โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP              

              ประเทศไทยกับจีนได้มีความสัมพันธ์ยุคใหม่ได้ครบรอบ 30 ปีในปี พ.ศ. 2548 โดยปีที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องกัน อย่างไรก็ดีบทบาทของจีนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ มักจะรู้กันเฉพาะในวงการเท่านั้น ทั้งนี้ การพัฒนาระบบโครงสร้างคมนาคมขนส่งของไทย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางโลจิติกส์ของภูมิภาค โดยจีนแสดงเจตนาที่ชัดเจนว่าต้องการมีบทบาทเป็นผู้นำด้านการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคอินโดจีน เห็นได้จากการที่จีนก็สนับสนุนให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนานซึ่งอยู่ทางภาคใต้และใช้นครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลาง  (HUB) เชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ กับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยจีนมีการพัฒนาเส้นทางจากมณฑลกวางสีเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านนครฮานอยเพื่อออกสู่ทะเลของเวียดนาม เพราะลำพังสินค้าจาก สปป.ลาวและเวียดนามภาคเหนือ ซึ่งเศรษฐกิจยังไม่เข้มแข็งเหมือนภาคใต้จะทำให้ปริมาณสินค้าไม่มากเพียงพอที่จะให้เรือ Container Vessel เข้ามาเทียบท่าเรือในเวียดนามทางเหนือ ซึ่งมีท่าเรือไฮฟอง , ท่าเรือวินน์ และท่าเรือวุง-อาง   การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมโยงไทย-จีน จะต้องให้ความสนใจ มณฑลยูนานของจีน โดยนครคุนหมิงจะกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศจีนและอาเซียน โดยอาศัยความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะเชื่อมโยงกับประเทศพม่าทางตะวันตกประเทศไทย  ซึ่งจีนสามารถเลือกใช้ได้ทั้งการขนส่งทางบกและทางแม่น้ำโขง โดยทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ก็สามารถติดต่อกับทางเวียดนาม ซึ่งจะทำให้เอื้ออำนวยให้กับการค้า การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคมกับภูมิภาคอาเซียนได้สะดวก ซึ่งจะทำให้ลดบทบาทประเทศไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ในแง่การคมนาคมทางน้ำ นครคุนหมิงและเมืองจิ่งหง (เชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา) จะเป็น Gate way ของจีนตอนใต้ในการเข้าสู่อาเซียน โดยมีแม่น้ำโขง ไหลผ่านประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม   ซึ่งตรงนี้เองที่จีนอ้างความชอบธรรมในการก่อสร้างเขื่อนและระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำ เพราะอ้างว่าไม่ใช่แม่น้ำนานาชาติ

              นอกจากนี้ การพัฒนาทางหลวงอาเซียนสาย North-South Corridor เมื่อเสร็จแล้ว มณฑล   ยูนานก็สามารถติดต่อกับประเทศต่างๆในอาเซียน  โดยไม่จำเป็นต้องผ่านประเทศไทยเพราะเลือกผ่านทางเวียดนามและกัมพูชาไปออกทะเลที่เมืองท่าสีหนุวิลล์    ทั้งนี้ในการเดินเรือของแม่น้ำ หลาน ซาง เจียง  หรือแม่น้ำโขง เมื่อได้รับการปรับปรุงดีขึ้นแล้ว จะใช้ควบคู่กับการขนส่งทางบก โดยโครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทางรัฐบาลของจีน ซึ่งจะทำให้เมืองเชียงรุ่งกลายเป็นประตูเชื่อมจีนกับประเทศต่างๆ ของอนุภูมิภาค ทั้งนี้ มณฑลยูนานมีประชากร 7.64 ล้านคน โดยเป็นคนที่ยากจนมาก 2.68 ล้านคน เนื่องจากอาณาบริเวณนี้การคมนาคมยังไม่สะดวกและเทคโนโลยียังล้าหลัง จีนตั้งเป้าหมายว่าโครงการ Look South ทำให้พัฒนาภาคใต้ของจีนให้เข้าสู่ความมั่งคั่งใน ค.ศ. 2010

           นอกจากนี้ จีนยังได้ลงทุนก่อสร้างถนนในประเทศพม่า เพื่อเชื่อมไทย-จีน จาก    ต้าล่อผ่านพม่า (เมืองลา-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก) ข้ามสะพานมาอำเภอแม่สายของไทย  เป็นถนนที่สร้างเสร็จแล้วใน ค.ศ. 2004 เส้นทางนี้ยาวทั้งสิ้น 297 กม. โดยจะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง จากชายแดนภาคเหนือของไทย ผ่านพม่า เข้าสู่ยูนานโดยเส้นทาง โลจิสติกส์สายนี้น่าจะ ทำให้สินค้าเกษตรของไทย เช่น ลำไย ลำเลียงผ่านทางบกเข้าสู่ประเทศจีนได้สะดวก โดยสามารถขนส่งรถที่เป็นรถตู้เย็น ซึ่งขาล่องลงมาจากยูนานจะบรรทุก ผัก ผลไม้ สาลี่ ส่วนขาขึ้นจากประเทศไทย จะบรรทุกมะพร้าว ซึ่งเป็นที่นิยมของคนจีน อย่างไรก็ดี เส้นทางนี้อยู่ในเขตปกครองว้าแดง มีการเก็บภาษีเถื่อน ทำให้มีปัญหาด้านโลจิสติกส์ ซึ่งประเทศจีนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญในการขนส่งพืช ผัก ผลไม้ ตามข้อตกลง FTA ไทย-จีนเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งการเปิดเส้นทางการค้าสายนี้ จะกระตุ้นการค้าการลงทุนในย่านภาคเหนือของประเทศไทย และจะมีความสำคัญต่อการค้าชายแดนภาคเหนือของไทย ซึ่งจะเป็นประตูการค้าไปสู่ประเทศพม่า-ลาว-เวียดนาม
จีนมีทางเลือกในการใช้เส้นทางขนส่งสินค้าเข้ามาในประเทศไทยและอาเซียน โดยจีนมีความประสงค์ต้องการมีบทบาทในฐานผู้นำของการขนส่งทางบกและแม่น้ำโขงของภูมิภาคอาเซียน โดยได้เร่งการก่อสร้างท่าเรือในแม่น้ำโขง โดยได้กำหนดให้ท่าเรือกวนเล่ย และท่าเรือ   กาหลันป้า (Ganlanba) จะเป็นท่าเรือยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงเส้นทางบก จากจีนตอนใต้ ซึ่งมีเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนาน ซึ่งจีนใช้เป็น HUB ในการเชื่อมโยงกับ ASIAN ทำให้จีนมีทางเลือก นอกจากการขนส่งทางบกที่ผ่านทางเชียงรุ่ง (จิ่งหง) – ต้าล่อ ผ่านมาออกที่เมืองเชียงตุง ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศพม่าและผ่านท่าขี้เหล็ก จนเข้าแผ่นดินไทยที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ จีนยังมีเส้นทางจากคุนหมิงผ่านเมืองกวนเล่ย-บ่อเต็น-บ่อหาน เข้ามายังแขวงหลวงน้ำทาของ สปป.ลาว ซึ่งหากจะแยกเข้าไทยก็แยกเข้าแขวงบ่อแก้วผ่านเมืองห้วยทรายข้ามสะพานแม่น้ำโขง ซึ่งกำลังจะก่อสร้างผ่านเข้ามาที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยจีนยังมีทางเลือกในการใช้ไทยเป็น Land Bridge เชื่อมโยงพม่าและอาเซียน โดยใช้เส้นทางนี้ โดยผ่านเข้าแขวงอุดมไซ-หลวงพระบาง โดยใช้เส้นทางหมายเลข 12 เข้านครเวียงจันทน์ เพื่อขนส่งสินค้าเข้ามาในไทย ผ่าน ทางสะพานมิตรภาพ จังหวัดหนองคาย หรือจะลงใต้ใช้เส้นทางหมายเลข 9 ผ่านแขวงสะหวันเขต ข้ามระบบแม่น้ำโขงเข้ามายังจังหวัดมุกดาหาร หรือเข้าไทย ผ่านช่องเม็กอุบลราชธานี นอกจากนี้ จีนยังสามารถใช้เส้นทางบก ผ่านจังหวัดกวางสี มายังนครฮานอยของเวียดนาม และออกทางท่าเรือ วุงอางทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ จีนยังใช้เส้นทาง Logistics ทางแม่น้ำโขง ซึ่งช่วงที่ผ่านจีน เรียกว่า แม่น้ำลานช้างหรือหลานชางเจียง ผ่านเข้ามาจนถึงท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งจีนคุมระบบการขนส่งตลอดแม่น้ำจนถึงประเทศไทยได้อย่างสิ้นเชิง ถ้าประเทศไทยยังต้องการส่งเสริมให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็น HUB ทางทะเลของแถบนี้ จะต้องมีการศึกษานโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของจีน เพราะจะเป็นปัจจัยต่อการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค และมีผลอย่างมากต่อผลกระทบที่จีนจะใช้เส้นทางเหล่านี้ ลำเลียงสินค้าราคาถูกเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศของไทย รวมทั้ง แย่งตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า-ลาว-กัมพูชา ซึ่งไทยครองตลาด ทั้งหมดย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อบวกกับ FTA จีน-อาเซียน ซึ่งจะเป็นเฟรชมาร์ทตัวจริงต่อเศรษฐกิจไทย บทบาทของจีนในฐานะพี่ใหญ่....ตัวจริง ทั้งภาครัฐ-เอกชน เตรียมรับมือกันอย่างไร? อย่ามัวฝันหวานกันอยู่ เดี๋ยวจะแก้ไม่ทัน..นี่ก็บอกแล้วนะครับ!!

" />
       
 

บทบาทของจีนต่อการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน Share


โดยธนิต  โสรัตน์ / ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP              

              ประเทศไทยกับจีนได้มีความสัมพันธ์ยุคใหม่ได้ครบรอบ 30 ปีในปี พ.ศ. 2548 โดยปีที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องกัน อย่างไรก็ดีบทบาทของจีนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ มักจะรู้กันเฉพาะในวงการเท่านั้น ทั้งนี้ การพัฒนาระบบโครงสร้างคมนาคมขนส่งของไทย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางโลจิติกส์ของภูมิภาค โดยจีนแสดงเจตนาที่ชัดเจนว่าต้องการมีบทบาทเป็นผู้นำด้านการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคอินโดจีน เห็นได้จากการที่จีนก็สนับสนุนให้นครคุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนานซึ่งอยู่ทางภาคใต้และใช้นครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อสิบสองปันนาเป็นศูนย์กลาง  (HUB) เชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ กับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยจีนมีการพัฒนาเส้นทางจากมณฑลกวางสีเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านนครฮานอยเพื่อออกสู่ทะเลของเวียดนาม เพราะลำพังสินค้าจาก สปป.ลาวและเวียดนามภาคเหนือ ซึ่งเศรษฐกิจยังไม่เข้มแข็งเหมือนภาคใต้จะทำให้ปริมาณสินค้าไม่มากเพียงพอที่จะให้เรือ Container Vessel เข้ามาเทียบท่าเรือในเวียดนามทางเหนือ ซึ่งมีท่าเรือไฮฟอง , ท่าเรือวินน์ และท่าเรือวุง-อาง   การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมโยงไทย-จีน จะต้องให้ความสนใจ มณฑลยูนานของจีน โดยนครคุนหมิงจะกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศจีนและอาเซียน โดยอาศัยความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะเชื่อมโยงกับประเทศพม่าทางตะวันตกประเทศไทย  ซึ่งจีนสามารถเลือกใช้ได้ทั้งการขนส่งทางบกและทางแม่น้ำโขง โดยทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ก็สามารถติดต่อกับทางเวียดนาม ซึ่งจะทำให้เอื้ออำนวยให้กับการค้า การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคมกับภูมิภาคอาเซียนได้สะดวก ซึ่งจะทำให้ลดบทบาทประเทศไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ในแง่การคมนาคมทางน้ำ นครคุนหมิงและเมืองจิ่งหง (เชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา) จะเป็น Gate way ของจีนตอนใต้ในการเข้าสู่อาเซียน โดยมีแม่น้ำโขง ไหลผ่านประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม   ซึ่งตรงนี้เองที่จีนอ้างความชอบธรรมในการก่อสร้างเขื่อนและระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำ เพราะอ้างว่าไม่ใช่แม่น้ำนานาชาติ

              นอกจากนี้ การพัฒนาทางหลวงอาเซียนสาย North-South Corridor เมื่อเสร็จแล้ว มณฑล   ยูนานก็สามารถติดต่อกับประเทศต่างๆในอาเซียน  โดยไม่จำเป็นต้องผ่านประเทศไทยเพราะเลือกผ่านทางเวียดนามและกัมพูชาไปออกทะเลที่เมืองท่าสีหนุวิลล์    ทั้งนี้ในการเดินเรือของแม่น้ำ หลาน ซาง เจียง  หรือแม่น้ำโขง เมื่อได้รับการปรับปรุงดีขึ้นแล้ว จะใช้ควบคู่กับการขนส่งทางบก โดยโครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทางรัฐบาลของจีน ซึ่งจะทำให้เมืองเชียงรุ่งกลายเป็นประตูเชื่อมจีนกับประเทศต่างๆ ของอนุภูมิภาค ทั้งนี้ มณฑลยูนานมีประชากร 7.64 ล้านคน โดยเป็นคนที่ยากจนมาก 2.68 ล้านคน เนื่องจากอาณาบริเวณนี้การคมนาคมยังไม่สะดวกและเทคโนโลยียังล้าหลัง จีนตั้งเป้าหมายว่าโครงการ Look South ทำให้พัฒนาภาคใต้ของจีนให้เข้าสู่ความมั่งคั่งใน ค.ศ. 2010

           นอกจากนี้ จีนยังได้ลงทุนก่อสร้างถนนในประเทศพม่า เพื่อเชื่อมไทย-จีน จาก    ต้าล่อผ่านพม่า (เมืองลา-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก) ข้ามสะพานมาอำเภอแม่สายของไทย  เป็นถนนที่สร้างเสร็จแล้วใน ค.ศ. 2004 เส้นทางนี้ยาวทั้งสิ้น 297 กม. โดยจะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง จากชายแดนภาคเหนือของไทย ผ่านพม่า เข้าสู่ยูนานโดยเส้นทาง โลจิสติกส์สายนี้น่าจะ ทำให้สินค้าเกษตรของไทย เช่น ลำไย ลำเลียงผ่านทางบกเข้าสู่ประเทศจีนได้สะดวก โดยสามารถขนส่งรถที่เป็นรถตู้เย็น ซึ่งขาล่องลงมาจากยูนานจะบรรทุก ผัก ผลไม้ สาลี่ ส่วนขาขึ้นจากประเทศไทย จะบรรทุกมะพร้าว ซึ่งเป็นที่นิยมของคนจีน อย่างไรก็ดี เส้นทางนี้อยู่ในเขตปกครองว้าแดง มีการเก็บภาษีเถื่อน ทำให้มีปัญหาด้านโลจิสติกส์ ซึ่งประเทศจีนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญในการขนส่งพืช ผัก ผลไม้ ตามข้อตกลง FTA ไทย-จีนเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งการเปิดเส้นทางการค้าสายนี้ จะกระตุ้นการค้าการลงทุนในย่านภาคเหนือของประเทศไทย และจะมีความสำคัญต่อการค้าชายแดนภาคเหนือของไทย ซึ่งจะเป็นประตูการค้าไปสู่ประเทศพม่า-ลาว-เวียดนาม
จีนมีทางเลือกในการใช้เส้นทางขนส่งสินค้าเข้ามาในประเทศไทยและอาเซียน โดยจีนมีความประสงค์ต้องการมีบทบาทในฐานผู้นำของการขนส่งทางบกและแม่น้ำโขงของภูมิภาคอาเซียน โดยได้เร่งการก่อสร้างท่าเรือในแม่น้ำโขง โดยได้กำหนดให้ท่าเรือกวนเล่ย และท่าเรือ   กาหลันป้า (Ganlanba) จะเป็นท่าเรือยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงเส้นทางบก จากจีนตอนใต้ ซึ่งมีเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนาน ซึ่งจีนใช้เป็น HUB ในการเชื่อมโยงกับ ASIAN ทำให้จีนมีทางเลือก นอกจากการขนส่งทางบกที่ผ่านทางเชียงรุ่ง (จิ่งหง) – ต้าล่อ ผ่านมาออกที่เมืองเชียงตุง ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศพม่าและผ่านท่าขี้เหล็ก จนเข้าแผ่นดินไทยที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ จีนยังมีเส้นทางจากคุนหมิงผ่านเมืองกวนเล่ย-บ่อเต็น-บ่อหาน เข้ามายังแขวงหลวงน้ำทาของ สปป.ลาว ซึ่งหากจะแยกเข้าไทยก็แยกเข้าแขวงบ่อแก้วผ่านเมืองห้วยทรายข้ามสะพานแม่น้ำโขง ซึ่งกำลังจะก่อสร้างผ่านเข้ามาที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยจีนยังมีทางเลือกในการใช้ไทยเป็น Land Bridge เชื่อมโยงพม่าและอาเซียน โดยใช้เส้นทางนี้ โดยผ่านเข้าแขวงอุดมไซ-หลวงพระบาง โดยใช้เส้นทางหมายเลข 12 เข้านครเวียงจันทน์ เพื่อขนส่งสินค้าเข้ามาในไทย ผ่าน ทางสะพานมิตรภาพ จังหวัดหนองคาย หรือจะลงใต้ใช้เส้นทางหมายเลข 9 ผ่านแขวงสะหวันเขต ข้ามระบบแม่น้ำโขงเข้ามายังจังหวัดมุกดาหาร หรือเข้าไทย ผ่านช่องเม็กอุบลราชธานี นอกจากนี้ จีนยังสามารถใช้เส้นทางบก ผ่านจังหวัดกวางสี มายังนครฮานอยของเวียดนาม และออกทางท่าเรือ วุงอางทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ จีนยังใช้เส้นทาง Logistics ทางแม่น้ำโขง ซึ่งช่วงที่ผ่านจีน เรียกว่า แม่น้ำลานช้างหรือหลานชางเจียง ผ่านเข้ามาจนถึงท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งจีนคุมระบบการขนส่งตลอดแม่น้ำจนถึงประเทศไทยได้อย่างสิ้นเชิง ถ้าประเทศไทยยังต้องการส่งเสริมให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็น HUB ทางทะเลของแถบนี้ จะต้องมีการศึกษานโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของจีน เพราะจะเป็นปัจจัยต่อการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค และมีผลอย่างมากต่อผลกระทบที่จีนจะใช้เส้นทางเหล่านี้ ลำเลียงสินค้าราคาถูกเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศของไทย รวมทั้ง แย่งตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า-ลาว-กัมพูชา ซึ่งไทยครองตลาด ทั้งหมดย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อบวกกับ FTA จีน-อาเซียน ซึ่งจะเป็นเฟรชมาร์ทตัวจริงต่อเศรษฐกิจไทย บทบาทของจีนในฐานะพี่ใหญ่....ตัวจริง ทั้งภาครัฐ-เอกชน เตรียมรับมือกันอย่างไร? อย่ามัวฝันหวานกันอยู่ เดี๋ยวจะแก้ไม่ทัน..นี่ก็บอกแล้วนะครับ!!


ไฟล์ประกอบ : ไม่มีไฟล์
อ่าน : 2869 ครั้ง
วันที่ : 27/04/2007

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com