โดยธนิต โสรัตน์
ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP
เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางภาคใต้กรอบความร่วมมือ GMS (Greater Makong Subregional Economic Cooperation) ซึ่งเป็นข้อตกลงของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย กัมพูชา , พม่า , ลาว , เวียดนาม , ไทย และจีนตอนใต้ โดยเส้นทางนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความชวยเหลือในการก่อสร้างภายใต้โครงการ East-West Economic Corridor โดยเส้นทางหมายเลข 9 ฝั่งตะวันตก จะเป็นการเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศต่างๆในอนุภูมิภาคอินโดจีน โดยจังหวัดมุกดาหารหลังจากการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 จะกลายเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gateway) ในการเชื่อมโยง Corridor Link กับแขวงสะกวันนะเขต ของสปป.ลาว ซึ่งเส้นทางนี้จะเชื่อมโยงไปสู่ประเทศเวียดนามและทำให้ประเทศ สปป.ลาว เปลี่ยนจากประเทศ Land Lock กลายเป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการเป็น Land Link ของภูมิภาค ทั้งนี้ เส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งมีระยะทางอยู่ในประเทศ สปป.ลาว จะเป็นเส้นทางหลักขนส่งของประเทศในภูมิภาคอินโดจีนที่แท้จริงนั้น โดยศักยภาพของทางหมายเลข 9 จะมีความเหมาะสมเพราะเส้นทางนี้เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนาม ซึ่งเป็นท่าเรือชายฝั่งทะเลตะวันออกกับชายฝั่งทะเลตะวันตกผ่านประเทศไทยไปสิ้นสุดที่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามลาวและไทยเป็น Land Bridge
เส้นทางหมายเลข 9 เส้นทางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีน
เส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่แยกอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศพม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลอง ซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงลาวและเวียดนาม ระยะทางยาว 1,450 กม. อยู่ในเขตลาว 210 กม. และในเขตเวียดนาม 84 กม. อยู่เขตพม่าประมาณ 50 กม. ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย ถนนเส้นนี้มีตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสปกครองต่อมาสภาพถนนชำรุดเสียหายมากเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและภาวะความไม่สงบในประเทศ เมื่อธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) สนับสนุนโครงการ East-West Economic Corridor จึงให้งบประมาณช่วยเหลือแก่ลาว เพื่อปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 เนื่องจากเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่จะเชื่อมโยงเมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ในพม่าทางตะวันตกกับนครดานัง (Danang City) ในเวียดนามทางตะวันออก โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทย คือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ในการเป็น Gateway ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้จังหวัดมุกดาหาร กลายเป็นประตูทองทางเศรษฐกิจ (Golden Hub) ในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศต่างๆในอินโดจีน โดยรายละเอียดของจังหวัดมุกดาหารที่ควรทราบ ประกอบด้วย
จังหวัดมุกดาหารประตูเศรษฐกิจสู่อินโดจีน (Gateway Economic Corridor)
จังหวัดมุกดาหารมีสภาพภูมิประเทศคล้ายกับจังหวัดอื่นในภาคอีสาน ประกอบไปด้วย ที่ราบสูงสลับกับภูเขาและป่าทึบ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวมาจากจังหวัดสกลนครทางทิศตะวันตก และแยกออกเป็นสี่แนวคล้ายนิ้วมือไปทางทิศตะวันออก แบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็นลุ่มแม่น้ำเล็กๆเอียงลาดสู่แม่น้ำโขง ที่ราบระหว่างหุบเขาของลุ่มน้ำเหล่านี้มีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น บริเวณปากน้ำในช่วงที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขง จะมีสภาพเป็นคันดินธรรมชาติแคบๆ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำขนาบไปกับลำน้ำโขง จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรป่าไม้สมบูรณ์ มีพื้นที่ป่า 842,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ด้านทิศใต้และทิศตะวันตก มีเทือกเขาภูพานสภาพเป็นป่าไม้และดงทึบ ทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ราบสลับป่า ผืนป่าในจังหวัดมุกดาหารได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 13 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและห้ามล่าสัตว์ 2 แห่ง
ทั้งนี้ แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดมุกดาหาร มีระยะทาง 72 กิโลเมตร ทอดแนวยาวตามพื้นที่ตลอด 3 อำเภอ คือ อ. หว้านใหญ่ อ.เมือง และ อ.ดอนตาล โดยเฉพาะบริเวณ อ.เมือง มีจุดที่แม่น้ำโขงกว้างถึง 1,800 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่กว้างที่สุดในประเทศไทย และมีภูมิทัศน์สองฝั่งโขงงดงามมาอีกแห่งหนึ่ง มุกดาหารอยู่บนเส้นทางคมนาคมระหว่างภูมิภาคมาแต่โบราณ ปัจจุบันยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าและการเดินทางระหว่างประเทศ เป็นจุดส่งสินค้าไทยออกสู่ต่างประเทศ และรับสินค้าประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาจำหน่าย เศรษฐกิจจึงสะพัดเฟื่องฟู และได้รับการขนานนามว่าเป็น ประตูสู่อินโดจีน โดยมุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-โพนทอง-คำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาที่บ้านวัดผ่าน ประทาย พุทไธสง พยัคฆภูมิพิสัย (ทางหลวงหมายเลข 202) เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ ยโสธร แยกเข้ามาทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านทรายมูล กุดชุม เลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่าน อ.นิคมคำสร้อยมุ่งสู่มุกดาหาร
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2
การเดินทางจากประเทศไทยจากจังหวัดมุกดาหารข้ามไปประเทศ สปป.ลาว สู่แขวงสะหวันนะเขต โดยใช้สะพานข้ามแม่น้โขงแห่งที่ 2 ซึ่งได้เริ่มทำการเปิดใช้สะพานอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โดยรูปแบบสะพาน เป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ไม่ทางรถไฟ ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.50 เมตร ยาว 1,600 เมตร จุดกลับรถอยู่ฝั่งไทย รายละเอียดของโครงการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 (PACKAGE I) เป็นงานก่อสร้างตัวสะพานด้านฝั่งไทย และฝั่งลาว ค่าก่อสร้าง ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยรายละเอียดของสะพานมี ดังนี้
ส่วนที่ 2 (PACKAGE II) เป็นงานก่อสร้างอาคารด่านควบคุมและถนนเชื่อม ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างด้านฝั่งลาว มีความยาว 2,514 เมตร ค่าก่อสร้าง 300 ล้านบาท
ส่วนที่ 3 (PACKAGE III) เป็นงานก่อสร้างอาคารด่านควบคุมและถนนเชื่อม ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างด้านฝั่งไทย มีความยาว 951 เมตร ค่าก่อสร้าง 250 ล้านบาท
เส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย
(ช่วงอุบลราชธานี มุกดาหาร จะเป็นถนน 4 เลน)
จังหวัดมุกดาหารแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอ คำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง
ด้านทิศเหนือ ติดต่อกับ อ.ธาตุพนม และ อ.นาแก จ.นครพนม
ด้านทิศใต้ ติดต่อกับ อ.ชานุมาน จ.อำนาจจริญ และ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร อ.หนองพอก และ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
ด้านทิศตะวันตกติดต่อกับ อ.กุฉินารายณ์ และ อ.เขาวง จ.กาฬสินธิ์
ด้านทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำโขงและ สปป.ลาว
แขวงสะหวันนะเขต ประตูเศรษฐกิจของลาวสู่ประเทศไทย
การขนส่งโดยใช้เส้นทางหมายเลข 9 โดยเริ่มต้นจากท่าข้ามแม่น้ำโขงของจังหวัดมุกดาหาร โครงการสร้างสะพานข้ามน้ำโขง 2 มุกดาหารสะหวันนะเขต ที่ได้เปิดใช้ตั้งแต่ปลายปี 2549 สะพานอยู่ห่างจากตัวเมืองแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ไปทางทิศเหนือ 5 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองมุกดาหาร ไปทางทิศเหนือ 7.5 กิโลเมตร ขนาดของสะพานมีขนาด 2 ช่องจราจร ความแตกต่างของการเดินรถของทั้ง 2 ประเทศหลังจากรถผ่านกลางสะพานก็คือ รถของไทยพวงมาลัยขวา ขับชิดซ้าย ขณะที่รถของลาวพวงมาลัยซ้ายและขับชิดขวา จึงต้องมีการสร้างถนนเปลี่ยนทิศทาง การจราจรตรงระหว่างกลางสะพาน ซึ่งเมื่อโดยข้ามจากฝั่งเมืองมุกดาหารของไทยผ่านเมืองสะหวันนะเขตไปทางตะวันออก จะผ่าน เขตเศรษฐกิจพิเศษของลาว ที่เรียกว่า สะหวันเซโน (Savan-Seno) ห่างจากเมืองสะหวันนะเขตประมาณ 25 กิโลเมตรที่ทางรัฐบาลของลาวร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพยายามส่งเสริมที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจ เพื่อทำการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก แต่สภาพที่เห็นนั้นเกือบทั้งหมดยังเป็นสภาพที่เปล่า เนื่องจากยังขาดจุดแข็งที่จะดึงนักลงทุนเข้ามา ซึ่งลาวเองมีประชากรไม่มากอาจขาดแรงงาน ทั้ง Infrastructure ไม่ว่าทางรถไฟ , ท่าเรือ , สนามบิน ยังไม่มี อีกทั้งประเทศลาวไม่ได้ปกครองแบบเป็นรัฐเดียว อำนาจของเจ้าแขวง จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะทำให้ขาดความบูรณาการ รวมถึงการเก็บภาษีซับซ้อนของแต่ละแขวงจะเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจสายนี้ โดย GDP ของแขวงสะหวันนะเขตมีการเติบโตที่เร็วในปี 2549 มีการขยายตัว 11.8% ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตร ซึ่งมีหลายประเทศเข้าไปเช่าที่ดินเพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางเกษตร เช่น เอกชนของไทยเข้าไปลงทุน 32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อทำน้ำตาล โดยอินเดียลงทุนมากที่สุดถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯในการทำเยื่อกระดาษ นอกจากนี้ เอกชนของประเทศมาเลเซีย ก็เข้ามาลงทุนในการทำ Casino โดยลงทุนกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เส้นทางจากมุกดาหาร ถนนจะผ่านเมืองคันทะบุลี ซึ่งเปลี่ยนเป็นเมืองไกรสรพรมวิหาร ซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงสะหวันนะเขต จากนี้ไปจนถึงเมืองพิน ระยะทางประมาณ 162 กม. ซึ่งรถขนส่งมักจะแวะจอดพักและเติมน้ำมัน โดยตลอดเส้นทางหมายเลข 9 ถนนลาดยางสภาพดี สองช่องทางจราจร มีไหล่ถนน ปรับปรุงเสร็จแล้วโดยบริษัท โอบายาชิของญี่ปุ่น สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 110 กม./ชม. และหลังจากผ่านเมืองพินถึงชายแดนระยะทาง 78 กม. เป็นช่วงที่บริษัทเวียดนามได้รับสัมปทาน โดยเส้นทางจากลาวไปสู่ประเทศเวียดนามจะผ่านเมืองลาวบาว (Lao Bao) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกวางจิ ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของประเทศลาวกับเวียดนามมีที่ทำการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองมีขนาดใหญ่ จากสะหวันนะเขตมาเมือง ลาวบาวระยะทาง 210 กิโลเมตร โดยเมืองลาวบาวเป็นเมืองชายแดนของเวียดนาม ประกอบไปด้วยอาณาบริเวณที่เป็นเขตเศรษฐกิจ เป็นร้านค้าของประเทศเวียดนามส่วนใหญ่ สินค้าไทยมีศักยภาพและได้รับความนิยมจากคนเวียดนามและคนลาว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าของไทยเป็นสินค้ายอดนิยม จากชายแดนลาว-เวียดนาม ผ่านเมืองลาวบาว , เมืองเกซัห์ (Khe Sakn) , เมืองกัลโล (Can Lo) จนถึงเมืองด่งฮา (Dong Ha) ซึ่งอยู่ปลายสุดของเส้นทางหมายเลข 9 โดยเวียดนามกำลังพัฒนาให้เป็นท่าเรือหลักของภาคกลาง
เส้นทางหลักของเวียดนาม คือ ทางหลวงอาเซียนหมายเลข A1 หากลงทางใต้จะไปสู่นครเว้ จะเป็นถนนลาดยางคอนกรีต 2 เลน เส้นทางดี ขนานกันกับทางรถไฟ ซึ่งเป็นทางที่แคบและยังต้องมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟอีกมาก โดยเส้นทางที่เข้าสู่เมืองเว้เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องทาง โดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าเมืองเว้ประมาณ 20-30 กิโลเมตร จะต้องผ่านภูเขา โดยนครเว้ ซึ่งเป็นเมืองเก่าของเวียดนามจัดเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของประเทศเวียดนาม ประเทศเวียดนามมีถนนเชื่อมต่อตั้งแต่เหนือจรดใต้ สามารถเชื่อมโยงทางหมายเลข 9 ไปกรุงฮานอยและไปนครโฮจิมินห์ ซึ่งมีถนนเชื่อมไปถึงประเทศกัมพูชา การเดินทางจากเมืองเว้สู่ดานังจะเป็นช่วงสั้นๆ โดยเส้นทางจะผ่านเขาสูงชัน ซึ่งบนทางหลวงหมายเลข 1 ของเวียดนามเข้าสู่เมืองถัวะเทียนเหว ผ่านอุโมงค์ Haivan tunnel ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร เป็นการเจาะอุโมงค์เข้าไปในภูเขา ได้รับการสนับสนุนการเงินจากธนาคารของญี่ปุ่น JBIC มูลค่า 211 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเส้นทางสู่เมืองดานังเป็นเมืองใหญ่ ห่างจากฮานอย 763 กิโลเมตร และ 947 กิโลเมตรจากโฮจิมินห์ เป็นเมืองศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของเวียดนาม เพราะอยู่ตรงกึ่งกลางประเทศ อุณหภูมิเฉลี่ย 25.7 องศาเซียลเซียส มีประชากรประมาณ 752,439 คน (สำรวจปี 2546) ประเทศเวียดนามได้มีการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์ดานัง ตั้งแต่ปี 2545 เพื่อรองรับตามแผนยุทธศาสตร์ East West Economic Corridor เป็นสนามบินขนาดเล็กประมาณเท่าสนามบินสุราษฎร์ธานี ไม่แน่ใจว่าจะรองรับเครื่องโบอิ้งขนาดใหญ่ เช่น 747 หรือเครื่อง A330 สำหรับท่าเรือดานัง (Danang Port) เป็นท่าเรือเก่า ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม การปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกดานัง เป็นโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าของท่าเรือน้ำลึกดานัง รวมถึง การสร้างถนนเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข A1 ของเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก JBIC และรัฐบาลเวียดนาม (มูลค่ารวมประมาณ 73 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ท่าเรือดานังจะมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับท่าเรือโฮจิมินห์ ซึ่งอยู่ทางใต้ของเวียดนาม ซึ่งมีตู้คอนเทนเนอร์ 15,000 20,000 ตู้/ปี สำหรับท่าเรือ Danang Port ประกอบไปด้วย ท่าเรือพาณิชย์ 3 ท่า คือ Teinsa Seaport , Han River Port และ Lien Chieu Seaport ทางเวียดนามแจ้งว่าท่านี้ลึก 11 เมตร แหลมฉบัง 11-14 เมตร ตรงนี้ประเทศไทยน่าจะพิจารณาใหม่ว่าเส้นทางหมายเลข 9 จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยหรือจะส่งเสริมเศรษฐกิจของเวียดนาม เพราะจากการสัมภาษณ์ทางเวียดนาม จะมีความกระตือรือร้นมาก เพราะคงเห็นว่าประโยชน์ที่ได้คุ้มกว่า (Comparative Advantage)
เส้นทางหมายเลข 9 เชื่อมโยงเวียดนาม-จีนตอนใต้
การที่ไทยจะสมอยากในการเป็นศูนย์กลางโลจิติกส์ของภูมิภาค ปัจจัยสำคัญอยู่ที่จีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ก็อยากจะเป็นด้วย โดยพัฒนา 2 มณฑล คือยูนานกับกวางสี ซึ่งคนจีนบอกว่าอยู่ทางทิศตะวันตกแต่คนไทยชอบบอกว่าอยู่ตอนใต้ (ซึ่งหนังสือนี้ก็จะเขียนตอมแบบที่คนไทยเข้าใจ) โดยให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนานและนครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลาง (HUB) เชื่อมโยงไทยผ่านไปประเทศในกลุ่มอาเซียนและส่งเสริมให้มณฑลกวางสีเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนามผ่านไป อาเซียนอีกเส้นทางหนึ่ง มณฑลกวางสี ซึ่งที่ถูกต้องเรียกว่าเขตปกครองตนเองจ้วงกว่างซีเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านเวียดนามสู่ประเทศอินโดจีน โดยจีนใช้เมืองหนานหนิงเป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านเศรษฐกิจและ โลจิสติกส์เชื่อมโยงกับเมืองเศรษฐกิจชั้นใน โดยผ่านกุ้ยหลินและมีถนนชั้นดีสู่มณฑลกวางตุ้งและเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta) โดยเมืองหนานหนิง เป็นเมืองสำคัญของจีนเพราะจีนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีนิคมอุตสาหกรรมจีนโพ้นทะเลมาลงทุนเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของกวางสียังคงพึ่งพาภาคการเกษตร มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก ผลิตน้ำตาลมากที่สุดในจีน สำหรับด้านอุตสาหกรรม เริ่มมีต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
โดยจีนมีนโยบายพัฒนาเมืองหนานหนิงให้เป็นเมืองระดับเดียวกันกับกวางโจว โดย จีนพัฒนาเป็น Green City เป็นเมืองที่มีต้นไม้ ใบไม้ตลอดทั้งเมือง โดยงาน China Asean Expo จะจัดที่เมืองนี้ทุกๆปี โดยมีท่าเรือน้ำลึก ซึ่งจีนจะพัฒนาเป็นท่าเรือขนาดใหญ่รองรับสินค้าจากจีนตอนใต้ทั้งหมด โดยหนานหนิงจีนกำหนดยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนาม เพื่อผ่านไปประเทศอินโดจีน เหมือนใช้เมืองคุนหมิงและจิ่งหงเป็น Hub เชื่อมโยงไทยไปสู่อาเซียน โดยจีนได้ก่อสร้างถนนไฮเวย์และเส้นทางรถไฟ เข้าไปในเวียดนามผ่านด่านเมืองตงชิงและโยวยี่กวานและเข้าสู่นครฮานอย ตรงนี้จะเห็นว่าจีนมีทางเลือกที่จะไม่ใช้เส้นทาง R3E จาก บ่อหาน-หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว เข้าไทยที่อำเภอเชียงของและไม่ต้องพึ่งพาเส้นทาง North-South Corridor ในการออกทะเลผ่านไทย แต่จีนจะใช้เส้นทางเหล่านี้ย้อนศร ส่งสินค้าราคาถูกจากจีนมาตีตลาดภายในและตลาดชายแดนตรงนี้คนไทยและภาครัฐต้องรีบตระหนักและหายุทธศาสตร์รับมือกับจีน โดยทางเลือกขนส่งไทย-จีน โดยมีนครคุนหมิงและเมืองจิ่งหง (เชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา) เป็นศูนย์กลางจะเป็น Gate way ของจีนตอนใต้ในการเข้าสู่อาเซียน โดยมีแม่น้ำโขง ไหลผ่านประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งตรงนี้เองที่จีนอ้างความชอบธรรมในการก่อสร้างเขื่อนและระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำ เพราะอ้างว่าไม่ใช่แม่น้ำนานาชาติ โดยเส้นทางขนส่งทางบกที่ไทยสามารถเชื่อมโยงกับจีนสายหลัก โดยผ่านภาคเหนือของไทย
ทั้งนี้ นครหนานหนิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางสีจะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในการเชื่อมจีนกับอาเซียน โดยจากหนานหนิงมีถนน Motor Way สี่เลนไปเมืองกุ้ยหลินและไปสู่เมืองเจ๋อเจียงทางภาคตะวันออกและเชื่อมกับเมืองเวิ่นโจ ซึ่งห่างจากกวางโจวไปประมาณ 1 ชั่วโมง โดยเมืองนี้จะเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกที่จะมาตีตลาดไทย โดยคนเวิ่นโจ ถือว่าเป็น ยิวแห่งไชน่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขายส่งออกสินค้าดำดินเข้ามาขายไทย โดยไทยสามารถใช้ปัจจัยเชิงลบจากจีนมาเป็นปัจจัยเชิงบวก โดยใช้ประโยชน์ร่วมจากจีน ทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและด้านแรงงาน คือ สินค้าใดไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ ก็ควรไปลงทุนในประเทศจีน ซึ่งทางโลจิสติกส์เรียกว่า การเคลื่อนย้ายทุน (Fund Flow) ดังนั้น การที่ไทยจะสมอยากในการเป็นศูนย์กลางโลจิติกส์ของภูมิภาค ปัจจัยสำคัญอยู่ที่จีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ก็อยากจะเป็นด้วย โดยพัฒนาให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนานและนครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลาง (HUB) เชื่อมโยงไทยผ่านไปประเทศในกลุ่มอาเซียนและส่งเสริมให้มณฑลกวางสีเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนามผ่านไป อาเซียนอีกเส้นทางหนึ่ง ทั้งนี้ จีนใช้นโยบายรุกอาเซียนจากการใช้นครคุนหมิงเป็น Hub สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมรุกเข้าไทยผ่านภาคเหนือ ทั้งเส้นทางแม่น้ำโขงและเส้นทางถนนสาย R3E โดยมีจังหวัดเชียงรายเป็น Land Bridge และจะใช้นครหนานหนิงเป็น Hub เชื่อมโยงกับอาเซียนผ่านทางเวียดนาม โดยจะรุกเข้าตลาดไทยผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ทางหมายเลข 9 ข้ามสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 โดยมีจังหวัดมุกดาหารเป็น Land Bridge
อย่างไรก็ดี ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจีนอยู่ลึกเข้าไปในตอนเหนือสุดแผ่นดินของอนุภูมิภาค ซึ่งบริเวณตอนเหนือของประเทศพม่า ,ลาว จะมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงต่อเนื่องติดต่อกันและเป็นบริเวณที่ทุรกันดาร การเชื่อมโยงขนส่งกับประเทศต่างๆในอนุทวีปชั้นใน บทบาทของการขนส่งประเภททางรถไฟ , ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งจีนพัฒนาไปได้ไกลกว่าไทย ก็จะไม่เป็นปัจจัยต่อการเป็น Logistics Hub โดยการขนส่งทางบกจะเป็นทางเลือกที่สำคัญ ซึ่งทั้งประเทศจีนและไทยก็ต้องขนส่งผ่านประเทศเวียดนาม ลาว หรือแม้แต่พม่า ประเด็นสำคัญจึงไม่ใช่อยู่ที่ปัจจัยเฉพาะไทยกับจีน แต่ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ที่ไทยจะต้องมีกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศเวียดนามซึ่งก็ต้องการเป็นศูนย์กลางขนส่งเช่นเดียวกับไทย ซึ่งผู้อ่านถึงตรงนี้แล้วคงอยากรู้ว่าตกลงแล้วไทยจะเป็น Logistics Hub ของภูมิภาคได้หรือไม่
ศักยภาพของประเทศลาว คงไม่มีความสามารถที่จะแข่งขันเป็นศูนย์กลางขนส่งกับไทย แต่หากประเทศไทยต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค จะต้องใช้ศักยภาพของลาว ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับจีนตอนใต้ กัมพูชา และเวียดนาม โดยการใช้ลาวเป็นศูนย์กลางร่วมขนส่งของภูมิภาค (Regional Logistics Corridor HUB) การคบกับลาวต้องมีการมองแบบเป็น Cluster คือ ลาวและอินโดจีน โดยให้ลาวเป็นโซ่อุปทานโลจิสติกส์ในฐานะ Hub Link ซึ่งจะต้องให้ประเทศลาวได้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง ส่วนในระดับความสัมพันธ์ต้องขจัดความหวาดระแวงที่ลาวมีต่อไทยภายใต้สถานภาพทางการเมืองที่แตกต่างกันซึ่งจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ดีและจริงใจต่อกัน ซึ่งความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็น Win-Win เช่นที่ไทยใช้กับลาว จะต้องนำไปใช้กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นพม่า รวมทั้งประเทศกัมพูชา
" />
|
||||
|
||||
สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เส้นทางหมายเลข 9 Shareโดยธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางภาคใต้กรอบความร่วมมือ GMS (Greater Makong Subregional Economic Cooperation) ซึ่งเป็นข้อตกลงของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย กัมพูชา , พม่า , ลาว , เวียดนาม , ไทย และจีนตอนใต้ โดยเส้นทางนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความชวยเหลือในการก่อสร้างภายใต้โครงการ East-West Economic Corridor โดยเส้นทางหมายเลข 9 ฝั่งตะวันตก จะเป็นการเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศต่างๆในอนุภูมิภาคอินโดจีน โดยจังหวัดมุกดาหารหลังจากการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 จะกลายเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gateway) ในการเชื่อมโยง Corridor Link กับแขวงสะกวันนะเขต ของสปป.ลาว ซึ่งเส้นทางนี้จะเชื่อมโยงไปสู่ประเทศเวียดนามและทำให้ประเทศ สปป.ลาว เปลี่ยนจากประเทศ Land Lock กลายเป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการเป็น Land Link ของภูมิภาค ทั้งนี้ เส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งมีระยะทางอยู่ในประเทศ สปป.ลาว จะเป็นเส้นทางหลักขนส่งของประเทศในภูมิภาคอินโดจีนที่แท้จริงนั้น โดยศักยภาพของทางหมายเลข 9 จะมีความเหมาะสมเพราะเส้นทางนี้เชื่อมท่าเรือดานังของเวียดนาม ซึ่งเป็นท่าเรือชายฝั่งทะเลตะวันออกกับชายฝั่งทะเลตะวันตกผ่านประเทศไทยไปสิ้นสุดที่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางสายนี้จะเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงประเทศต่างๆของซีกโลกตะวันออก ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี เมืองท่าชายฝั่งทะเลของประเทศจีน เช่น ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกและประเทศออสเตรีย โดยใช้ประเทศเวียดนามลาวและไทยเป็น Land Bridge เส้นทางหมายเลข 9 เส้นทางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีน เส้นทางหมายเลข 9 จะผ่านกึ่งกลางของภาคอีสานจากจังหวัดมุกดาหารผ่านจังหวัดขอนแก่น และพิษณุโลกที่อำเภอวังทอง (ซึ่งจะกลายเป็นสี่แยกอินโดจีน) และเส้นทางนี้จะไปสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกไปประเทศพม่าที่อ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) เป็นการเชื่อมไปสู่มหาสมุทรอินเดียไปสู่ประเทศต่างๆทางซีกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ผ่านคลอง ซูเอสทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ไปสู่ยุโรปและประเทศอเมริกาฝั่งตะวันออก เส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง (Infrastructure Logistics) ที่สำคัญของโลกในอนาคต เพราะได้เชื่อมโยงกับเส้นทาง North South Economic Corridor ซึ่งมาจากเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ คือ ตั้งแต่เมืองคุนหมิงในแคว้นยูนานกับประเทศมาเลเซียตอนเหนือและสิงคโปร์ เส้นทางนี้จึงสามารถเชื่อมประชากรของ ASAIN 450 ล้านคนกับประชากรจีน 1,300 ล้านคน หากเส้นทางออกไปถึงเมืองมณีปุระของอินเดีย ก็จะมีประชากรอีก 1,000 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางสายหมายเลข 9 ได้รับความสนใจจากนานาชาติ เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงลาวและเวียดนาม ระยะทางยาว 1,450 กม. อยู่ในเขตลาว 210 กม. และในเขตเวียดนาม 84 กม. อยู่เขตพม่าประมาณ 50 กม. ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย ถนนเส้นนี้มีตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสปกครองต่อมาสภาพถนนชำรุดเสียหายมากเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและภาวะความไม่สงบในประเทศ เมื่อธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) สนับสนุนโครงการ East-West Economic Corridor จึงให้งบประมาณช่วยเหลือแก่ลาว เพื่อปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 9 เนื่องจากเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่จะเชื่อมโยงเมืองเมาะลำไย (Maw Lam Yine) ในพม่าทางตะวันตกกับนครดานัง (Danang City) ในเวียดนามทางตะวันออก โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับไทย คือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ในการเป็น Gateway ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้จังหวัดมุกดาหาร กลายเป็นประตูทองทางเศรษฐกิจ (Golden Hub) ในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศต่างๆในอินโดจีน โดยรายละเอียดของจังหวัดมุกดาหารที่ควรทราบ ประกอบด้วย จังหวัดมุกดาหารประตูเศรษฐกิจสู่อินโดจีน (Gateway Economic Corridor) สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหารแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอ คำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง เส้นทางหมายเลข 9 เชื่อมโยงเวียดนาม-จีนตอนใต้ การที่ไทยจะสมอยากในการเป็นศูนย์กลางโลจิติกส์ของภูมิภาค ปัจจัยสำคัญอยู่ที่จีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ก็อยากจะเป็นด้วย โดยพัฒนา 2 มณฑล คือยูนานกับกวางสี ซึ่งคนจีนบอกว่าอยู่ทางทิศตะวันตกแต่คนไทยชอบบอกว่าอยู่ตอนใต้ (ซึ่งหนังสือนี้ก็จะเขียนตอมแบบที่คนไทยเข้าใจ) โดยให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนานและนครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลาง (HUB) เชื่อมโยงไทยผ่านไปประเทศในกลุ่มอาเซียนและส่งเสริมให้มณฑลกวางสีเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนามผ่านไป อาเซียนอีกเส้นทางหนึ่ง มณฑลกวางสี ซึ่งที่ถูกต้องเรียกว่าเขตปกครองตนเองจ้วงกว่างซีเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านเวียดนามสู่ประเทศอินโดจีน โดยจีนใช้เมืองหนานหนิงเป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านเศรษฐกิจและ โลจิสติกส์เชื่อมโยงกับเมืองเศรษฐกิจชั้นใน โดยผ่านกุ้ยหลินและมีถนนชั้นดีสู่มณฑลกวางตุ้งและเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta) โดยเมืองหนานหนิง เป็นเมืองสำคัญของจีนเพราะจีนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีนิคมอุตสาหกรรมจีนโพ้นทะเลมาลงทุนเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของกวางสียังคงพึ่งพาภาคการเกษตร มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก ผลิตน้ำตาลมากที่สุดในจีน สำหรับด้านอุตสาหกรรม เริ่มมีต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยจีนมีนโยบายพัฒนาเมืองหนานหนิงให้เป็นเมืองระดับเดียวกันกับกวางโจว โดย จีนพัฒนาเป็น Green City เป็นเมืองที่มีต้นไม้ ใบไม้ตลอดทั้งเมือง โดยงาน China Asean Expo จะจัดที่เมืองนี้ทุกๆปี โดยมีท่าเรือน้ำลึก ซึ่งจีนจะพัฒนาเป็นท่าเรือขนาดใหญ่รองรับสินค้าจากจีนตอนใต้ทั้งหมด โดยหนานหนิงจีนกำหนดยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนาม เพื่อผ่านไปประเทศอินโดจีน เหมือนใช้เมืองคุนหมิงและจิ่งหงเป็น Hub เชื่อมโยงไทยไปสู่อาเซียน โดยจีนได้ก่อสร้างถนนไฮเวย์และเส้นทางรถไฟ เข้าไปในเวียดนามผ่านด่านเมืองตงชิงและโยวยี่กวานและเข้าสู่นครฮานอย ตรงนี้จะเห็นว่าจีนมีทางเลือกที่จะไม่ใช้เส้นทาง R3E จาก บ่อหาน-หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว เข้าไทยที่อำเภอเชียงของและไม่ต้องพึ่งพาเส้นทาง North-South Corridor ในการออกทะเลผ่านไทย แต่จีนจะใช้เส้นทางเหล่านี้ย้อนศร ส่งสินค้าราคาถูกจากจีนมาตีตลาดภายในและตลาดชายแดนตรงนี้คนไทยและภาครัฐต้องรีบตระหนักและหายุทธศาสตร์รับมือกับจีน โดยทางเลือกขนส่งไทย-จีน โดยมีนครคุนหมิงและเมืองจิ่งหง (เชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา) เป็นศูนย์กลางจะเป็น Gate way ของจีนตอนใต้ในการเข้าสู่อาเซียน โดยมีแม่น้ำโขง ไหลผ่านประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งตรงนี้เองที่จีนอ้างความชอบธรรมในการก่อสร้างเขื่อนและระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำ เพราะอ้างว่าไม่ใช่แม่น้ำนานาชาติ โดยเส้นทางขนส่งทางบกที่ไทยสามารถเชื่อมโยงกับจีนสายหลัก โดยผ่านภาคเหนือของไทย ทั้งนี้ นครหนานหนิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางสีจะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในการเชื่อมจีนกับอาเซียน โดยจากหนานหนิงมีถนน Motor Way สี่เลนไปเมืองกุ้ยหลินและไปสู่เมืองเจ๋อเจียงทางภาคตะวันออกและเชื่อมกับเมืองเวิ่นโจ ซึ่งห่างจากกวางโจวไปประมาณ 1 ชั่วโมง โดยเมืองนี้จะเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกที่จะมาตีตลาดไทย โดยคนเวิ่นโจ ถือว่าเป็น ยิวแห่งไชน่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขายส่งออกสินค้าดำดินเข้ามาขายไทย โดยไทยสามารถใช้ปัจจัยเชิงลบจากจีนมาเป็นปัจจัยเชิงบวก โดยใช้ประโยชน์ร่วมจากจีน ทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและด้านแรงงาน คือ สินค้าใดไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ ก็ควรไปลงทุนในประเทศจีน ซึ่งทางโลจิสติกส์เรียกว่า การเคลื่อนย้ายทุน (Fund Flow) ดังนั้น การที่ไทยจะสมอยากในการเป็นศูนย์กลางโลจิติกส์ของภูมิภาค ปัจจัยสำคัญอยู่ที่จีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ก็อยากจะเป็นด้วย โดยพัฒนาให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนานและนครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลาง (HUB) เชื่อมโยงไทยผ่านไปประเทศในกลุ่มอาเซียนและส่งเสริมให้มณฑลกวางสีเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนามผ่านไป อาเซียนอีกเส้นทางหนึ่ง ทั้งนี้ จีนใช้นโยบายรุกอาเซียนจากการใช้นครคุนหมิงเป็น Hub สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมรุกเข้าไทยผ่านภาคเหนือ ทั้งเส้นทางแม่น้ำโขงและเส้นทางถนนสาย R3E โดยมีจังหวัดเชียงรายเป็น Land Bridge และจะใช้นครหนานหนิงเป็น Hub เชื่อมโยงกับอาเซียนผ่านทางเวียดนาม โดยจะรุกเข้าตลาดไทยผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ทางหมายเลข 9 ข้ามสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 โดยมีจังหวัดมุกดาหารเป็น Land Bridge อย่างไรก็ดี ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจีนอยู่ลึกเข้าไปในตอนเหนือสุดแผ่นดินของอนุภูมิภาค ซึ่งบริเวณตอนเหนือของประเทศพม่า ,ลาว จะมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงต่อเนื่องติดต่อกันและเป็นบริเวณที่ทุรกันดาร การเชื่อมโยงขนส่งกับประเทศต่างๆในอนุทวีปชั้นใน บทบาทของการขนส่งประเภททางรถไฟ , ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งจีนพัฒนาไปได้ไกลกว่าไทย ก็จะไม่เป็นปัจจัยต่อการเป็น Logistics Hub โดยการขนส่งทางบกจะเป็นทางเลือกที่สำคัญ ซึ่งทั้งประเทศจีนและไทยก็ต้องขนส่งผ่านประเทศเวียดนาม ลาว หรือแม้แต่พม่า ประเด็นสำคัญจึงไม่ใช่อยู่ที่ปัจจัยเฉพาะไทยกับจีน แต่ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ที่ไทยจะต้องมีกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศเวียดนามซึ่งก็ต้องการเป็นศูนย์กลางขนส่งเช่นเดียวกับไทย ซึ่งผู้อ่านถึงตรงนี้แล้วคงอยากรู้ว่าตกลงแล้วไทยจะเป็น Logistics Hub ของภูมิภาคได้หรือไม่
ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์ อ่าน : 3972 ครั้ง วันที่ : 30/04/2007 |
||||
|