Logistics and Supply Chain Best Practice

ธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

 

          การที่ธุรกิจจะนำระบบการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ ที่เรียกว่า Supply Chain Best Practice ไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ จะต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงของโลจิสติกส์กับซัพพลายเชน โดย “Logistics” จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้าและบริการ จากแหล่งที่ต้องการส่งมอบไปสู่แหล่งที่ต้องการรับ ที่เรียกว่า Origin to end โดยกิจกรรมของโลจิสติกส์นอกเหนือจากการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายข้อมูล ข่าวสาร จะเห็นได้ว่า กิจกรรมของโลจิสติกส์จะดำเนินอยู่ในช่วงต่อของหน่วยงานทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ซึ่งการที่จะขับเคลื่อนโลจิสติกส์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำเป็นจะต้องมีการจัดการความร่วมมือและความสัมพันธ์ (Collaborate and Relationship) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปฏิสัมพันธ์ของคน ซึ่งทำหน้าที่อยู่ในหน่วยงานต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์ทั้งตั้งเป้าหมายและทิศทางไปในทางเดียวกัน จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่อยู่ในระบบการจัดการโซ่อุปทาน โดยโลจิสติกส์จะมีการเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน เช่น แผนกจัดซื้อ แผนกวางแผนการผลิต แผนกกระจายสินค้าและแผนกขนส่ง ซึ่งแต่ละบริษัทจะเป็นทั้งผู้รับสินค้าในรูปของวัตถุดิบผ่านทางแผนกจัดซื้อ  ขณะเดียวกันก็จะมีการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปซึ่งได้ผ่านกระบวนการผลิต และได้มีการขนส่งสินค้าภายใต้คำสั่งของแผนกขายเพื่อจัดส่งให้กับแผนกจัดซื้อของอีกบริษัทหนึ่งซึ่งเป็นลูกค้า ซึ่งสินค้านั้นๆได้ผลิตและมีการส่งมอบซ้ำๆไปให้แต่ละบริษัทฯ ซึ่งอยู่ในโซ่อุปทานและส่งมอบต่อเนื่องผ่านกระบวนการขายส่ง-ขายปลีกไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายภายใต้สภาวะการแข่งขันราคาจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของลูกค้า

" />
       
 

Logistics and Supply Chain Best Practice Share


Logistics and Supply Chain Best Practice

ธนิต  โสรัตน์

ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

 

          การที่ธุรกิจจะนำระบบการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นเลิศ ที่เรียกว่า Supply Chain Best Practice ไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ จะต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงของโลจิสติกส์กับซัพพลายเชน โดย “Logistics” จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้าและบริการ จากแหล่งที่ต้องการส่งมอบไปสู่แหล่งที่ต้องการรับ ที่เรียกว่า Origin to end โดยกิจกรรมของโลจิสติกส์นอกเหนือจากการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายข้อมูล ข่าวสาร จะเห็นได้ว่า กิจกรรมของโลจิสติกส์จะดำเนินอยู่ในช่วงต่อของหน่วยงานทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ซึ่งการที่จะขับเคลื่อนโลจิสติกส์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำเป็นจะต้องมีการจัดการความร่วมมือและความสัมพันธ์ (Collaborate and Relationship) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปฏิสัมพันธ์ของคน ซึ่งทำหน้าที่อยู่ในหน่วยงานต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์ทั้งตั้งเป้าหมายและทิศทางไปในทางเดียวกัน จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่อยู่ในระบบการจัดการโซ่อุปทาน โดยโลจิสติกส์จะมีการเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน เช่น แผนกจัดซื้อ แผนกวางแผนการผลิต แผนกกระจายสินค้าและแผนกขนส่ง ซึ่งแต่ละบริษัทจะเป็นทั้งผู้รับสินค้าในรูปของวัตถุดิบผ่านทางแผนกจัดซื้อ  ขณะเดียวกันก็จะมีการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปซึ่งได้ผ่านกระบวนการผลิต และได้มีการขนส่งสินค้าภายใต้คำสั่งของแผนกขายเพื่อจัดส่งให้กับแผนกจัดซื้อของอีกบริษัทหนึ่งซึ่งเป็นลูกค้า ซึ่งสินค้านั้นๆได้ผลิตและมีการส่งมอบซ้ำๆไปให้แต่ละบริษัทฯ ซึ่งอยู่ในโซ่อุปทานและส่งมอบต่อเนื่องผ่านกระบวนการขายส่ง-ขายปลีกไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายภายใต้สภาวะการแข่งขันราคาจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของลูกค้า


ไฟล์ประกอบ : 148_Logistics and Supply Chain Best Practice.pdf
อ่าน : 2643 ครั้ง
วันที่ : 10/04/2008

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com