โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

การสำรวจเส้นทางถนนไทย- ลาว-เวียดนาม-จีน (1)

            ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2549 ผู้เขียนได้รับเชิญจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในการลงพื้นที่สำรวจเส้นทางขนส่งทางถนนจากประเทศไทย โดยใช้เส้นทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปในประเทศ สปป. ลาวผ่านประเทศเวียดนาม โดยการสำรวจจะไปสิ้นสุดที่นครหนานหนิงในมณฑลกวางสี ประเทศจีน โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการเดินทางก็เพื่อที่จะได้หาลู่ทางการค้า และเส้นทางถนนเข้าไปสู่จีนตอนใต้ (ที่ถูกต้องควรเป็นจีนภาคตะวันตกฉียงใต้) เพื่อที่จะใช้เป็นทางเลือกกับขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าระวางเรือ  (Sea Freight Charge) การขนส่งทางถนนอาจจะดูสูงกว่า แต่เมื่อดูถึงต้นทุนรวมพบว่าการขนส่งทางทะเลต้องใช้เวลาขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังจนถึงท่าเรือเซินเจิ้นหรือกวางโจว รวมระยะเวลาแล้ว 11-14 วัน และยังต้องขนส่งทางถนนจากท่าเรือไปจนถึงตอนกลางของประเทศ เมื่อรวมเบ็ดเสร็จแล้ว การขนส่งทางถนนก็ไม่ได้แพงกว่าการขนส่งทางทะเล โดยสามารถขนส่งได้จนถึงผู้รับปลายทางที่เรียกว่า Door To Door อีกทั้งการขนส่งจากหนองคายไปจนถึงนครหนานหนิงในมณฑลกวางสี ก็ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 4 วัน ซึ่งจะรวดเร็วกว่าการขนส่งทางทะเล ผู้เขียนเห็นว่า ผลของการสำรวจเส้นทางครั้งนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ จึงได้เรียบเรียงบทความออกเป็น 3-4 ตอน ซึ่งผู้อ่านที่มีความสนใจสามารถติดตามได้   อย่างไรก็ดี ข้อเขียนในบทความนี้เป็นมุมมองของผู้เขียน อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนถือว่ามาแลกเปลี่ยนความรู้กัน..ไม่มีใครถูกและใครผิด อันนี้ต้องบอกกันไว้ก่อน!!

            วันแรกของการเดินทาง ได้เริ่มจากจังหวัดหนองคาย โดยใช้เส้นทางข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเข้าไปในเขตลาว โดยได้แวะประชุมกับทางศุลกากรลาว ที่เรียกในภาษาลาวว่า “แผนกภาษี” ซึ่งพบว่าการขนส่งสินค้าจากลาวไปประเทศที่สาม ไทยยังไม่มีข้อตกลงสินค้าข้ามแดน จึงจะต้องมีการผ่านพิธีการศุลกากร โดยการทำ “ใบประกัน”  ซึ่งก็สามารถใช้แบบเงินสดหรือธนาคารค้ำประกัน จากธนาคารซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศลาว โดยสินค้าผ่านแดน ที่เรียกว่า Transit จากลาว ทางศุลกากรของประเทศลาวจะมีการเปิดตรวจ ที่เรียกว่า “เปิดเบิ่ง” หากสินค้าถูกต้องกับเอกสาร ก็จะทำการ Seal ตู้หรือที่ทางศุลกากรลาวเรียกว่า “หนีบกั่ว” ประเด็นที่น่าสังเกต จะมีรถสินค้าไทยไปจอดรอที่ด่านแต่เช้า โดยพิธีการศุลกากรของลาวก็ค่อนข้างจะมีมากพอควร  โดยสินค้าที่เป็นผัก ผลไม้ ก่อนจะเข้าประเทศลาวได้ จะต้องมีการตรวจกักกันพืชจากฝั่งไทย โดยการทำใบขนสินค้าจะต้องกระทำ โดยชิปปิ้ง ซึ่งจะต้องมี License หรือใบอนุญาตจาก สปป.ลาว ซึ่งประเด็นสำคัญ ก็คือ การกรอกข้อความในใบขนสินค้า ซึ่งต้องใช้ภาษาลาว ซึ่งไม่ใช่ภาษาสากล ทำให้เป็นปัญหาเพราะต้องใช้เขียนด้วยลายมือ ขณะที่ของไทยเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI  และกำลังจะข้ามขั้นไปสู่ระบบไร้เอกสาร Paperless สำหรับรถบรรทุกที่เข้าไปลาวนั้น เรื่องจากระบบการจราจรต่างกับไทย เพราะทางลาวขับชิดขวา รถไทย หากจะเข้าไปลาวจึงต้องเป็นแบบ พวงมาลัยจากขวาเป็นซ้าย หากเปลี่ยนก็จะต้องขออนุญาตตามระเบียบของลาว ซึ่งจะต้องมีตำรวจนำส่งจนถึงชายแดน (ข้อเท็จจริงคงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) โดยเส้นทางการขนส่งจากอีสานตอนบนที่จะไปประเทศเวียดนามจะต้องใช้เส้นทางหมายเลข 13 จากแขวงบอลิคำไซ โดยผ่านเมืองปากซัน ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย หลังจากนั้นเส้นทางจะเข้าสู่เมืองคำเกิด ซึ่งเป็นทางแยกเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 8 ซึ่งหากตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 13 ก็จะเข้าไปเมืองท่าแขก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับนครพนม ทั้งนี้ การเดินทางของการสำรวจได้เลือกที่จะเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 8 จากเมืองคำเกิดเพื่อไปสู่เมืองหลักซาว ซึ่งถือเป็นชุมทางขนส่งหรือ HUB ของลาว โดยเส้นทางหมายเลข 8 เดิมทีเป็นถนนยุทธศาสตร์ทางทหาร เส้นทางจึงคดเคี้ยวผ่านไปทางไหล่เขา ถนนยังแคบแต่ก็มีควายมากกว่ารถ การจราจรจึงไม่เป็นปัญหา อีกทั้งต้องผ่านสะพานถึง 7 แห่ง ซึ่งสร้างด้วยไม้ โดยมีป้ายระบุว่า รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 20 เมตริกตัน อาจจะเป็นปัญหาเมื่อมีการขนส่งด้วยรถคอนเทนเนอร์ ซึ่งปัจจุบันก็มีรถคอนเทนเนอร์ของไทย ซึ่งพึ่งบุกเบิกเส้นทางนี้ จะมีสัปดาห์ละประมาณ 4-5 เที่ยว แต่หากว่ามีการขนส่งเป็นเรื่องเป็นราวเดือนละหลายร้อยเที่ยว คงจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยแน่นอน ประเทศลาวจะไม่ค่อยพัฒนาเส้นทางหรือสะพานเหล่านี้ เพราะถือว่าไม่มีรถบรรทุกลาวใช้ ซึ่งไม่ได้มีปัญหาเฉพาะเส้นทางหมายเลข 8 นี้เท่านั้น ในเส้นทาง R3E ที่เชื่อมไทย-ลาว-จีน จากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ซึ่งประเทศไทยออกค่าใช้จ่ายให้ 1 ใน 3  ส่วนที่เหลือประเทศลาว  ก็ไม่สนใจที่จะก่อสร้าง อีกทั้งเส้นทางที่จะต่อเชื่อมไปจนถึงแขวงหลวงน้ำทาในส่วนของไทยนั้นก็คาดว่าในอีก 2 ปี คงเสร็จ สำหรับส่วนที่จีนรับผิดชอบจากเมืองบ่อหานก็คงเสร็จได้ในเวลาใกล้เคียงกัน แต่ส่วนที่ลาวต้องรับผิดชอบแขวงจากหลวงน้ำทามาเมืองเวียงภูคา ก็ยังไม่มีโครงการว่าจะก่อสร้างเมื่อใด ด้วยเหตุผลเดียวกันก็คือ ลาวไม่ได้ประโยชน์เพราะคงจะมีรถจีนกับไทยเท่านั้นที่ใช้ซึ่งทางลาวก็บอกว่าใครจะใช้ก็จ่ายเอง  สู..ให้ที่สร้างเท่านั้น ดังนั้น ที่หลายฝ่ายฝากความหวังไว้กับเส้นทางนี้ก็คงจะต้องรออีกนาน นอกจากไทยหรือจีนจะควักกระเป๋าจ่ายค่าก่อสร้างแทนลาว อย่างนี้คงไม่มีปัญหา

           กรณีสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ที่อำเภอเชียงของก็เป็นอีกโครงการหนึ่งซึ่งติดปัญหาในลักษณะนี้ โดยยังเป็นข้อถกเถียงในการเจรจา ซึ่งเร็วๆนี้ก็ยังตกลงไม่ได้ว่าใครจะออกสตางค์ เพราะทั้งไทย-ลาว ประเมินงบประมาณไว้ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จีนบอกว่า ค่าก่อสร้างตัวสะพานเพียง 10 ล้านบาท  ที่ราคาที่สูงนั้นเป็นค่าก่อสร้างถนนที่เชื่อมสะพานทั้งฝั่งไทย-ลาว ซึ่งจีนไม่เห็นด้วย  อย่างไรก็ดี เส้นทาง R3E ไม่อยากให้มองตัวสะพานเป็นอุปสรรค เพราะหากสะพานยังไม่ลงตัวกันก็สามารถขนส่งสินค้าด้วยแพขนานยนต์ อย่างเช่นที่ใช้ข้ามมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขตปัจจุบัน ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 นี้ จะเสร็จในเดือนธันวาคม 2549 นี้ ปัจจุบันก็มีสินค้าจากทั้งไทยและลาวข้ามไปมาวันละหลายเที่ยว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นเส้นทางหลัก East West Economic Corridor เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่ควรเสียโอกาส เนื่องจาก เส้นทาง R3E จากเชียงของ-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา ในส่วนที่ไทยก่อสร้างจะเสร็จแน่นอนในปีหน้าหรือไม่เกินอีก 2 ปี  ก็จะสามารถขนส่งสินค้าเข้าไปในแขวงเหล่านี้ โดยไม่จำเป็นต้องรอสะพานหรือถนนในส่วนที่ลาวรับผิดชอบ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อใด


สำรวจเส้นทางถนนไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน  (2)

           จากฉบับที่แล้วผมได้พาท่านผู้อ่านสำรวจเส้นทางถนน เพื่อที่จะไปมณฑลกวางสีประเทศจีน โดยข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 8 เพื่อไป เมืองหลักซาว แขวงคำม่วน  และข้ามพรมแดนเวียดนาม ที่จังหวัดกวางสี  ประเทศลาวนั้นเป็นประเทศไม่มีทางออกทะเล โดยมีข้อตกลงขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว ทั้งนี้นโยบายที่ไทยต้องการเป็นศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาคอินโดจีน ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างประเทศของลาวในการที่จะให้ไทยใช้เป็น Land Bridge เชื่อมโยงกับเวียดนามและจีนตอนใต้ ซึ่ง สปป.ลาว ปัจจุบันจะมีความตื่นตัวมากเกี่ยวกับเส้นทางเชื่อมโยงข้ามประเทศเพราะลาวมีนโยบายเปลี่ยน Land Look ให้เป็น Land Link โดย”กรมหัวทางของลาว” ซึ่งก็คือกรมขนส่งทางบก จะมีส่วนร่วมอยู่ในทุกเวทีระหว่างประเทศ โดยภายใต้กรอบ GMS ได้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงในปัจจุบัน 2 จุด คือสะพานมิตรภาพไทย-ลาวระหว่างหนองคาย-ท่านาแร้ง-กำแพงเวียงจันทร์ และอีกแห่งซึ่งกำลังจะเสร็จในปี 2549 คือสะพานข้ามแม่น้ำโขง ที่มุกดาหาร-สะหวันนะเขต สำหรับโครงการต่อไป คือ สะพานแห่งที่ 3 ที่อำเภอเชียงของ-ห้วยทราย-แขวงบ่อเต็น โดยมีเส้นทางขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศจีนจากอำเภอ เชียงของ-บ่อแก้ว-อุดมไซ-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-บ่อหาน ไปจนถึงเมืองคุนหมิง ซึ่งคาดว่าในปี 2550 จะแล้วเสร็จ ก็จะเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งเชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน

          ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าข้ามแดนลาวจะเกี่ยวกับการอนุญาตให้รถบรรทุกของแต่ละฝ่ายเข้าไปใช้ดินแดนในประเทศ แต่ลักษณะการจราจรของลาว รถจะขับชิดขวาเพราะพวงมาลัยอยู่ทางซ้าย โดยรถบรรทุกของไทยซึ่งพวงมาลัยอยู่ข้างขวาจะขับชิดซ้าย โดยจะต้องขออนุญาตก่อนที่จะเข้าไปในลาว ซึ่งตามระเบียบ( แต่ไม่ต้องทำ) จะต้องมีรถตำรวจนำ เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการขนส่ง  จากหนองคายไปจนถึงท่านาแร้ง ระยะทาง 3.8 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ระหว่างการประมูลโดยลาวมีโครงการพัฒนาสถานีรถไฟที่บ้านโชคคำ เพื่อพัฒนาเป็น ICD หรือศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเชื่อมโยงขนส่งทางรางกับทางถนน ประกอบด้วยคลังสินค้าและเครื่องทุนแรงโดยนัยว่าตู้สินค้าของไทยอาจต้องมาเปลี่ยนหัวลากที่นี่   ซึ่งโครงการเช่นนี้ในฝั่งหนองคายยังไม่เกิด

 นอกจากนี้ลาวกำลังพิจารณาโครงการของประเทศฝรั่งเศสในการสร้างเส้นทางรถไฟจากเวียงจันทร์ไปกรุงพนมเปญของกัมพูชาแต่ติดว่าโครงการคงเกิดยากเพราะขาดปัจจัยด้าน DEMAND สำหรับประเทศไทยก็มีโครงการตัดทางรถไฟจากอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่เข้าไปเชื่อมกับรถไฟของลาว น่าจะเป็นโครงการในฝันเช่นกันเพราะ เส้นทางรถไฟในลาวต้องลงทุนมาก ด้วยลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้จีนมีทางเลือกในการเชื่อมทางรถไฟกับเวียดนามซึ่งทำได้ง่ายและประหยัดกว่าเนื่องจากในเวียดนามมีเส้นทางรถไฟขนานกับทางหลวงสาย A1 ตั้งแต่กรุงฮานอยจนถึงนครโฮจิมินต์ทางภาคใต้และเป็นเพราะเส้นทางรางที่ใช้งานอยู่แล้ว โดยจีนไม่ต้องลงทุนอะไร

           ในประเทศเวียดนามการขนส่งสินค้าทางถนนจากไทยผ่านประเทศลาวและเวียดนามเพื่อไปประเทศจีนสามารถเลือกเส้นทางได้หลายทางได้แก่ (1) เส้นทางหมายเลข 8 ผ่านหลักซาว (Lax-Sao) ไปออกด่าน       โกวโทว (Gau-Treo) ของเวียดนาม ระยะทางจากหนองคายจนถึงชายแดนเวียดนามประมาณ 389 กิโลเมตร  (2) ข้ามแพขนานยนต์จากนครพนมไปเมืองปากเซของลาว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 12 ผ่านเมืองยมราช ไปบรรจบเส้นทางหมายเลข 8 ซึ่งอาจจะเลือกที่จะไปออกด่านจะลอและเข้าไปในเวียดนาม (3) อีกเส้นทางหนึ่งสามารถขนส่งสินค้าข้ามสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต โดยใช้เส้นทางหมายเลข 9 ไปออกชายแดนเวียดนามที่ด่านลาวบาว (Lao Bao) ระยะทางในประเทศลาว 210 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางหมายเลข 9 จะเป็นเส้นทางหลัก ในการเชื่อมโยงไทย-ลาวและเวียดนาม โดยระยะทางจากพรมแดนลาว-เวียดนาม       หากใช้ทางหมายเลข 9 จากชายแดนไปนครเว้จนถึงเมืองดองฮาเป็นระยะทาง 83 กิโลเมตร  โดยทุกเส้นทางจะต้องไปใช้ทางหมายเลข A-1 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของเวียดนามที่จะไปสู่จีนโดยมีเมืองดองฮาเป็นศูนย์กลางผ่านกรุงฮานอยจนถึงชายแดนจีน เป็นระยะทางประมาณ 850-900 กิโลเมตร เพื่อไปข้ามพรมแดนจีนที่ด่าน   โยวยีกวาน หรือด่านมิตรภาพจากตรงที่จีนได้สร้างถนน ระดับ Interstate Hi-Way เป็นถนน 4 เลน ผ่านเมืองผิงเสียวไปจนถึงนครหนานหนิง (Nanning) ในมณฑลกวางสี ซึ่งจะมีเส้นทางเชื่อมโยงจีนได้ทั้งประเทศ โดยระยะทางเริ่มต้นที่มุกดาหาร โดยใช้การขนส่งทางถนนมาจีนจะเป็นระยะทางประมาณ 1,200 กิโลเมตร ก็จะถึงชายแดนจีนซึ่งเส้นทางขนส่งสินค้าถนนหากจะใช้เส้นทางผ่านอีสานควรใช้เส้นทางหมายเลข 9 เพราะถนนเสร็จเรียบร้อยและเส้นทางจะตัดตรงจะดีกว่าใช้ทางหมายเลข 8 ซึ่งมีปัญหาทางแคบ

               การที่ไทยจะสมอยากในการเป็นศูนย์กลาง     โลจิสติกส์ของภูมิภาคปัจจัยสำคัญอยู่ที่จีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ก็อยากจะเป็นด้วย โดยพัฒนา 2 มณฑล คือยูนนานกับกวางสี ซึ่งคนจีนบอกว่าอยู่ทางทิศตะวันตกแต่คนไทยบอกว่าอยู่ทางตอนใต้ โดยจีนกำหนดยุทธศาสตร์ให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนนานและนครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลางการค้าและขนส่ง เชื่อมโยงไทยผ่านไปประเทศในกลุ่มอาเซียนและมียุทธศาสตร์ให้นครหนานหนิงในมณฑลกวางสีเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนามผ่านไป อาเซียนอีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งมณฑลกวางสี เป็นเขตการปกครองตนเองของชนชาติจ้วง โดยเมืองหนานหนิงได้มีการพัฒนาทั้งระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานในการเป็น Regional Hub ของภูมิภาค โดยมีเส้นทาง Super Hi-Way เชื่อมต่อกับเมืองคุนหมิงจากเมืองหนานหนิงซึ่งจะเป็น HUB จะมีถนนเชื่อมต่อไปกับเมืองภายในประเทศจีนและเมืองอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออกเช่น       เมืองกวางโจว ,เมืองเซิ้นเจิ้น,และยังขนส่งไปทางเซียงไฮ้ จนถึงกรุงปักกิ่งทางเหนือ โดยเมืองหนานหนิง เป็นเมืองสำคัญของจีนเพราะเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีนิคมอุตสาหกรรมจีนโพ้นทะเลมาลงทุนเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของกวางสียังคงพึ่งพาภาคการเกษตร มีการปลูกอ้อยเป็นจำนวนมาก ผลิตน้ำตาลมากที่สุดในจีน สำหรับด้านอุตสาหกรรม เริ่มมีต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยมีนักธุรกิจของจีนไปลงทุนในหนานหนิงมากกว่าในคุนหมิง   ซึ่งจีนวางไว้เป็นเมืองด้านการเกษตร ขณะที่เมืองหนานหนิง ถูกวางไว้เป็นเมืองอุตสาหกรรมคู่แฝดกับเมืองกวางโจวโดยจะใช้เมืองหนานหนิงเป็นฐานอุตสาหกรรม สำหรับเจาะสินค้าเข้าไทยและอาเซียนผ่านเส้นทางในเวียดนามและทางหมายเลข 9 สู่จังหวัดมุกดาหารของไทย

              จีนนั้นเมื่อเขากำหนดยุทธศาสตร์ จะทำเป็นขั้นตอนมีแผนงานและเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงมีงบประมาณและมีการบูรณาการกับทุกหน่วยงาน จะเห็นได้จากการพัฒนา เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ เช่น เมืองคุนหมิงและหนานหนิง ซึ่งต่างกับประเทศไทย แผนยุทธศาสตร์ของไทยจะเน้นแต่รูปแบบทางวิชาการ มีวลีที่ลอกศัพท์ฝรั่งมาเพื่อให้ฟังยากๆ ซึ่งผมเห็นว่า ยิ่งวัน ศัพท์แสงพวกนี้รุงรังไปหมด แต่การนำมาใช้ประโยชน์กลับไม่ค่อยได้เห็น เพราะของเรา Planning หมายถึง PLAN แล้ว NING (นิ่ง) ....ครับ!! 

" />
       
 

การสำรวจเส้นทางถนนไทย- ลาว-เวียดนาม-จีน (1) Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP

การสำรวจเส้นทางถนนไทย- ลาว-เวียดนาม-จีน (1)

            ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2549 ผู้เขียนได้รับเชิญจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในการลงพื้นที่สำรวจเส้นทางขนส่งทางถนนจากประเทศไทย โดยใช้เส้นทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปในประเทศ สปป. ลาวผ่านประเทศเวียดนาม โดยการสำรวจจะไปสิ้นสุดที่นครหนานหนิงในมณฑลกวางสี ประเทศจีน โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการเดินทางก็เพื่อที่จะได้หาลู่ทางการค้า และเส้นทางถนนเข้าไปสู่จีนตอนใต้ (ที่ถูกต้องควรเป็นจีนภาคตะวันตกฉียงใต้) เพื่อที่จะใช้เป็นทางเลือกกับขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าระวางเรือ  (Sea Freight Charge) การขนส่งทางถนนอาจจะดูสูงกว่า แต่เมื่อดูถึงต้นทุนรวมพบว่าการขนส่งทางทะเลต้องใช้เวลาขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังจนถึงท่าเรือเซินเจิ้นหรือกวางโจว รวมระยะเวลาแล้ว 11-14 วัน และยังต้องขนส่งทางถนนจากท่าเรือไปจนถึงตอนกลางของประเทศ เมื่อรวมเบ็ดเสร็จแล้ว การขนส่งทางถนนก็ไม่ได้แพงกว่าการขนส่งทางทะเล โดยสามารถขนส่งได้จนถึงผู้รับปลายทางที่เรียกว่า Door To Door อีกทั้งการขนส่งจากหนองคายไปจนถึงนครหนานหนิงในมณฑลกวางสี ก็ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 4 วัน ซึ่งจะรวดเร็วกว่าการขนส่งทางทะเล ผู้เขียนเห็นว่า ผลของการสำรวจเส้นทางครั้งนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ จึงได้เรียบเรียงบทความออกเป็น 3-4 ตอน ซึ่งผู้อ่านที่มีความสนใจสามารถติดตามได้   อย่างไรก็ดี ข้อเขียนในบทความนี้เป็นมุมมองของผู้เขียน อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนถือว่ามาแลกเปลี่ยนความรู้กัน..ไม่มีใครถูกและใครผิด อันนี้ต้องบอกกันไว้ก่อน!!

            วันแรกของการเดินทาง ได้เริ่มจากจังหวัดหนองคาย โดยใช้เส้นทางข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเข้าไปในเขตลาว โดยได้แวะประชุมกับทางศุลกากรลาว ที่เรียกในภาษาลาวว่า “แผนกภาษี” ซึ่งพบว่าการขนส่งสินค้าจากลาวไปประเทศที่สาม ไทยยังไม่มีข้อตกลงสินค้าข้ามแดน จึงจะต้องมีการผ่านพิธีการศุลกากร โดยการทำ “ใบประกัน”  ซึ่งก็สามารถใช้แบบเงินสดหรือธนาคารค้ำประกัน จากธนาคารซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศลาว โดยสินค้าผ่านแดน ที่เรียกว่า Transit จากลาว ทางศุลกากรของประเทศลาวจะมีการเปิดตรวจ ที่เรียกว่า “เปิดเบิ่ง” หากสินค้าถูกต้องกับเอกสาร ก็จะทำการ Seal ตู้หรือที่ทางศุลกากรลาวเรียกว่า “หนีบกั่ว” ประเด็นที่น่าสังเกต จะมีรถสินค้าไทยไปจอดรอที่ด่านแต่เช้า โดยพิธีการศุลกากรของลาวก็ค่อนข้างจะมีมากพอควร  โดยสินค้าที่เป็นผัก ผลไม้ ก่อนจะเข้าประเทศลาวได้ จะต้องมีการตรวจกักกันพืชจากฝั่งไทย โดยการทำใบขนสินค้าจะต้องกระทำ โดยชิปปิ้ง ซึ่งจะต้องมี License หรือใบอนุญาตจาก สปป.ลาว ซึ่งประเด็นสำคัญ ก็คือ การกรอกข้อความในใบขนสินค้า ซึ่งต้องใช้ภาษาลาว ซึ่งไม่ใช่ภาษาสากล ทำให้เป็นปัญหาเพราะต้องใช้เขียนด้วยลายมือ ขณะที่ของไทยเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI  และกำลังจะข้ามขั้นไปสู่ระบบไร้เอกสาร Paperless สำหรับรถบรรทุกที่เข้าไปลาวนั้น เรื่องจากระบบการจราจรต่างกับไทย เพราะทางลาวขับชิดขวา รถไทย หากจะเข้าไปลาวจึงต้องเป็นแบบ พวงมาลัยจากขวาเป็นซ้าย หากเปลี่ยนก็จะต้องขออนุญาตตามระเบียบของลาว ซึ่งจะต้องมีตำรวจนำส่งจนถึงชายแดน (ข้อเท็จจริงคงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) โดยเส้นทางการขนส่งจากอีสานตอนบนที่จะไปประเทศเวียดนามจะต้องใช้เส้นทางหมายเลข 13 จากแขวงบอลิคำไซ โดยผ่านเมืองปากซัน ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย หลังจากนั้นเส้นทางจะเข้าสู่เมืองคำเกิด ซึ่งเป็นทางแยกเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 8 ซึ่งหากตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 13 ก็จะเข้าไปเมืองท่าแขก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับนครพนม ทั้งนี้ การเดินทางของการสำรวจได้เลือกที่จะเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 8 จากเมืองคำเกิดเพื่อไปสู่เมืองหลักซาว ซึ่งถือเป็นชุมทางขนส่งหรือ HUB ของลาว โดยเส้นทางหมายเลข 8 เดิมทีเป็นถนนยุทธศาสตร์ทางทหาร เส้นทางจึงคดเคี้ยวผ่านไปทางไหล่เขา ถนนยังแคบแต่ก็มีควายมากกว่ารถ การจราจรจึงไม่เป็นปัญหา อีกทั้งต้องผ่านสะพานถึง 7 แห่ง ซึ่งสร้างด้วยไม้ โดยมีป้ายระบุว่า รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 20 เมตริกตัน อาจจะเป็นปัญหาเมื่อมีการขนส่งด้วยรถคอนเทนเนอร์ ซึ่งปัจจุบันก็มีรถคอนเทนเนอร์ของไทย ซึ่งพึ่งบุกเบิกเส้นทางนี้ จะมีสัปดาห์ละประมาณ 4-5 เที่ยว แต่หากว่ามีการขนส่งเป็นเรื่องเป็นราวเดือนละหลายร้อยเที่ยว คงจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยแน่นอน ประเทศลาวจะไม่ค่อยพัฒนาเส้นทางหรือสะพานเหล่านี้ เพราะถือว่าไม่มีรถบรรทุกลาวใช้ ซึ่งไม่ได้มีปัญหาเฉพาะเส้นทางหมายเลข 8 นี้เท่านั้น ในเส้นทาง R3E ที่เชื่อมไทย-ลาว-จีน จากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ซึ่งประเทศไทยออกค่าใช้จ่ายให้ 1 ใน 3  ส่วนที่เหลือประเทศลาว  ก็ไม่สนใจที่จะก่อสร้าง อีกทั้งเส้นทางที่จะต่อเชื่อมไปจนถึงแขวงหลวงน้ำทาในส่วนของไทยนั้นก็คาดว่าในอีก 2 ปี คงเสร็จ สำหรับส่วนที่จีนรับผิดชอบจากเมืองบ่อหานก็คงเสร็จได้ในเวลาใกล้เคียงกัน แต่ส่วนที่ลาวต้องรับผิดชอบแขวงจากหลวงน้ำทามาเมืองเวียงภูคา ก็ยังไม่มีโครงการว่าจะก่อสร้างเมื่อใด ด้วยเหตุผลเดียวกันก็คือ ลาวไม่ได้ประโยชน์เพราะคงจะมีรถจีนกับไทยเท่านั้นที่ใช้ซึ่งทางลาวก็บอกว่าใครจะใช้ก็จ่ายเอง  สู..ให้ที่สร้างเท่านั้น ดังนั้น ที่หลายฝ่ายฝากความหวังไว้กับเส้นทางนี้ก็คงจะต้องรออีกนาน นอกจากไทยหรือจีนจะควักกระเป๋าจ่ายค่าก่อสร้างแทนลาว อย่างนี้คงไม่มีปัญหา

           กรณีสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ที่อำเภอเชียงของก็เป็นอีกโครงการหนึ่งซึ่งติดปัญหาในลักษณะนี้ โดยยังเป็นข้อถกเถียงในการเจรจา ซึ่งเร็วๆนี้ก็ยังตกลงไม่ได้ว่าใครจะออกสตางค์ เพราะทั้งไทย-ลาว ประเมินงบประมาณไว้ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จีนบอกว่า ค่าก่อสร้างตัวสะพานเพียง 10 ล้านบาท  ที่ราคาที่สูงนั้นเป็นค่าก่อสร้างถนนที่เชื่อมสะพานทั้งฝั่งไทย-ลาว ซึ่งจีนไม่เห็นด้วย  อย่างไรก็ดี เส้นทาง R3E ไม่อยากให้มองตัวสะพานเป็นอุปสรรค เพราะหากสะพานยังไม่ลงตัวกันก็สามารถขนส่งสินค้าด้วยแพขนานยนต์ อย่างเช่นที่ใช้ข้ามมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขตปัจจุบัน ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 นี้ จะเสร็จในเดือนธันวาคม 2549 นี้ ปัจจุบันก็มีสินค้าจากทั้งไทยและลาวข้ามไปมาวันละหลายเที่ยว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 9 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นเส้นทางหลัก East West Economic Corridor เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่ควรเสียโอกาส เนื่องจาก เส้นทาง R3E จากเชียงของ-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา ในส่วนที่ไทยก่อสร้างจะเสร็จแน่นอนในปีหน้าหรือไม่เกินอีก 2 ปี  ก็จะสามารถขนส่งสินค้าเข้าไปในแขวงเหล่านี้ โดยไม่จำเป็นต้องรอสะพานหรือถนนในส่วนที่ลาวรับผิดชอบ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อใด


สำรวจเส้นทางถนนไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน  (2)

           จากฉบับที่แล้วผมได้พาท่านผู้อ่านสำรวจเส้นทางถนน เพื่อที่จะไปมณฑลกวางสีประเทศจีน โดยข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 8 เพื่อไป เมืองหลักซาว แขวงคำม่วน  และข้ามพรมแดนเวียดนาม ที่จังหวัดกวางสี  ประเทศลาวนั้นเป็นประเทศไม่มีทางออกทะเล โดยมีข้อตกลงขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว ทั้งนี้นโยบายที่ไทยต้องการเป็นศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาคอินโดจีน ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างประเทศของลาวในการที่จะให้ไทยใช้เป็น Land Bridge เชื่อมโยงกับเวียดนามและจีนตอนใต้ ซึ่ง สปป.ลาว ปัจจุบันจะมีความตื่นตัวมากเกี่ยวกับเส้นทางเชื่อมโยงข้ามประเทศเพราะลาวมีนโยบายเปลี่ยน Land Look ให้เป็น Land Link โดย”กรมหัวทางของลาว” ซึ่งก็คือกรมขนส่งทางบก จะมีส่วนร่วมอยู่ในทุกเวทีระหว่างประเทศ โดยภายใต้กรอบ GMS ได้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงในปัจจุบัน 2 จุด คือสะพานมิตรภาพไทย-ลาวระหว่างหนองคาย-ท่านาแร้ง-กำแพงเวียงจันทร์ และอีกแห่งซึ่งกำลังจะเสร็จในปี 2549 คือสะพานข้ามแม่น้ำโขง ที่มุกดาหาร-สะหวันนะเขต สำหรับโครงการต่อไป คือ สะพานแห่งที่ 3 ที่อำเภอเชียงของ-ห้วยทราย-แขวงบ่อเต็น โดยมีเส้นทางขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศจีนจากอำเภอ เชียงของ-บ่อแก้ว-อุดมไซ-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-บ่อหาน ไปจนถึงเมืองคุนหมิง ซึ่งคาดว่าในปี 2550 จะแล้วเสร็จ ก็จะเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งเชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน

          ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าข้ามแดนลาวจะเกี่ยวกับการอนุญาตให้รถบรรทุกของแต่ละฝ่ายเข้าไปใช้ดินแดนในประเทศ แต่ลักษณะการจราจรของลาว รถจะขับชิดขวาเพราะพวงมาลัยอยู่ทางซ้าย โดยรถบรรทุกของไทยซึ่งพวงมาลัยอยู่ข้างขวาจะขับชิดซ้าย โดยจะต้องขออนุญาตก่อนที่จะเข้าไปในลาว ซึ่งตามระเบียบ( แต่ไม่ต้องทำ) จะต้องมีรถตำรวจนำ เป็นอุปสรรคที่สำคัญของการขนส่ง  จากหนองคายไปจนถึงท่านาแร้ง ระยะทาง 3.8 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ระหว่างการประมูลโดยลาวมีโครงการพัฒนาสถานีรถไฟที่บ้านโชคคำ เพื่อพัฒนาเป็น ICD หรือศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเชื่อมโยงขนส่งทางรางกับทางถนน ประกอบด้วยคลังสินค้าและเครื่องทุนแรงโดยนัยว่าตู้สินค้าของไทยอาจต้องมาเปลี่ยนหัวลากที่นี่   ซึ่งโครงการเช่นนี้ในฝั่งหนองคายยังไม่เกิด

 นอกจากนี้ลาวกำลังพิจารณาโครงการของประเทศฝรั่งเศสในการสร้างเส้นทางรถไฟจากเวียงจันทร์ไปกรุงพนมเปญของกัมพูชาแต่ติดว่าโครงการคงเกิดยากเพราะขาดปัจจัยด้าน DEMAND สำหรับประเทศไทยก็มีโครงการตัดทางรถไฟจากอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่เข้าไปเชื่อมกับรถไฟของลาว น่าจะเป็นโครงการในฝันเช่นกันเพราะ เส้นทางรถไฟในลาวต้องลงทุนมาก ด้วยลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้จีนมีทางเลือกในการเชื่อมทางรถไฟกับเวียดนามซึ่งทำได้ง่ายและประหยัดกว่าเนื่องจากในเวียดนามมีเส้นทางรถไฟขนานกับทางหลวงสาย A1 ตั้งแต่กรุงฮานอยจนถึงนครโฮจิมินต์ทางภาคใต้และเป็นเพราะเส้นทางรางที่ใช้งานอยู่แล้ว โดยจีนไม่ต้องลงทุนอะไร

           ในประเทศเวียดนามการขนส่งสินค้าทางถนนจากไทยผ่านประเทศลาวและเวียดนามเพื่อไปประเทศจีนสามารถเลือกเส้นทางได้หลายทางได้แก่ (1) เส้นทางหมายเลข 8 ผ่านหลักซาว (Lax-Sao) ไปออกด่าน       โกวโทว (Gau-Treo) ของเวียดนาม ระยะทางจากหนองคายจนถึงชายแดนเวียดนามประมาณ 389 กิโลเมตร  (2) ข้ามแพขนานยนต์จากนครพนมไปเมืองปากเซของลาว โดยใช้เส้นทางหมายเลข 12 ผ่านเมืองยมราช ไปบรรจบเส้นทางหมายเลข 8 ซึ่งอาจจะเลือกที่จะไปออกด่านจะลอและเข้าไปในเวียดนาม (3) อีกเส้นทางหนึ่งสามารถขนส่งสินค้าข้ามสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต โดยใช้เส้นทางหมายเลข 9 ไปออกชายแดนเวียดนามที่ด่านลาวบาว (Lao Bao) ระยะทางในประเทศลาว 210 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางหมายเลข 9 จะเป็นเส้นทางหลัก ในการเชื่อมโยงไทย-ลาวและเวียดนาม โดยระยะทางจากพรมแดนลาว-เวียดนาม       หากใช้ทางหมายเลข 9 จากชายแดนไปนครเว้จนถึงเมืองดองฮาเป็นระยะทาง 83 กิโลเมตร  โดยทุกเส้นทางจะต้องไปใช้ทางหมายเลข A-1 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของเวียดนามที่จะไปสู่จีนโดยมีเมืองดองฮาเป็นศูนย์กลางผ่านกรุงฮานอยจนถึงชายแดนจีน เป็นระยะทางประมาณ 850-900 กิโลเมตร เพื่อไปข้ามพรมแดนจีนที่ด่าน   โยวยีกวาน หรือด่านมิตรภาพจากตรงที่จีนได้สร้างถนน ระดับ Interstate Hi-Way เป็นถนน 4 เลน ผ่านเมืองผิงเสียวไปจนถึงนครหนานหนิง (Nanning) ในมณฑลกวางสี ซึ่งจะมีเส้นทางเชื่อมโยงจีนได้ทั้งประเทศ โดยระยะทางเริ่มต้นที่มุกดาหาร โดยใช้การขนส่งทางถนนมาจีนจะเป็นระยะทางประมาณ 1,200 กิโลเมตร ก็จะถึงชายแดนจีนซึ่งเส้นทางขนส่งสินค้าถนนหากจะใช้เส้นทางผ่านอีสานควรใช้เส้นทางหมายเลข 9 เพราะถนนเสร็จเรียบร้อยและเส้นทางจะตัดตรงจะดีกว่าใช้ทางหมายเลข 8 ซึ่งมีปัญหาทางแคบ

               การที่ไทยจะสมอยากในการเป็นศูนย์กลาง     โลจิสติกส์ของภูมิภาคปัจจัยสำคัญอยู่ที่จีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ก็อยากจะเป็นด้วย โดยพัฒนา 2 มณฑล คือยูนนานกับกวางสี ซึ่งคนจีนบอกว่าอยู่ทางทิศตะวันตกแต่คนไทยบอกว่าอยู่ทางตอนใต้ โดยจีนกำหนดยุทธศาสตร์ให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนนานและนครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลางการค้าและขนส่ง เชื่อมโยงไทยผ่านไปประเทศในกลุ่มอาเซียนและมียุทธศาสตร์ให้นครหนานหนิงในมณฑลกวางสีเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนามผ่านไป อาเซียนอีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งมณฑลกวางสี เป็นเขตการปกครองตนเองของชนชาติจ้วง โดยเมืองหนานหนิงได้มีการพัฒนาทั้งระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานในการเป็น Regional Hub ของภูมิภาค โดยมีเส้นทาง Super Hi-Way เชื่อมต่อกับเมืองคุนหมิงจากเมืองหนานหนิงซึ่งจะเป็น HUB จะมีถนนเชื่อมต่อไปกับเมืองภายในประเทศจีนและเมืองอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออกเช่น       เมืองกวางโจว ,เมืองเซิ้นเจิ้น,และยังขนส่งไปทางเซียงไฮ้ จนถึงกรุงปักกิ่งทางเหนือ โดยเมืองหนานหนิง เป็นเมืองสำคัญของจีนเพราะเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีนิคมอุตสาหกรรมจีนโพ้นทะเลมาลงทุนเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของกวางสียังคงพึ่งพาภาคการเกษตร มีการปลูกอ้อยเป็นจำนวนมาก ผลิตน้ำตาลมากที่สุดในจีน สำหรับด้านอุตสาหกรรม เริ่มมีต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยมีนักธุรกิจของจีนไปลงทุนในหนานหนิงมากกว่าในคุนหมิง   ซึ่งจีนวางไว้เป็นเมืองด้านการเกษตร ขณะที่เมืองหนานหนิง ถูกวางไว้เป็นเมืองอุตสาหกรรมคู่แฝดกับเมืองกวางโจวโดยจะใช้เมืองหนานหนิงเป็นฐานอุตสาหกรรม สำหรับเจาะสินค้าเข้าไทยและอาเซียนผ่านเส้นทางในเวียดนามและทางหมายเลข 9 สู่จังหวัดมุกดาหารของไทย

              จีนนั้นเมื่อเขากำหนดยุทธศาสตร์ จะทำเป็นขั้นตอนมีแผนงานและเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงมีงบประมาณและมีการบูรณาการกับทุกหน่วยงาน จะเห็นได้จากการพัฒนา เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ เช่น เมืองคุนหมิงและหนานหนิง ซึ่งต่างกับประเทศไทย แผนยุทธศาสตร์ของไทยจะเน้นแต่รูปแบบทางวิชาการ มีวลีที่ลอกศัพท์ฝรั่งมาเพื่อให้ฟังยากๆ ซึ่งผมเห็นว่า ยิ่งวัน ศัพท์แสงพวกนี้รุงรังไปหมด แต่การนำมาใช้ประโยชน์กลับไม่ค่อยได้เห็น เพราะของเรา Planning หมายถึง PLAN แล้ว NING (นิ่ง) ....ครับ!! 


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 6147 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com