ธปท.ฟันธงเศรษฐกิจไทยทรุดยาวถึงปีหน้า พิษน้ำมัน-การเมือง แต่ไม่เลวร้ายเหมือนปี 40 หอการค้าไทยเชื่อจีดีพียังโต 5.5-6% "สุวิทย์" ชี้การแก้ปัญหาต้องมีเอกภาพ

  ยุติความสับสน  สภาพัฒน์ระบุเม็ดเงินลงทุนภาครัฐไม่พอกระตุ้นเศรษฐกิจ หุ้นร่วง 2 จุด ต่างชาติยังขายต่อ
นางอัจนา  ไวความดี  รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะขยายตัวในอัตราชะลอลอจากครึ่งปีแรก และต่อเนื่องไปถึงปีหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาการเร่งตัวราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ  ปัญหาการเมือง ซึ่งกระทบต่อความมั่นใจอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน  รวมถึงนักลงทุนต่างชาติ  ประกอบกับยังได้แรงกดดันจากการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกจากปัญหาในสหรัฐ
ขณะที่เศรษฐกิจไตรมาส  2  น่าจะต่ำกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 6% แต่เฉลี่ยครึ่งปีแรกยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีท่ามกลางราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ความไม่เสถียรภาพการเมือง และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว  อย่างไรก็ตาม ธปท.จะมีการรายงานตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้าในวันที่ 28 ก.ค.นี้
"เศรษฐกิจไทยพิสูจน์ความแข็งแกร่งมาแล้วในช่วง 3 ปีหลัง ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งขยายตัวได้สูงกว่า 4%  ทุกปี  ดังนั้นการจะซ้ำรอยวิกฤติเศรษฐกิจปี  2540 ห่างไกลมาก โอกาสที่จะเห็นแทบไม่มี" นางอัจนากล่าว
นางอัจนากล่าวว่า   ธปท.มีนโยบายดูแลเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป  แต่หากจะต้องเลือก  ก็ต้องเลือกดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจมากกว่า  เพราะหากเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ จะเกิดปัญหาต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   กล่าวว่า   จากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการต่อ 6 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยทุกมาตรการมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.95-8.23 จากเต็ม 10 คะแนน
นายธนวรรธน์    พลวิชัย  ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กล่าวว่า  หลังจากมีการสำรวจหลายครั้ง  ล่าสุดผู้ประกอบการเริ่มส่งสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้นทำ  ให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับ  5.5-6%  ยังคงมีความเป็นไปได้อยู่   หากราคาน้ำมันอยู่ในระดับ 120-140  เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  โดยหอการค้าไทยจะมีการปรับประมาณการณ์อัตราขยายตัวด้านเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 ส.ค.นี้
นายสุวิทย์   คุณกิตติ   รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม  กล่าวในงานสัมมนา  "มุมคิด...แก้วิกฤติเศรษฐกิจ  (ปัญหาที่รุมเร้า)"  ว่า ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย คือ ปัจจัยการเมืองรวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมัน  เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และซับไพรม์สหรัฐ ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมีเอกภาพ เพื่อไม่ให้นักลงทุนสับสน
นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)  กล่าวว่า จุดอ่อนของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย คือ งบประมาณที่มีอยู่น้อย  ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องปรับการใช้จ่าย โดยปีนี้มีงบประมาณลงทุนเพียง 15-20% จากเดิมมีถึง 40%
หุ้นไทยวันที่  24 ก.ค. ปิด 691.48 จุด ลดลง 2.66 จุด มูลค่าซื้อขาย 14,765.32  ล้านบาท ต่างชาติขาย 421.94 ล้านบาท สถาบันขาย 201.17 ล้านบาท รายย่อยซื้อ 623.11 ล้านบาท

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ 25 กรกฎาคม 2551  

Link http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&iDate=25/Jul/2551&news_id=161529&cat_id=600

" />
       
 

ธปท.ฟันธงศก.ทรุดยาวถึงปีหน้า พิษน้ำมัน-การเมืองวุ่น สศช.จี้รัฐเพิ่มงบลงทุน Share


ธปท.ฟันธงเศรษฐกิจไทยทรุดยาวถึงปีหน้า พิษน้ำมัน-การเมือง แต่ไม่เลวร้ายเหมือนปี 40 หอการค้าไทยเชื่อจีดีพียังโต 5.5-6% "สุวิทย์" ชี้การแก้ปัญหาต้องมีเอกภาพ

  ยุติความสับสน  สภาพัฒน์ระบุเม็ดเงินลงทุนภาครัฐไม่พอกระตุ้นเศรษฐกิจ หุ้นร่วง 2 จุด ต่างชาติยังขายต่อ
นางอัจนา  ไวความดี  รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะขยายตัวในอัตราชะลอลอจากครึ่งปีแรก และต่อเนื่องไปถึงปีหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาการเร่งตัวราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ  ปัญหาการเมือง ซึ่งกระทบต่อความมั่นใจอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน  รวมถึงนักลงทุนต่างชาติ  ประกอบกับยังได้แรงกดดันจากการชะลอตัวเศรษฐกิจโลกจากปัญหาในสหรัฐ
ขณะที่เศรษฐกิจไตรมาส  2  น่าจะต่ำกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัว 6% แต่เฉลี่ยครึ่งปีแรกยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีท่ามกลางราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ความไม่เสถียรภาพการเมือง และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว  อย่างไรก็ตาม ธปท.จะมีการรายงานตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้าในวันที่ 28 ก.ค.นี้
"เศรษฐกิจไทยพิสูจน์ความแข็งแกร่งมาแล้วในช่วง 3 ปีหลัง ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งขยายตัวได้สูงกว่า 4%  ทุกปี  ดังนั้นการจะซ้ำรอยวิกฤติเศรษฐกิจปี  2540 ห่างไกลมาก โอกาสที่จะเห็นแทบไม่มี" นางอัจนากล่าว
นางอัจนากล่าวว่า   ธปท.มีนโยบายดูแลเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป  แต่หากจะต้องเลือก  ก็ต้องเลือกดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจมากกว่า  เพราะหากเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ จะเกิดปัญหาต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   กล่าวว่า   จากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการต่อ 6 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยทุกมาตรการมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.95-8.23 จากเต็ม 10 คะแนน
นายธนวรรธน์    พลวิชัย  ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กล่าวว่า  หลังจากมีการสำรวจหลายครั้ง  ล่าสุดผู้ประกอบการเริ่มส่งสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้นทำ  ให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับ  5.5-6%  ยังคงมีความเป็นไปได้อยู่   หากราคาน้ำมันอยู่ในระดับ 120-140  เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  โดยหอการค้าไทยจะมีการปรับประมาณการณ์อัตราขยายตัวด้านเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 ส.ค.นี้
นายสุวิทย์   คุณกิตติ   รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม  กล่าวในงานสัมมนา  "มุมคิด...แก้วิกฤติเศรษฐกิจ  (ปัญหาที่รุมเร้า)"  ว่า ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย คือ ปัจจัยการเมืองรวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมัน  เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และซับไพรม์สหรัฐ ซึ่งการแก้ปัญหาต้องมีเอกภาพ เพื่อไม่ให้นักลงทุนสับสน
นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)  กล่าวว่า จุดอ่อนของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย คือ งบประมาณที่มีอยู่น้อย  ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องปรับการใช้จ่าย โดยปีนี้มีงบประมาณลงทุนเพียง 15-20% จากเดิมมีถึง 40%
หุ้นไทยวันที่  24 ก.ค. ปิด 691.48 จุด ลดลง 2.66 จุด มูลค่าซื้อขาย 14,765.32  ล้านบาท ต่างชาติขาย 421.94 ล้านบาท สถาบันขาย 201.17 ล้านบาท รายย่อยซื้อ 623.11 ล้านบาท

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ 25 กรกฎาคม 2551  

Link http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&iDate=25/Jul/2551&news_id=161529&cat_id=600


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 2170 ครั้ง
วันที่ : 25/07/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com