มาตรการผ่อนคลายระเบียบการฝากเงินและการโอนเงินตราต่างประเทศ

 

โดยนายธนิต โสรัตน์

รองเลขาธิการ สายงานเศรษฐกิจ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

          จากสภาวะความผันผวนของเงินบาท ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2550  ค่าเงินบาทของไทยมีความผันผวนปรับค่าแข็งที่สุดในรอบ 10 ปี โดยเมื่อเทียบกับอัตราสิ้นปี 2549 ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นไปจนถึงร้อยละ 6.97 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทมีการแข็งค่าต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยอัตราแลกเปลี่ยนช่วงปลายปี 2549 อยู่ที่ 36.01 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนต้นปี 2549 อยู่ที่ 40-41 บาท) ส่งผลต่อความเดือนร้อนของผู้ส่งออกไทย อย่างไรก็ตามภายใต้การแก้ไขปัญหาของ ธปท. ในการออกมาตรการสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 รวมถึงมาตรการ Full Hedge ซึ่งส่วนหนึ่งมีผลทำให้เงินบาทมีการทรงตัว อยู่ที่ 34.5 – 35.0 บาท ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะมีการผันผวนไปอยู่ที่ระดับ 33.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้คล้ายกับที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งมีเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ inflow เข้ามาในภูมิภาค โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ซึ่งก็คล้ายกับประเทศไทยในขณะนี้ เมื่อบวกกับการขยายของการส่งออกเฉพาะใน 5 เดือนแรกของปี 2550 มีเงินเข้ามาในระบบถึง 58,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับ 40% ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี โดยในภาพรวมอาจดูว่าไม่น่ามีปัญหา แต่หากมาพิจารณาในรายสาขาจะพบว่าในอุตสาหกรรมที่ใช้ local content สูง ซึ่งเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ,อุตสาหกรรมรองเท้า ,อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ,อุตสาหกรรมยาง ,อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ภาครัฐจึงไม่ควรดูเฉพาะตัวเลขการเติบโตของการส่งออก ซึ่งเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 18.8 เนื่องจากกว่าร้อยละ 11.6 เป็นการส่งออกของผู้ผลิตซึ่งมีการนำเข้าสูง ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาว่าหากการส่งออกมีตัวเลขสูงขนาดนี้ ทำไมภาพรวมเศรษฐกิจของประชาชนจึงอยู่ในสภาวะซบเซา  

" />
       
 

มาตรการผ่อนคลายระเบียบการฝากเงินและการโอนเงินตราต่างประเทศ Share


มาตรการผ่อนคลายระเบียบการฝากเงินและการโอนเงินตราต่างประเทศ

 

โดยนายธนิต โสรัตน์

รองเลขาธิการ สายงานเศรษฐกิจ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

          จากสภาวะความผันผวนของเงินบาท ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2550  ค่าเงินบาทของไทยมีความผันผวนปรับค่าแข็งที่สุดในรอบ 10 ปี โดยเมื่อเทียบกับอัตราสิ้นปี 2549 ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นไปจนถึงร้อยละ 6.97 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทมีการแข็งค่าต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยอัตราแลกเปลี่ยนช่วงปลายปี 2549 อยู่ที่ 36.01 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนต้นปี 2549 อยู่ที่ 40-41 บาท) ส่งผลต่อความเดือนร้อนของผู้ส่งออกไทย อย่างไรก็ตามภายใต้การแก้ไขปัญหาของ ธปท. ในการออกมาตรการสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 รวมถึงมาตรการ Full Hedge ซึ่งส่วนหนึ่งมีผลทำให้เงินบาทมีการทรงตัว อยู่ที่ 34.5 – 35.0 บาท ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะมีการผันผวนไปอยู่ที่ระดับ 33.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้คล้ายกับที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2549 ซึ่งมีเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ inflow เข้ามาในภูมิภาค โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ซึ่งก็คล้ายกับประเทศไทยในขณะนี้ เมื่อบวกกับการขยายของการส่งออกเฉพาะใน 5 เดือนแรกของปี 2550 มีเงินเข้ามาในระบบถึง 58,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับ 40% ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี โดยในภาพรวมอาจดูว่าไม่น่ามีปัญหา แต่หากมาพิจารณาในรายสาขาจะพบว่าในอุตสาหกรรมที่ใช้ local content สูง ซึ่งเป็นร้อยละ 30 ของการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ,อุตสาหกรรมรองเท้า ,อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ,อุตสาหกรรมยาง ,อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ ภาครัฐจึงไม่ควรดูเฉพาะตัวเลขการเติบโตของการส่งออก ซึ่งเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 18.8 เนื่องจากกว่าร้อยละ 11.6 เป็นการส่งออกของผู้ผลิตซึ่งมีการนำเข้าสูง ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาว่าหากการส่งออกมีตัวเลขสูงขนาดนี้ ทำไมภาพรวมเศรษฐกิจของประชาชนจึงอยู่ในสภาวะซบเซา  


ไฟล์ประกอบ : 133.pdf
อ่าน : 2182 ครั้ง
วันที่ : 12/10/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com