ASIAN Connectivity
ข้อตกลงการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน
โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการด้านโลจิสติกส์ 
ในคณะกรรมาธิการคมนาคมขนส่ง วุฒิสภา
25 สิงหาคม 2553
แนวคิด เป้าหมาย และหลักการ
ASIAN Connectivity หรือ ปฏิญญาว่าด้วยการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน เป็นข้อตกลงในการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 (15th ASIAN Summit) ซึ่งได้มีการประชุมที่อำเภอชะอำและอำเภอหัวหิน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552 ซึ่งแนวคิดของการเชื่อมโยง “ASIAN Connectivity” จะเป็นแผนแม่บท ในการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้มีความเป็นเอกภาพ ต่อการรองรับประชาคมอาเซียน หรือ AEC : ASIAN Economic Community ซึ่งเดิมกำหนดกรอบระยะเวลาในปี คศ. 2020 แต่ต่อมาประเทศไทยได้มีการลดกรอบระยะเวลาให้เป็นปี คศ. 2015 หรือ ปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ แนวคิดการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน เป็นความริเริ่มของประเทศไทย ในสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์    เวชชาชีวะ ได้เป็นประธานของอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นปึกแผ่น ของประชาคมอาเซียน และเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก เพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยครอบคลุมการรวมตัวกัน ทั้งด้านมิติการเมือง ,การเศรษฐกิจ และการสังคม
เป้าประสงค์ของแนวคิดเกี่ยวกับ ASIAN Connectivity ก็เพื่อที่จะเป็นกลไกในการสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมอย่างแท้จริง อีกทั้ง จะใช้เป็นเครื่องมือในการร่วมมือในการส่งเสริมสถานะความเข้มแข็งของประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิกของอาเซียน ซึ่งจะทำให้เอื้ออำนวยต่อการสนับสนุนให้เกิดเป็นประชาคมอาเซียนหรือ AEC ได้อย่างเป็นจริงในปี 2558 ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดกรอบในการเชื่อมโยง (Connectivity) ในมิติทั้ง 3 ด้าน ดังนี้


**** อ่านเพิ่มเติมคลิกLinkด้านล่าง***
 เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการบรรยาย
ยุทธศาสตร์ระบบโลจิสติกส์ประเทศไทย
หลักสูตรการปฐมนิเทศนายทหารชั้นนายพลของกองทัพไทย รุ่นที่ 29
ณ ห้องบรรยายรวม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
วันที่ 12 ตุลาคม 2553


" />
       
 

ASIAN Connectivity ข้อตกลงการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน Share


ASIAN Connectivity
ข้อตกลงการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน
โดย ดร.ธนิต โสรัตน์
เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการด้านโลจิสติกส์ 
ในคณะกรรมาธิการคมนาคมขนส่ง วุฒิสภา
25 สิงหาคม 2553
แนวคิด เป้าหมาย และหลักการ
ASIAN Connectivity หรือ ปฏิญญาว่าด้วยการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน เป็นข้อตกลงในการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 (15th ASIAN Summit) ซึ่งได้มีการประชุมที่อำเภอชะอำและอำเภอหัวหิน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552 ซึ่งแนวคิดของการเชื่อมโยง “ASIAN Connectivity” จะเป็นแผนแม่บท ในการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้มีความเป็นเอกภาพ ต่อการรองรับประชาคมอาเซียน หรือ AEC : ASIAN Economic Community ซึ่งเดิมกำหนดกรอบระยะเวลาในปี คศ. 2020 แต่ต่อมาประเทศไทยได้มีการลดกรอบระยะเวลาให้เป็นปี คศ. 2015 หรือ ปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ แนวคิดการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน เป็นความริเริ่มของประเทศไทย ในสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์    เวชชาชีวะ ได้เป็นประธานของอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นปึกแผ่น ของประชาคมอาเซียน และเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก เพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยครอบคลุมการรวมตัวกัน ทั้งด้านมิติการเมือง ,การเศรษฐกิจ และการสังคม
เป้าประสงค์ของแนวคิดเกี่ยวกับ ASIAN Connectivity ก็เพื่อที่จะเป็นกลไกในการสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมอย่างแท้จริง อีกทั้ง จะใช้เป็นเครื่องมือในการร่วมมือในการส่งเสริมสถานะความเข้มแข็งของประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิกของอาเซียน ซึ่งจะทำให้เอื้ออำนวยต่อการสนับสนุนให้เกิดเป็นประชาคมอาเซียนหรือ AEC ได้อย่างเป็นจริงในปี 2558 ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดกรอบในการเชื่อมโยง (Connectivity) ในมิติทั้ง 3 ด้าน ดังนี้


**** อ่านเพิ่มเติมคลิกLinkด้านล่าง***
 เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการบรรยาย
ยุทธศาสตร์ระบบโลจิสติกส์ประเทศไทย
หลักสูตรการปฐมนิเทศนายทหารชั้นนายพลของกองทัพไทย รุ่นที่ 29
ณ ห้องบรรยายรวม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
วันที่ 12 ตุลาคม 2553



ไฟล์ประกอบ : ASIAN Connectivity.pdf
อ่าน : 2681 ครั้ง
วันที่ : 11/10/2010

Contact : V-SERVE GROUP 709/54-55 ถ.สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กทม. 10250 โทรศัพท์. 0 2332 3940-9 โทรสาร. 0 2332 0754
E-mail: tanit@v-servegroup.com