2. ต้นทุนการผลิตจะไม่ปรับลดลง เพราะต้นทุนของวัตถุดิบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จะไม่ปรับราคาลงตามราคาน้ำมันที่ลงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทวัตถุดิบต้นน้ำที่จำเป็น เช่น เหล็ก โพลีเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ซึ่งที่ผ่านมาปรับราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ 30-40 ในบางอุตสาหกรรมอาจสูงกว่าร้อยละ 80 ภาคอุตสาหกรรมนอกจากได้รับผลกระทบราคาวัตถุดิบ ยังได้รับผลกระทบที่เกิดจากค่าระวางเรือ ซึ่งมีการปรับขึ้นไปถึงร้อยละ 18-25% และต้นทุนขนส่งภายในประเทศ ก็ปรับขึ้นไปโดยเฉลี่ยร้อยละ 16-20 สำหรับเฉพาะค่าแรงมีการปรับไปถึง 12-15%
เดือน |
ราคาน้ำมันเฉลี่ย (ดีเซล บาท/ลิตร) |
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป |
ตุลาคม 2550 |
27.74 |
2.5% |
พฤศจิกายน 2550 |
28.89 |
3.0% |
ธันวาคม 2550 |
29.14 |
3.2% |
มกราคม 2551 |
29.36 |
4.3% |
กุมภาพันธ์ 2551 |
29.44 |
5.4% |
มีนาคม 2551 |
30.44 |
5.3% |
เมษายน 2551 |
32.29 |
6.2% |
เดือน |
ราคาน้ำมันเฉลี่ย (ดีเซล บาท/ลิตร) |
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป |
พฤษภาคม 2551 |
36.22 |
7.6% |
มิถุนายน 2551 |
41.22 |
8.9% |
กรกฎาคม 2551 |
44.24 36.29 |
9.2 |
สิงหาคม (วันที่ 5) |
35.84 |
8.5-8.8 (ประมาณ) |
ที่มา : ธนิต โสรัตน์ 2008
5. สภาพคล่องของประชาชนและภาคการผลิตจะลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรม และ SMEs ซึ่งไม่ได้อยู่ในภาคการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบที่รุนแรง (ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี) โดยภูมิคุ้มกันของธุรกิจและเงินออมของประชาชนเท่าที่มีอยู่ใช้ไปเกือบหมดแล้ว โอกาสที่จะเห็นเงินตึงทั้งระบบซึ่งหมายถึงทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ จะเกิดขึ้นในเร็วนี้จะมีค่อนข้างสูง ต้องเข้าใจว่า SMEs มีสัดส่วนอยู่ใน GDP ถึงร้อยละ 30 โดยหลายฝ่ายเริ่มวิตกกับ NPL ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มเห็นในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ สภาพคล่องของประชาชนส่งผลต่อการลดการจับจ่ายสินค้าส่งผลต่อการลดอุปสงค์ของภาคประชาชน ซึ่งเป็นผลพวงมาจากสภาวะเงินตึง จะเป็นปัจจัยที่รายได้ของลูกจ้างในสถานประกอบการ จะมีการลดลง ซึ่งเกิดจากการลดปริมาณการผลิต
6. การลงทุนและความชื่อมั่นการบริโภค ยังคงชะลอตัว ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยหนุน ลดความเชื่อมั่น จากประเด็นความวุ่นวายทางการเมือง เป็นปัจจัยที่ภาคธุรกิจมีความกังวล ทั้งด้านการถอดถอนรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี รวมถึง การยุบพรรคการเมืองซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล จะทำให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง และเกิดการชงักงันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงรอความชัดเจนของการยุบพรรคการเมือง ว่าจะยุบหรือไม่ยุบ โดยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 90 วัน และหากต้องมีการเลือกตั้งใหม่ หรือมีการยุบสภาก็คงต้องใช้เวลามากกว่านี้ ซึ่งในช่วงเวลา 3-4 เดือนจากนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ภาคการเมืองจะต้องเข้ามาชี้นำในการแก้ปัญหา
จากความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 51 อยู่ที่ระดับ 71 และเดือนมิถุนายน ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมกระเตื้องขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่ 73.6 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบหลายปี รวมทั้งความเชื่อมั่น ของผู้ประกอบการในต่างจังหวัดก็ลดลง โดยเฉลี่ย 5% โดยเฉพาะภาคเหนือจะเกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุดถึงร้อยละ 9.52 ซึ่งปัญหาทางการเมืองเป็นส่วนสำคัญต่อความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน การใช้จ่าย และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในตลาดหุ้น
7. ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคเงินบาทที่อ่อนค่า โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือน เงินบาทไทยอ่อนค่าไปถึงร้อยละ 7.69 ทางด้านการส่งออกอาจจะได้รับอานิสงค์ โดยที่ในช่วงครึ่งปีแรกสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 21.1 อย่างไรก็ดี จากการประเมินของภาควิชาการเห็นว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง อาจจะเหลือเพียงร้อยละ 15-16 ซึ่งต้องเข้าใจว่า ปัจจุบันสัดส่วนการนำเข้าของไทยสูงกว่าการส่งออก กว่าร้อยละ 20 คือมูลค่าการส่งออกในปีนี้คาดว่าจะเป็น 178,252 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวทั้งปีประมาณร้อยละ 17 ส่วนการนำเข้าประมาณ 182,159 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เฉลี่ยนำเข้าทั้งปีขยายตัวร้อยละ 30 โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมันเป็นสัดส่วนอยู่ถึงร้อยละ 20 ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 2 บาท ส่งผลต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้นประมาณร้อยละ 6-8 จำเป็นที่จะต้องมีการรักษาเสถียรภาพเงินบาทของไทย ไม่ให้แข็งค่าเกิน 34 บาทต่อ USD ซึ่งปัจจุบันเงินบาทของไทยอ่อนค่า ไปที่ 33.53 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
" />
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราคาน้ำมันที่ลดลงมีผลกระทบอย่างไรต่อภาคเศรษฐกิจ? Share1. ต้นทุนโลจิสติกส์จะมีการชะลอตัวในอัตราคงที่ โดยในช่วงที่ผ่านปีครึ่งราคาน้ำมันผลักดันให้ต้นทุนขนส่งต่อ GDP สูงขึ้นประมาณร้อยละ 1.33 ส่งให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ณ กลางปี 2551 ปรับตัวเป็นร้อยละ 19.53 (ต้นทุนโลจิสติกส์ของ สศช. ปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 18.6 ต่อ GDP) ซึ่งราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลต่อการชะลอตัวในการปรับขึ้นราคาค่าขนส่งแต่ราคาค่าขนส่งจะไม่ปรับลดลงมากนักเพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการสามารถผลักต้นทุนได้ไม่ถึงครึ่งของราคาค่าน้ำมันที่ขึ้น 2. ต้นทุนการผลิตจะไม่ปรับลดลง เพราะต้นทุนของวัตถุดิบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จะไม่ปรับราคาลงตามราคาน้ำมันที่ลงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทวัตถุดิบต้นน้ำที่จำเป็น เช่น เหล็ก โพลีเมอร์ เส้นใยสังเคราะห์ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ซึ่งที่ผ่านมาปรับราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ 30-40 ในบางอุตสาหกรรมอาจสูงกว่าร้อยละ 80 ภาคอุตสาหกรรมนอกจากได้รับผลกระทบราคาวัตถุดิบ ยังได้รับผลกระทบที่เกิดจากค่าระวางเรือ ซึ่งมีการปรับขึ้นไปถึงร้อยละ 18-25% และต้นทุนขนส่งภายในประเทศ ก็ปรับขึ้นไปโดยเฉลี่ยร้อยละ 16-20 สำหรับเฉพาะค่าแรงมีการปรับไปถึง 12-15%
ที่มา : ธนิต โสรัตน์ 2008 5. สภาพคล่องของประชาชนและภาคการผลิตจะลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรม และ SMEs ซึ่งไม่ได้อยู่ในภาคการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบที่รุนแรง (ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี) โดยภูมิคุ้มกันของธุรกิจและเงินออมของประชาชนเท่าที่มีอยู่ใช้ไปเกือบหมดแล้ว โอกาสที่จะเห็นเงินตึงทั้งระบบซึ่งหมายถึงทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ จะเกิดขึ้นในเร็วนี้จะมีค่อนข้างสูง ต้องเข้าใจว่า SMEs มีสัดส่วนอยู่ใน GDP ถึงร้อยละ 30 โดยหลายฝ่ายเริ่มวิตกกับ NPL ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มเห็นในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ สภาพคล่องของประชาชนส่งผลต่อการลดการจับจ่ายสินค้าส่งผลต่อการลดอุปสงค์ของภาคประชาชน ซึ่งเป็นผลพวงมาจากสภาวะเงินตึง จะเป็นปัจจัยที่รายได้ของลูกจ้างในสถานประกอบการ จะมีการลดลง ซึ่งเกิดจากการลดปริมาณการผลิต 6. การลงทุนและความชื่อมั่นการบริโภค ยังคงชะลอตัว ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยหนุน ลดความเชื่อมั่น จากประเด็นความวุ่นวายทางการเมือง เป็นปัจจัยที่ภาคธุรกิจมีความกังวล ทั้งด้านการถอดถอนรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี รวมถึง การยุบพรรคการเมืองซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล จะทำให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง และเกิดการชงักงันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงรอความชัดเจนของการยุบพรรคการเมือง ว่าจะยุบหรือไม่ยุบ โดยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 90 วัน และหากต้องมีการเลือกตั้งใหม่ หรือมีการยุบสภาก็คงต้องใช้เวลามากกว่านี้ ซึ่งในช่วงเวลา 3-4 เดือนจากนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ภาคการเมืองจะต้องเข้ามาชี้นำในการแก้ปัญหา จากความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 51 อยู่ที่ระดับ 71 และเดือนมิถุนายน ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมกระเตื้องขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่ 73.6 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบหลายปี รวมทั้งความเชื่อมั่น ของผู้ประกอบการในต่างจังหวัดก็ลดลง โดยเฉลี่ย 5% โดยเฉพาะภาคเหนือจะเกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุดถึงร้อยละ 9.52 ซึ่งปัญหาทางการเมืองเป็นส่วนสำคัญต่อความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน การใช้จ่าย และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในตลาดหุ้น 7. ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคเงินบาทที่อ่อนค่า โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือน เงินบาทไทยอ่อนค่าไปถึงร้อยละ 7.69 ทางด้านการส่งออกอาจจะได้รับอานิสงค์ โดยที่ในช่วงครึ่งปีแรกสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 21.1 อย่างไรก็ดี จากการประเมินของภาควิชาการเห็นว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง อาจจะเหลือเพียงร้อยละ 15-16 ซึ่งต้องเข้าใจว่า ปัจจุบันสัดส่วนการนำเข้าของไทยสูงกว่าการส่งออก กว่าร้อยละ 20 คือมูลค่าการส่งออกในปีนี้คาดว่าจะเป็น 178,252 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวทั้งปีประมาณร้อยละ 17 ส่วนการนำเข้าประมาณ 182,159 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เฉลี่ยนำเข้าทั้งปีขยายตัวร้อยละ 30 โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมันเป็นสัดส่วนอยู่ถึงร้อยละ 20 ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 2 บาท ส่งผลต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้นประมาณร้อยละ 6-8 จำเป็นที่จะต้องมีการรักษาเสถียรภาพเงินบาทของไทย ไม่ให้แข็งค่าเกิน 34 บาทต่อ USD ซึ่งปัจจุบันเงินบาทของไทยอ่อนค่า ไปที่ 33.53 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
ไฟล์ประกอบ : 177_TNT2.pdf อ่าน : 2387 ครั้ง วันที่ : 08/08/2008 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|