ห่วง"การเมือง"รุนแรง ฉุดการลงทุนหลังเลือกตั้ง Share


         ภาคเอกชนประสานเสียง ให้รัฐบาลใหม่ หา "มือดี"คุมกระทรวงเศรษฐกิจ และต้องมาจากพรรคเดียวกัน พร้อมแนะปรองดอง ลดคอร์รัปชั่น ขณะที่ผู้บริหาร "กิมเอ็ง"ชี้ หากไม่เกิดความวุ่นวายตลาดหุ้นยังดีดตัวได้อีก

         นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานที่ปรึกษากิติมศักดิ์ สภาอภุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แสดงความเห็นต่อรัฐบาลชุดใหม่ว่า ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ขอให้มาแล้วสามารถทำงานต่อได้เลย เพราะแต่ละพรรคก็มีตัว รัฐมนตรีกันอยู่แล้ว ขอแค่ชื่อที่ออกมาประชาชนไม่ยี้ และเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ และไม่ได้เป็น "นอมินี"ใครมากเกินไปก็พอ โดยอยากเห็น รมว.คลังที่เป็นคนมีความรู้ เพราะจะมีผลต่อตลาดทุน ตลาดเงิน นอกจากนี้ ถ้าเป็นไปได้อยากเห็น รมว.เศรษฐกิจที่เป็นทีมเดียวกันจะได้ประสานงานไปในทิศทางเดียวกัน เพราะที่ผ่านมาไม่มีทีมเศรษฐกิจที่มาจากทีมเดียวกัน

         ด้านดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท)กล่าวว่า หลังการเลือกตั้งมีแกนนำรัฐบาลสิ่งสำคัญที่ต้องขอให้จัดตั้งรัฐบาล และมีคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยเร็ว โดยเฉพาะกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญคือกระทรวงการคลัง ควรหาคนที่มีความรู้ความสามารถ ขณะเดียวกันคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจควรเป็นพรรคเดียวกันเพื่อให้สามารถประสานและ ดูแลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนี้ ควรเดินหน้านโยบายปรองดองเป็นวาระแห่งชาติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ชาติ เพราะหากการปรองดองไม่สามารถเกิดได้ อาจไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ในทางกลับกันหากรัฐบาลเข้ามาแล้วเกิดการคอร์รัปชันประเทศไทยก็จะยิ่งเดิน หน้าลำบาก และกระทบต่อเงินคงคลังของประเทศที่มีไม่มากนัก ขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่ควรดำเนินนโยบายสร้างคววามสัมพันธ์กับประเทศเพื่อน บ้านให้มาก เพื่อความพร้อมในการรุกตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ในปี 2558

ดร.ธนิต กล่าวอีกว่า หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล จะต้องใช้งบประมาณมหาศาลราว1.8 ล้านล้านบาท เพื่อดำเนินนโยบายตามที่ประกาศไว้ อาจทำให้ต้องกู้เงินทั้งในและนอกประเทศมาใช้ ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นมากจาก 28% เป็น 45% และรัฐบาลจะต้องจัดทำงบประมาณเป็นงบขาดดุลเป็นระยะเวลานาน

"พรรคเพื่อไทยมีคนที่จะมานั่งตำแหน่งรมว.คลังได้ ทั้งนายโอฬาร ไชยประวัติ นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช เป็นต้น แต่ก็ต้องหาคนมาดูแลกระทรวงอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันเพื่อทำตามโครงการต่างๆ ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะต้องเป็นคนที่เก่ง ถ้าไม่เก่งก็ลำบาก แต่ขณะนี้ก็ยังมองไม่เห็นมือดีที่จะมานั่งกระทรวงเศรษฐกิจเหล่านี้เลย" นายธนิต กล่าว

อย่างไรก็ดี หากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล ยอมรับว่านโยบายยังเป็นอนุรักษ์นิยม มีความระมัดระวังทำให้การใช้จ่ายงบประมาณไม่สูงมากนัก ดูแลงบดุลได้ดีกว่าพรรคเพื่อไทย ทำให้เกิดปัญหาคือการใช้งบลงทุนผ่านโครงการต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วน ที่เป็นรายจ่ายของภาครัฐจะลดน้อยลง ดังนั้นต้องหาแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดี จึงต้องมีรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดูแล

"การใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์น้อย ทำให้เงินลงทุนของภาครัฐอาจน้อยลงในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นต้องหามือดีมาดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งกระทรวงการคลัง ก็มีนายกรณ์ จาติกวณิช และมีมือดีอีกคนคือนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และต้องหามือดีมาดูแลกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นกระทรวงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านภาคเอกชนที่ทำหน้าที่ในการส่งออก จึงต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพราะเอกชนยังเป็นผู้ที่ลงทุนโดยตรงด้วย" ดร.ธนิต กล่าว


ด้านดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดหุ้น กล่าวถึงทิศทางและแนวโน้มตลาดหุ้นวันแรกของสัปดาห์ว่า น่าจะตอบสนองผลการเลือกตั้งในทางที่ดี และหากรัฐบาลใหม่สามารถดำเนินนโยบายได้ตามที่หาเสียงไว้ รวมทั้งมีเสถียรภาพจริง โอกาสที่หุ้นไทยจะปรับค่า พี/อี ให้ขึ้นไปอยู่ในระดับที่เท่ากับราคาหุ้นในตลาดเอเชียอื่นๆ ก็น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งหมายความว่า ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) จะไม่อยู่ในระดับที่ต่ำหรือมีราคาถูกอีกต่อไป

เช่นเดียวกับนางบุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้ารายย่อย บล.กิมเอ็ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ และไม่เกิดความวุ่นวายเกิดขึ้น ตลาดหุ้นในระยะสั้นๆ ก็น่าจะไปได้ดี เพราะพฤติกรรมของนักลงทุนไทยนั้น ไม่รังเกียจว่า ใครจะมาเป็นรัฐบาล เพียงแต่อาจจะดูว่า ทีมเศรษฐกิจเป็นใคร มีฝีมือมากแค่ไหน และตามนโยบายประชานิยมที่ต้องใช้เงินมากมายนั้น รัฐบาลจะหาเงินจากไหน หรือหากจะต้องออกหุ้นกู้จนต้องเป็นหนี้อีก รัฐบาลจะอธิบายอย่างไร

ด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวฝากรัฐบาลชุดใหม่ว่า ต้องการให้รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศมีมาตรการส่งเสริมอุตสหากรรมยาน ยนต์มากขึ้น โดยเฉพาะการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้ไทยมีความพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)ในปี 2558 เพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งเวียดนาม และอินโดนีเซียที่เริ่มมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ใน อนาคต ทั้งนี้หวังว่าหลังเลือกตั้งแล้ว ปัจจัยการเมืองไม่รุนแรงจะทำให้การลงทุนเดินหน้าต่อไปได้

"อย่างไรก็ตามการเมืองเป็นปัจจัยที่น่าห่วงจะกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เหมือนที่เกิดขึ้นในช่วง1-2ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ยอดขายรถยนต์ลดลง 15-20% และหากหลังเลือกตั้งไม่มีเหตุการณ์รุนแรงคาดว่าจะทำให้ภาพรวมดีขึ้น เพราะขณะนี้ราคาพืชผลทางการเกษตรดี ราคาน้ำมันก็คาดว่าอยู่ระดับกว่า100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คงไม่พุ่งสูงขึ้นเหมือนในอดีตที่ระดับ 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมก็คลี่คลายแล้วทำให้กำลังซื้อยังดี" นายศุภรัตน์ กล่าว


ที่มา : แนวหน้า


อ่าน : 1722 ครั้ง
วันที่ : 05/07/2011

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com