(Ayeyawady - Chao Praya -
โดยธนิต โสรัตน์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประธานสายงานโลจิสติกส์ ส.อ.ท.
5 มิถุนายน 2551
ความเป็นมา
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS หรือเดิมเรียกว่า ECS* เป็นแนวคิดริเริ่มของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีการจัดตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ประกอบด้วย ไทย,กัมพูชา ,ลาว , พม่า และต่อมามีเวียดนาม (เข้ามาภายหลัง) ในการประชุมที่ประเทศพม่าเห็นชอบในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจดังกล่าว โดยช่วยเหลือในการสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการหลั่งไหลของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในไทย โดยประเทศไทยเป็นผู้เสนอแนวความคิดดังกล่าวต่อผู้นำของพม่า ลาว กัมพูชา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 และได้รับการสนับสนุนในหลักการจนนำมาสู่การประชุมระดับผู้นำที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 4 ประเทศได้ร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) ต่อมาเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ทั้งนี้ ช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ห่างกันมากระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความสงบสุข และวิถีชีวิตของประชาชนไทยตามแนวชายแดน แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะได้รับการฟื้นฟูและพัฒนามาเป็นลำดับ แต่ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายและปัญหายาเสพติด ซึ่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ และการที่ GDP ของไทยมากกว่าประเทศทั้งสาม ทำให้เกิดช่องว่างของความสัมพันธ์ โดย GDP รวมของไทยจะเป็นร้อยละ 91 ,ลาวร้อยละ 5 ,กัมพูชาร้อยละ 3 และพม่าร้อยละ 1 ประเทศไทย จึงมีฐานะทางเศรษฐกิจที่เป็นผู้ให้และจัดลำดับชั้นของประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศที่ต้องได้รับการอนุเคราะห์เพื่อผลักดันให้มีการพึ่งพาประเทศไทย โดยนโยบายการช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าไทย การที่จะให้ประเทศเพื่อนบ้านยอมรับไทยให้เป็นศูนย์กลางขนส่ง จึงขึ้นอยู่กับการสร้างสมดุลของปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองกับประเทศเพื่อนบ้านที่ด้อยกว่า โดยผ่านกระบวนการข้อตกลง ACMECS ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะส่งผลต่อโอกาสและความเป็นไปได้ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลาง โลจิสติกส์ของภูมิภาค
* ECS : Economic Corridor Strategy โดยเป็นการพัฒนาแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจเร่งด่วน (PRC : Priority Economic Corridor) เป็นความร่วมมือ ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม ซึ่งจะมีลักษณะคล้าย GMS เพียงแต่ GMS มีการพัฒนาร่วมกับประเทศจีน แต่ ECS จะไม่มีประเทศจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ : ธนิต โสรัตน์ 2547 : 3)
|
||||
|
||||
ACMECS โครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง ShareACMECS โครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง (Ayeyawady - Chao Praya - โดยธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสายงานโลจิสติกส์ ส.อ.ท. 5 มิถุนายน 2551 ความเป็นมา ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS หรือเดิมเรียกว่า ECS* เป็นแนวคิดริเริ่มของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีการจัดตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ประกอบด้วย ไทย,กัมพูชา ,ลาว , พม่า และต่อมามีเวียดนาม (เข้ามาภายหลัง) ในการประชุมที่ประเทศพม่าเห็นชอบในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจดังกล่าว โดยช่วยเหลือในการสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการหลั่งไหลของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในไทย โดยประเทศไทยเป็นผู้เสนอแนวความคิดดังกล่าวต่อผู้นำของพม่า ลาว กัมพูชา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 และได้รับการสนับสนุนในหลักการจนนำมาสู่การประชุมระดับผู้นำที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 4 ประเทศได้ร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) ต่อมาเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ทั้งนี้ ช่องว่างทางเศรษฐกิจที่ห่างกันมากระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความสงบสุข และวิถีชีวิตของประชาชนไทยตามแนวชายแดน แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะได้รับการฟื้นฟูและพัฒนามาเป็นลำดับ แต่ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายและปัญหายาเสพติด ซึ่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ และการที่ GDP ของไทยมากกว่าประเทศทั้งสาม ทำให้เกิดช่องว่างของความสัมพันธ์ โดย GDP รวมของไทยจะเป็นร้อยละ 91 ,ลาวร้อยละ 5 ,กัมพูชาร้อยละ 3 และพม่าร้อยละ 1 ประเทศไทย จึงมีฐานะทางเศรษฐกิจที่เป็นผู้ให้และจัดลำดับชั้นของประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศที่ต้องได้รับการอนุเคราะห์เพื่อผลักดันให้มีการพึ่งพาประเทศไทย โดยนโยบายการช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าไทย การที่จะให้ประเทศเพื่อนบ้านยอมรับไทยให้เป็นศูนย์กลางขนส่ง จึงขึ้นอยู่กับการสร้างสมดุลของปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองกับประเทศเพื่อนบ้านที่ด้อยกว่า โดยผ่านกระบวนการข้อตกลง ACMECS ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะส่งผลต่อโอกาสและความเป็นไปได้ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลาง โลจิสติกส์ของภูมิภาค * ECS : Economic Corridor Strategy โดยเป็นการพัฒนาแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจเร่งด่วน (PRC : Priority Economic Corridor) เป็นความร่วมมือ ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม ซึ่งจะมีลักษณะคล้าย GMS เพียงแต่ GMS มีการพัฒนาร่วมกับประเทศจีน แต่ ECS จะไม่มีประเทศจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ : ธนิต โสรัตน์ 2547 : 3) ไฟล์ประกอบ : ACMECS.pdf อ่าน : 3131 ครั้ง วันที่ : 10/06/2008 |
||||
|