ครม.ใหม่ กับการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจประเทศไทย

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

5 สิงหาคม 2551

ผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและในระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยจะเห็นได้จากสภาวะเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม ยังคงไต่ระดับไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.2    การที่ระดับราคาน้ำมันสูง ได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค  ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือนแรกของปี 51 อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.6 คาดว่าทั้งปีเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.5-7.5 และ GDP ก็จะขยายได้ประมาณร้อยละ 5.0-5.7 ทั้งนี้ เงินเฟ้อของประเทศไทยที่อยู่ในระดับสูงแบบนี้ ซึ่งเปรียบได้ใกล้เคียงกับปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ผลกระทบที่ตามมาจากวิกฤติเงินเฟ้อก็คือการปรับขึ้นของค่าแรง (Wage Price Spiral) และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยเงินกู้ก็ไปอยู่ที่ร้อยละ 8-9 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 6-7 และแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยคงจะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงไปกว่านี้ สังเกตุได้จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้เร่งระดมหาเงินฝาก ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นตัวทวีคูณให้เกิดเงินเฟ้อรอบสองที่เรียกว่า Second Round Inflation สำหรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่น่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงหลังของปี 2551 จะเกิดจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อันเกิดจากปัญหาซัพไพร์มรอบสองที่ได้ลุกลามไปยังตลาดยุโรปโซน จนถึงขั้นที่ทาง FED มีการประกาศจะตรึงราคาดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.5 และดัชนีผู้บริโภคของประชาชนสหรัฐฯลดจากอัตราร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 0.4 สำหรับประเทศไทยธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจะมีความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลก และมีความเสี่ยงจากความเปราะบางจากต้นทุนการผลิตที่อาจจะสูงขึ้น และยังจะได้รับความเสี่ยงจากสภาวะสภาพคล่องของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งประเทศไทยกำลังจะเริ่มเข้าสู่สภาวะเงินตึง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันอุปสงค์ (Demand) จากตลาดอาจจะได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะการส่งออกยังขยายตัวได้ดี (ร้อยละ 23) โดยประชาชน (ส่วนหนึ่ง) ยังมีรายได้จากการปรับราคาค่าจ้างและยังมีกำลังซื้อจากภาคเกษตรกร ซึ่งสินค้าเกษตรสามารถขยายตัวได้ถึงประมาณร้อยละ 64 อย่างไรก็ตาม โดยสภาวะทั่วไปของเศรษฐกิจไทยจะยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ, การบริโภคที่ลดลง , สภาพคล่อง และจากเงินตึง โดยเฉพาะในประเด็นความเชื่อมั่นทางด้านการเมือง

 

 

8 มาตรการที่ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลและทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจแก้ปัญหาภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ

1.   รัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าภาพ สร้างภาพลักษณ์ความสามัคคีของประชาชนให้กลับคืนมา ซึ่งถือเป็นประเด็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เนื่องจากสภาวะความตรึงเครียดของคนไทยที่มีความแตกแยกทางความคิดอย่างสุดขั้ว รัฐบาลเองจะต้องมีมาตรการที่ไม่สร้างความแตกแยก โดยรัฐบาลจะต้องแสดงความเป็นรัฐบาลของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่รัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อพรรคใดหรือของปัจเจกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องเป็นรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลจะต้องไม่เข้าไปดำเนินการหรือมีมาตรการหรือรายการทางสื่อของรัฐในการยั่วยุ สร้างความจงเกลียดจงชังให้กับประชาชน

2.   ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ ควรจะมีการหารือในแต่ละกลุ่มซึ่งมีความขัดแย้ง โดยให้แก้เฉพาะในประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการบ้านเมือง และหรือหากรอได้ก็ควรจะมีการชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งในประเด็นการเมืองจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุน การค้า การบริโภค

3.   มาตรการเร่งรัดส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นจะต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ ในการสร้างงาน เพราะภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ จะไม่สามารถพึ่งพิงการลงทุนภายในประเทศจากนักลงทุนไทยที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงาน มิฉะนั้น ในปีหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาการว่างงาน

4.   มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้มีเม็ดเงินลงไปในระดับรากหญ้า โดยเร่งอนุมัติโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดสภาวะค่าใช้จ่ายของประชาชน เช่น มาตรการทั้ง 6 ที่ได้ออกมา ถึงแม้ว่า จะเป็นมาตรการเฉพาะหน้า และหาเสียงให้กับรัฐบาล แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประชาชนที่มีรายได้น้อยก็จะได้รับผลประโยชน์ และมาตรการการยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 2.30 บาทต่อลิตร จะส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์ รัฐบาลควรจะต้องมีมาตรการในลักษณะดังกล่าวออกมาเป็นชุดโดยมาตรการต่างๆต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทั้งในระยะเฉพาะหน้า มาตรการระยะสั้น มาตรการระยะยาว

5.   มาตรการด้านการลดเงินเฟ้อ ซึ่งสภาวะเงินเฟ้อของไทยซึ่งเกิดจาก Cost Push เป็นตัวเร่ง รัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่ยืดหยุ่น และระมัดระวังการใช้มาตรการการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันในหลายประเทศได้มีการทบทวนทฤษฎีนี้ ว่าจะไม่สามารถใช้ได้ผล ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 4 เงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.0-8.5 ซึ่งก็ยังคงเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อเฉลี่ยของไทยที่เคยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2-2.5

6.   รัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีความบูรณาการในระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละกระทรวงจะมีนโยบายรายวันและนโยบายที่ไม่ได้ประสานเชื่อมโยงกัน โดยรัฐบาลจะต้องมอบหมายให้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นหัวหน้าคณะฯ ถึงแม้ว่า นักวิชาการและหลายฝ่ายอาจจะมีความกังขาของที่มาและธรรมาภิบาล แต่ภายใต้ข้อจำกัดและภาพลักษณ์ในทางติดลบของ ครม. เศรษฐกิจ ทีมที่ปรึกษาที่ตั้งขึ้น ก็น่าจะมีส่วนที่จะเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาครวม ซึ่งก็น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง โดยรัฐบาลจะต้องมีความสามารถในการแปลงข้อเสนอแนะของทีมที่ปรึกษาให้ออกมาเป็นนโยบายของรัฐ และให้สามารถมีมาตรการที่จะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นบูรณาการ

7.   มาตรการช่วยเหลือ SMEs โดยผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจของไทยประมาณร้อยละ 30 และมีลูกจ้างอยู่ในระบบกว่า 2.7 ล้านคน ธุรกิจประเภท SMEs มีความเปราะบางจาก Cost Push และจากสภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์ โดยเฉพาะในประเด็นสภาพคล่องซึ่งเกิดจากเงินตึง หากไม่ได้รับการเยียวยา นัยต่อไปอาจนำไปสู่การลดคุณภาพของลูกหนี้ในสถาบันการเงิน ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งมาตรการช่วยเหลือ SMEs เป็นลำดับต้น โดยในระยะสั้น จะต้องเร่งให้มีโครงการอัดฉีดเงินและมาตรการทางการคลัง ในการลดอัตราภาษีรายได้ของ SMEs ให้มีแต้มต่ออย่างน้อยร้อยละ 5 นอกจากนี้ มาตรการในด้านการส่งเสริมการตลาด  จะต้องทำการอย่างจริงจัง โดยการส่งเสริม SMEs ให้มีการส่งออกเนื่องจากการส่งออกของประเทศไทยยังมีการเติบโตถึงร้อยละ 23 ซึ่ง SMEs ควรจะมีส่วนแบ่งมากกว่าสัดส่วนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

8.   มาตรการด้านพลังงาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันราคาน้ำมันมีการลดลงแต่เศรษฐกิจของไทยก็ยังผูกพันและมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน ซึ่งอาจมีความอ่อนไหวไปตามวิกฤติทางการเมืองของภูมิภาค โดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินสกุลสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าไปตามสถานะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงการเก็งกำไรที่อาจจะกลับมาอีก  ภาครัฐจึงไม่ควรมีความชะล่าใจ เพราะระดับราคาน้ำมันที่เฉลี่ยอยู่  122-128 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล ก็ถือว่ายังเป็นอัตราสูง เพราะเทียบได้กับอัตราราคาน้ำมันช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2551 ภาครัฐจึงควรจะมีมาตรการในการส่งเสริมเรื่องการใช้ NGV ในภาคการขนส่งอย่างจริงจังรวมทั้งการพัฒนาพืชพลังงาน เช่น ไปโอดีเซล และเอทานอล และมาตรการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้ E85

**************************

รายงานนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม www.tanitsorat.com

 

 

" />
       
 

ครม.ใหม่ กับการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจประเทศไทย Share


ครม.ใหม่ กับการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจประเทศไทย

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

5 สิงหาคม 2551

ผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและในระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยจะเห็นได้จากสภาวะเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม ยังคงไต่ระดับไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.2    การที่ระดับราคาน้ำมันสูง ได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค  ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือนแรกของปี 51 อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.6 คาดว่าทั้งปีเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.5-7.5 และ GDP ก็จะขยายได้ประมาณร้อยละ 5.0-5.7 ทั้งนี้ เงินเฟ้อของประเทศไทยที่อยู่ในระดับสูงแบบนี้ ซึ่งเปรียบได้ใกล้เคียงกับปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ผลกระทบที่ตามมาจากวิกฤติเงินเฟ้อก็คือการปรับขึ้นของค่าแรง (Wage Price Spiral) และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยเงินกู้ก็ไปอยู่ที่ร้อยละ 8-9 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 6-7 และแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยคงจะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงไปกว่านี้ สังเกตุได้จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้เร่งระดมหาเงินฝาก ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นตัวทวีคูณให้เกิดเงินเฟ้อรอบสองที่เรียกว่า Second Round Inflation สำหรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่น่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงหลังของปี 2551 จะเกิดจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อันเกิดจากปัญหาซัพไพร์มรอบสองที่ได้ลุกลามไปยังตลาดยุโรปโซน จนถึงขั้นที่ทาง FED มีการประกาศจะตรึงราคาดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.5 และดัชนีผู้บริโภคของประชาชนสหรัฐฯลดจากอัตราร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 0.4 สำหรับประเทศไทยธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจะมีความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลก และมีความเสี่ยงจากความเปราะบางจากต้นทุนการผลิตที่อาจจะสูงขึ้น และยังจะได้รับความเสี่ยงจากสภาวะสภาพคล่องของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งประเทศไทยกำลังจะเริ่มเข้าสู่สภาวะเงินตึง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันอุปสงค์ (Demand) จากตลาดอาจจะได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะการส่งออกยังขยายตัวได้ดี (ร้อยละ 23) โดยประชาชน (ส่วนหนึ่ง) ยังมีรายได้จากการปรับราคาค่าจ้างและยังมีกำลังซื้อจากภาคเกษตรกร ซึ่งสินค้าเกษตรสามารถขยายตัวได้ถึงประมาณร้อยละ 64 อย่างไรก็ตาม โดยสภาวะทั่วไปของเศรษฐกิจไทยจะยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ, การบริโภคที่ลดลง , สภาพคล่อง และจากเงินตึง โดยเฉพาะในประเด็นความเชื่อมั่นทางด้านการเมือง

 

 

8 มาตรการที่ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลและทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจแก้ปัญหาภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ

1.   รัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าภาพ สร้างภาพลักษณ์ความสามัคคีของประชาชนให้กลับคืนมา ซึ่งถือเป็นประเด็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เนื่องจากสภาวะความตรึงเครียดของคนไทยที่มีความแตกแยกทางความคิดอย่างสุดขั้ว รัฐบาลเองจะต้องมีมาตรการที่ไม่สร้างความแตกแยก โดยรัฐบาลจะต้องแสดงความเป็นรัฐบาลของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่รัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อพรรคใดหรือของปัจเจกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องเป็นรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลจะต้องไม่เข้าไปดำเนินการหรือมีมาตรการหรือรายการทางสื่อของรัฐในการยั่วยุ สร้างความจงเกลียดจงชังให้กับประชาชน

2.   ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ ควรจะมีการหารือในแต่ละกลุ่มซึ่งมีความขัดแย้ง โดยให้แก้เฉพาะในประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการบ้านเมือง และหรือหากรอได้ก็ควรจะมีการชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งในประเด็นการเมืองจะเป็นประเด็นสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุน การค้า การบริโภค

3.   มาตรการเร่งรัดส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นจะต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ ในการสร้างงาน เพราะภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ จะไม่สามารถพึ่งพิงการลงทุนภายในประเทศจากนักลงทุนไทยที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงาน มิฉะนั้น ในปีหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาการว่างงาน

4.   มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้มีเม็ดเงินลงไปในระดับรากหญ้า โดยเร่งอนุมัติโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดสภาวะค่าใช้จ่ายของประชาชน เช่น มาตรการทั้ง 6 ที่ได้ออกมา ถึงแม้ว่า จะเป็นมาตรการเฉพาะหน้า และหาเสียงให้กับรัฐบาล แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประชาชนที่มีรายได้น้อยก็จะได้รับผลประโยชน์ และมาตรการการยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 2.30 บาทต่อลิตร จะส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์ รัฐบาลควรจะต้องมีมาตรการในลักษณะดังกล่าวออกมาเป็นชุดโดยมาตรการต่างๆต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทั้งในระยะเฉพาะหน้า มาตรการระยะสั้น มาตรการระยะยาว

5.   มาตรการด้านการลดเงินเฟ้อ ซึ่งสภาวะเงินเฟ้อของไทยซึ่งเกิดจาก Cost Push เป็นตัวเร่ง รัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่ยืดหยุ่น และระมัดระวังการใช้มาตรการการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันในหลายประเทศได้มีการทบทวนทฤษฎีนี้ ว่าจะไม่สามารถใช้ได้ผล ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 4 เงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.0-8.5 ซึ่งก็ยังคงเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อเฉลี่ยของไทยที่เคยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2-2.5

6.   รัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีความบูรณาการในระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละกระทรวงจะมีนโยบายรายวันและนโยบายที่ไม่ได้ประสานเชื่อมโยงกัน โดยรัฐบาลจะต้องมอบหมายให้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นหัวหน้าคณะฯ ถึงแม้ว่า นักวิชาการและหลายฝ่ายอาจจะมีความกังขาของที่มาและธรรมาภิบาล แต่ภายใต้ข้อจำกัดและภาพลักษณ์ในทางติดลบของ ครม. เศรษฐกิจ ทีมที่ปรึกษาที่ตั้งขึ้น ก็น่าจะมีส่วนที่จะเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาครวม ซึ่งก็น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง โดยรัฐบาลจะต้องมีความสามารถในการแปลงข้อเสนอแนะของทีมที่ปรึกษาให้ออกมาเป็นนโยบายของรัฐ และให้สามารถมีมาตรการที่จะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นบูรณาการ

7.   มาตรการช่วยเหลือ SMEs โดยผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจของไทยประมาณร้อยละ 30 และมีลูกจ้างอยู่ในระบบกว่า 2.7 ล้านคน ธุรกิจประเภท SMEs มีความเปราะบางจาก Cost Push และจากสภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์ โดยเฉพาะในประเด็นสภาพคล่องซึ่งเกิดจากเงินตึง หากไม่ได้รับการเยียวยา นัยต่อไปอาจนำไปสู่การลดคุณภาพของลูกหนี้ในสถาบันการเงิน ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งมาตรการช่วยเหลือ SMEs เป็นลำดับต้น โดยในระยะสั้น จะต้องเร่งให้มีโครงการอัดฉีดเงินและมาตรการทางการคลัง ในการลดอัตราภาษีรายได้ของ SMEs ให้มีแต้มต่ออย่างน้อยร้อยละ 5 นอกจากนี้ มาตรการในด้านการส่งเสริมการตลาด  จะต้องทำการอย่างจริงจัง โดยการส่งเสริม SMEs ให้มีการส่งออกเนื่องจากการส่งออกของประเทศไทยยังมีการเติบโตถึงร้อยละ 23 ซึ่ง SMEs ควรจะมีส่วนแบ่งมากกว่าสัดส่วนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

8.   มาตรการด้านพลังงาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันราคาน้ำมันมีการลดลงแต่เศรษฐกิจของไทยก็ยังผูกพันและมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน ซึ่งอาจมีความอ่อนไหวไปตามวิกฤติทางการเมืองของภูมิภาค โดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินสกุลสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าไปตามสถานะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงการเก็งกำไรที่อาจจะกลับมาอีก  ภาครัฐจึงไม่ควรมีความชะล่าใจ เพราะระดับราคาน้ำมันที่เฉลี่ยอยู่  122-128 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล ก็ถือว่ายังเป็นอัตราสูง เพราะเทียบได้กับอัตราราคาน้ำมันช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2551 ภาครัฐจึงควรจะมีมาตรการในการส่งเสริมเรื่องการใช้ NGV ในภาคการขนส่งอย่างจริงจังรวมทั้งการพัฒนาพืชพลังงาน เช่น ไปโอดีเซล และเอทานอล และมาตรการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้ E85

**************************

รายงานนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม www.tanitsorat.com

 

 


ไฟล์ประกอบ : 176_TNT.pdf
อ่าน : 2504 ครั้ง
วันที่ : 07/08/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com