีกหรือไม่จะต้องเข้าใจ ราคาน้ำมันที่ผ่านมาหนึ่งในสามเกิดจากการเก็งกำไรของกองทุน Hedge Fund ซึ่งจะมีการซื้อ-ขายน้ำมันในตลาด Spot Market โดยเฉพาะตลาด NYEX ซึ่งเป็นการซื้อ-ขายตราสารล่วงหน้าน้ำมัน ซึ่งจะต้องส่งมอบ 1 เดือน ซึ่งในช่วงนี้อยู่ในช่วงปรับพอร์ตการลงทุนและไถ่ถอนเงิน ซึ่งเกิดจากการแปรปรวนในตลาดอสังหาริมทรัพย์และ NPL ในภาคธนาคารของประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้ ปริมาณความต้องการน้ำมันจากประเทศจีน , อินเดีย , เกาหลี ยังคงมีอยู่ อีกทั้ง ต้นทุนในการขุดเจาะน้ำมันในปัจจุบันก็มีการปรับสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 60-80 USD/บาเรล ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังมีความอ่อนไหวไปตามเหตุการณ์ของโลก ทั้งในด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ , การนัดหยุดงานของโรงกลั่นน้ำมัน , ปัญหาด้านการเมืองของภูมิภาค โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง รวมถึง การอ่อนค่าของเงินสกุลสหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากความอ่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากปัญหา ซัพไพร์ม ปัจจัยดังกล่าวล้วนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อวิกฤติราคาน้ำมันที่อาจจะยังกลับมา แต่หลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันโลกคงไม่กลับไปสูงเหมือนที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันจะไม่ทะลุเลยแนวรับที่ 100-105 เหรียญสหรัฐฯ หรืออาจไปอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล เนื่องจากเป็นความพยายามของประเทศซาอุดิอาระเบียที่ไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันโลกสูงเกินความพอดี ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลในระยะสั้นๆคงอยู่ที่ราคา 30-33 บาทต่อลิตร (ราคารวมภาษีสรรพสามิตและเงินสมทบกองทุน) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็คงต้องอยู่ภายใต้สภาวะความเสี่ยงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ชะลอตัวในอัตราที่สูงกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน ไฟล์ประกอบ : 177_TNT3.pdf อ่าน : 2469 ครั้ง วันที่ : 08/08/2008 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|