โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP       

          ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปดูงาน ณ ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนที่ผ่านมา  โดยประเด็นที่น่าสนใจที่จะมาบอกเล่ากับท่านผู้อ่าน ก็คือ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของนครฮานอย ที่ว่าน่าสนใจก็เพราะว่าเป็นเมืองหลวงของเวียดนาม ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีว่ามีศักยภาพด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่น่าจะเป็นคู่แข่งของไทยในอนาคต เวียดนามนั้นเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก แม้เพียงออกจากสนามบินเพียงเล็กน้อยก็จะพบแผ่นดินสีเขียวเป็นผืนใหญ่ต่อเนื่องกัน ซึ่งทางด้านเกษตรของเวียดนาม ยังใช้แรงงานคนและใช้วิธีดำนาและควายไถนา ซึ่งต่างกับประเทศไทย ซึ่งชาวนาไทยใช้เครื่องไถนาเกือบหมดแล้ว เท่าที่สังเกต ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงฤดูแล้ง แต่ก็ยังมีน้ำบริบูรณ์ และช่วงที่ไปนี้มีฝนตกตลอด จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเวียดนามจึงเป็นคู่แข่งการส่งออกข้าว ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะนำไทยในช่วงเวลาใกล้ๆ นี้


           ศักยภาพด้านท่าเรือของเวียดนามทั้งหมดอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลจีนใต้ หากเปรียบเทียบศักยภาพเชิงพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังของไทยจะมีความเสียเปรียบท่าเรือของเวียดนาม เพราะเป็นท่าเรือในอ่าวไทย   ซึ่งจะมีความเสียเปรียบในเชิงภูมิศาสตร์  ปัจจุบันสินค้าขาเข้าทางทะเล 90% ของ สปป.ลาวนั้น จะขนส่งผ่านประเทศไทย ซึ่ง สปป.ลาวก็อยากจะลดการพึ่งพาไทย โดยมีทางเลือกที่จะใช้เส้นทางหมายเลข 12 จากเวียงจันทน์จนถึงท่าเรือของเวียดนามทางภาคเหนือ ทั้งนี้ เวียดนาม ทางลาวไม่ค่อยให้ความสำคัญเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเชื่อมจังหวัดมุกดาหารข้ามสะพานแม่น้ำโขง 2 กับแขวงสะหวันนะเขต ผ่านเมืองลาวบาว เมืองเว้ ไปออกทะเลที่ท่าเรือดานัง ซึ่งทางเวียดนามเองยังไม่ชัดเจนในการพัฒนาท่าเรือ แห่งนี้ เนื่องจากเวียดนามมีการพัฒนาท่าเรือไซ่ง่อน (โฮจิมินห์ซิตี้) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้และโครงการพัฒนาท่าเรือทางภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับเมืองฮานอย  โดยเวียดนามเองมีโครงการระยะยาวที่จะสร้างท่าเรือดองฮาใกล้กับท่าเรือดานัง   ประเทศไทยจะต้องมีการศึกษาข้อเท็จจริง และหากเป็นจริงก็จะต้องมีการปรับยุทธศาสตร์ เพราะหากไทยยังต้องการที่จะพัฒนาระบบ Logistics ให้ประเทศเป็นศูนย์กลางคมนาคมของอนุภูมิภาค ก็จะต้องไม่มองข้ามการใช้เส้นทางในการแข่งขันกับเวียดนาม  ในด้านการพัฒนาท่าเรือ เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค

           ด้านการพัฒนาส่งเสริมการลงทุนของเวียดนาม โดยเวียดนามได้มีแผนงานปฏิรูประบบแผนงาน ซึ่งวางเป้าหมายในปี 2563 จะพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามประมาณร้อยละ 8.5 ซึ่งนับว่าสูงมาก โดยกลไกสำคัญเวียดนามต้องการพัฒนาประเทศเป็นศูนย์กลางขนส่งทางทะเล เพราะมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร โดยทางเหนือจะใช้ท่าเรือไฮฟอง ส่วนกลางของประเทศจะมีท่าเรือดานังหรือท่าเรือดองฮา และทางใต้ก็จะมีท่าเรือเซียงไฮ้ หากดูจากแผนที่แล้วเวียดนามจะตั้งอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากการเป็น RIMLAND คือ ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลติดกับผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเส้นทางโลจิสติกส์ขนส่งทางทะเลผ่านทางเส้นทางมหาสมุทรแปซิฟิกไปสู่ประเทศจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย รวมทั้งสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี ในระยะสั้น ด้วยข้อจำกัดของภาคการผลิตทำให้เวียดนามยังขาดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากไทยแล้ว ไทยก็ยังมีความได้เปรียบ (Comparative Advantage) แต่ในระยะยาวแล้วเวียดนามก็ยังจะเป็นประเทศคู่แข่งที่น่ากลัว อันเนื่องจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ผลักดันเวียดนาม ก็คือ การมีทรัพยากรอันมหาศาลและค่าแรงขั้นต่ำที่เดือนละประมาณ 50 เหรียญ หรือ 2,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าเราเกือบ 2.5 เท่า จึงไม่น่าแปลกที่การลงทุนจากต่างประเทศมาลงทุนในเวียดนามเป็นที่ 2 รองจากจีน เฉพาะในปี 2547 มีเงินลงทุนจากต่างประเทศกว่า 4,000 ล้านดอลล่าร์ โดยประเทศที่ลงทุนในเวียดนามที่สำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ สิงคโปร์ , ไต้หวัน , ญี่ปุ่น , เกาหลีใต้ โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญต่อการลงทุนและมีการให้ GSP แก่เวียดนาม

           การพัฒนาโลจิสติกส์ของเวียดนามภาคเหนือ คงใช้ระยะเวลาอีกมาก เริ่มต้นจากสนามบินฮานอยยังเป็นสนามบินที่เล็กมากใกล้เคียงกับสนามบินสุราษฎร์ธานีของไทย ส่วนเส้นทางทางถนนมีถนนสายใหญ่เพียงสายเดียวที่ลงมาทางภาคใต้เป็นลักษณะมอเตอร์เวย์มีการเก็บค่าผ่านทางลักษณะของถนนจะยกเหนือพื้นดินประมาณ 2 เมตรเป็นถนน 4 เลน (ไป 2 เลน – กลับ 2 เลน) โดยช่วงที่ติดสี่แยกสังเกตว่าได้เริ่มมีการสร้างสะพานลอย เวียดนามมีโครงการก่อสร้างถนนและรางรถไฟเชื่อมจากฮานอยสู่ท่าเรือดานัง ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ของเวียดนาม เพื่อเตรียมพร้อมต่อการที่เวียดนามจะเข้าเป็นภาคีของ WTO (World Trade Organization) ซึ่งเวียดนามมีความมุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์จากเส้นทาง East-West Economic Corridor หรือเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเชื่อมโยงเมืองท่าดานังผ่านประเทศลาว ผ่านจังหวัดมุกดาหารของไทย โดยหวังว่าหลังจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงช่วงสุวรรณเขต-มุกดาหาร เสร็จ จะเป็นเส้นทางที่เวียดนามใช้ระบายสินค้าเข้าสู่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

           จุดด้อยของเวียดนาม คือ ปัญหาการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ยังไม่ก้าวหน้าส่งผลให้ค่าขนส่งสูงเมื่อเทียบกับไทย ไม่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขาดวัตถุดิบ ปัญหากฎหมายยังไม่โปร่งใส อันนี้เป็นปัญหาที่ทาง JICA ศึกษามา เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ไทยมีศักยภาพดีกว่ามาก อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีประชากรมีรายได้น้อยแต่มีอำนาจการซื้อสูงมาก เพราะได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศปีละ 2.8 พันล้านเหรียญ ได้รับในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่เรียกว่า Loan Cash  สินค้าไทยได้รับความนิยมจากเวียดนามแต่กำลังถูกสินค้าจากจีนเข้ามารุกตลาด ปัญหาของเวียดนามอีกประเด็นหนึ่งคือยังเป็นปัญหาของศุลกากร เรื่องราคาภาษีของศุลกากรนั้นมักจะสูงกว่าข้อเท็จจริง เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ถึงแม้ว่าเวียดนามจะมีศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งมีท่าเรืออยู่ริมฝั่งทะเล ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือหลักของโลก แต่ด้วยลักษณะของประเทศซึ่งอยู่ริมตะวันออกสุดของอนุภูมิภาค ทำให้ขาดคุณสมบัติของการเป็น HUB อีกทั้ง ปัญหาด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างคมนาคมขนส่งและปัญหาความไม่เป็นสากลของกลไกรัฐและกฎหมายทำให้ประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะปริมาณสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก ยังไม่มีปริมาณมากเพียงพอที่จะเป็น Original Port Base เมื่อเปรียบเทียบกับไทยแล้วก็ขาดศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และขนส่งของอนุภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง…

" />
       
 

การพัฒนาโลจิสติกส์ประเทศเวียดนามและเส้นทางเศรษฐกิจหมายเลข 9 Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP       

          ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปดูงาน ณ ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนที่ผ่านมา  โดยประเด็นที่น่าสนใจที่จะมาบอกเล่ากับท่านผู้อ่าน ก็คือ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของนครฮานอย ที่ว่าน่าสนใจก็เพราะว่าเป็นเมืองหลวงของเวียดนาม ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีว่ามีศักยภาพด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่น่าจะเป็นคู่แข่งของไทยในอนาคต เวียดนามนั้นเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก แม้เพียงออกจากสนามบินเพียงเล็กน้อยก็จะพบแผ่นดินสีเขียวเป็นผืนใหญ่ต่อเนื่องกัน ซึ่งทางด้านเกษตรของเวียดนาม ยังใช้แรงงานคนและใช้วิธีดำนาและควายไถนา ซึ่งต่างกับประเทศไทย ซึ่งชาวนาไทยใช้เครื่องไถนาเกือบหมดแล้ว เท่าที่สังเกต ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงฤดูแล้ง แต่ก็ยังมีน้ำบริบูรณ์ และช่วงที่ไปนี้มีฝนตกตลอด จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเวียดนามจึงเป็นคู่แข่งการส่งออกข้าว ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะนำไทยในช่วงเวลาใกล้ๆ นี้


           ศักยภาพด้านท่าเรือของเวียดนามทั้งหมดอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลจีนใต้ หากเปรียบเทียบศักยภาพเชิงพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังของไทยจะมีความเสียเปรียบท่าเรือของเวียดนาม เพราะเป็นท่าเรือในอ่าวไทย   ซึ่งจะมีความเสียเปรียบในเชิงภูมิศาสตร์  ปัจจุบันสินค้าขาเข้าทางทะเล 90% ของ สปป.ลาวนั้น จะขนส่งผ่านประเทศไทย ซึ่ง สปป.ลาวก็อยากจะลดการพึ่งพาไทย โดยมีทางเลือกที่จะใช้เส้นทางหมายเลข 12 จากเวียงจันทน์จนถึงท่าเรือของเวียดนามทางภาคเหนือ ทั้งนี้ เวียดนาม ทางลาวไม่ค่อยให้ความสำคัญเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเชื่อมจังหวัดมุกดาหารข้ามสะพานแม่น้ำโขง 2 กับแขวงสะหวันนะเขต ผ่านเมืองลาวบาว เมืองเว้ ไปออกทะเลที่ท่าเรือดานัง ซึ่งทางเวียดนามเองยังไม่ชัดเจนในการพัฒนาท่าเรือ แห่งนี้ เนื่องจากเวียดนามมีการพัฒนาท่าเรือไซ่ง่อน (โฮจิมินห์ซิตี้) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้และโครงการพัฒนาท่าเรือทางภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับเมืองฮานอย  โดยเวียดนามเองมีโครงการระยะยาวที่จะสร้างท่าเรือดองฮาใกล้กับท่าเรือดานัง   ประเทศไทยจะต้องมีการศึกษาข้อเท็จจริง และหากเป็นจริงก็จะต้องมีการปรับยุทธศาสตร์ เพราะหากไทยยังต้องการที่จะพัฒนาระบบ Logistics ให้ประเทศเป็นศูนย์กลางคมนาคมของอนุภูมิภาค ก็จะต้องไม่มองข้ามการใช้เส้นทางในการแข่งขันกับเวียดนาม  ในด้านการพัฒนาท่าเรือ เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค

           ด้านการพัฒนาส่งเสริมการลงทุนของเวียดนาม โดยเวียดนามได้มีแผนงานปฏิรูประบบแผนงาน ซึ่งวางเป้าหมายในปี 2563 จะพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามประมาณร้อยละ 8.5 ซึ่งนับว่าสูงมาก โดยกลไกสำคัญเวียดนามต้องการพัฒนาประเทศเป็นศูนย์กลางขนส่งทางทะเล เพราะมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร โดยทางเหนือจะใช้ท่าเรือไฮฟอง ส่วนกลางของประเทศจะมีท่าเรือดานังหรือท่าเรือดองฮา และทางใต้ก็จะมีท่าเรือเซียงไฮ้ หากดูจากแผนที่แล้วเวียดนามจะตั้งอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จากการเป็น RIMLAND คือ ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลติดกับผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเส้นทางโลจิสติกส์ขนส่งทางทะเลผ่านทางเส้นทางมหาสมุทรแปซิฟิกไปสู่ประเทศจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย รวมทั้งสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี ในระยะสั้น ด้วยข้อจำกัดของภาคการผลิตทำให้เวียดนามยังขาดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากไทยแล้ว ไทยก็ยังมีความได้เปรียบ (Comparative Advantage) แต่ในระยะยาวแล้วเวียดนามก็ยังจะเป็นประเทศคู่แข่งที่น่ากลัว อันเนื่องจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ผลักดันเวียดนาม ก็คือ การมีทรัพยากรอันมหาศาลและค่าแรงขั้นต่ำที่เดือนละประมาณ 50 เหรียญ หรือ 2,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าเราเกือบ 2.5 เท่า จึงไม่น่าแปลกที่การลงทุนจากต่างประเทศมาลงทุนในเวียดนามเป็นที่ 2 รองจากจีน เฉพาะในปี 2547 มีเงินลงทุนจากต่างประเทศกว่า 4,000 ล้านดอลล่าร์ โดยประเทศที่ลงทุนในเวียดนามที่สำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ สิงคโปร์ , ไต้หวัน , ญี่ปุ่น , เกาหลีใต้ โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญต่อการลงทุนและมีการให้ GSP แก่เวียดนาม

           การพัฒนาโลจิสติกส์ของเวียดนามภาคเหนือ คงใช้ระยะเวลาอีกมาก เริ่มต้นจากสนามบินฮานอยยังเป็นสนามบินที่เล็กมากใกล้เคียงกับสนามบินสุราษฎร์ธานีของไทย ส่วนเส้นทางทางถนนมีถนนสายใหญ่เพียงสายเดียวที่ลงมาทางภาคใต้เป็นลักษณะมอเตอร์เวย์มีการเก็บค่าผ่านทางลักษณะของถนนจะยกเหนือพื้นดินประมาณ 2 เมตรเป็นถนน 4 เลน (ไป 2 เลน – กลับ 2 เลน) โดยช่วงที่ติดสี่แยกสังเกตว่าได้เริ่มมีการสร้างสะพานลอย เวียดนามมีโครงการก่อสร้างถนนและรางรถไฟเชื่อมจากฮานอยสู่ท่าเรือดานัง ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ของเวียดนาม เพื่อเตรียมพร้อมต่อการที่เวียดนามจะเข้าเป็นภาคีของ WTO (World Trade Organization) ซึ่งเวียดนามมีความมุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์จากเส้นทาง East-West Economic Corridor หรือเส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งเชื่อมโยงเมืองท่าดานังผ่านประเทศลาว ผ่านจังหวัดมุกดาหารของไทย โดยหวังว่าหลังจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงช่วงสุวรรณเขต-มุกดาหาร เสร็จ จะเป็นเส้นทางที่เวียดนามใช้ระบายสินค้าเข้าสู่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

           จุดด้อยของเวียดนาม คือ ปัญหาการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ยังไม่ก้าวหน้าส่งผลให้ค่าขนส่งสูงเมื่อเทียบกับไทย ไม่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขาดวัตถุดิบ ปัญหากฎหมายยังไม่โปร่งใส อันนี้เป็นปัญหาที่ทาง JICA ศึกษามา เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ไทยมีศักยภาพดีกว่ามาก อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีประชากรมีรายได้น้อยแต่มีอำนาจการซื้อสูงมาก เพราะได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศปีละ 2.8 พันล้านเหรียญ ได้รับในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่เรียกว่า Loan Cash  สินค้าไทยได้รับความนิยมจากเวียดนามแต่กำลังถูกสินค้าจากจีนเข้ามารุกตลาด ปัญหาของเวียดนามอีกประเด็นหนึ่งคือยังเป็นปัญหาของศุลกากร เรื่องราคาภาษีของศุลกากรนั้นมักจะสูงกว่าข้อเท็จจริง เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ถึงแม้ว่าเวียดนามจะมีศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งมีท่าเรืออยู่ริมฝั่งทะเล ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือหลักของโลก แต่ด้วยลักษณะของประเทศซึ่งอยู่ริมตะวันออกสุดของอนุภูมิภาค ทำให้ขาดคุณสมบัติของการเป็น HUB อีกทั้ง ปัญหาด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างคมนาคมขนส่งและปัญหาความไม่เป็นสากลของกลไกรัฐและกฎหมายทำให้ประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะปริมาณสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก ยังไม่มีปริมาณมากเพียงพอที่จะเป็น Original Port Base เมื่อเปรียบเทียบกับไทยแล้วก็ขาดศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และขนส่งของอนุภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง…


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 7256 ครั้ง
วันที่ : 28/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com